รายงานประเทศไทย: แคสเปอร์สกี้สกัดภัยคุกคามผ่านเว็บได้มากกว่า 20.9 ล้านครั้งในปี 2019

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday March 25, 2020 08:30 —ThaiPR.net

รายงานประเทศไทย: แคสเปอร์สกี้สกัดภัยคุกคามผ่านเว็บได้มากกว่า 20.9 ล้านครั้งในปี 2019 กรุงเทพฯ--25 มี.ค.--แคสเปอร์สกีแคสเปอร์สกี้ประกาศรายงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ล่าสุดประจำปี 2019 ซึ่งเป็นรายงานข้อมูลวิเคราะห์เรื่องการโจมตีผ่านเว็บ ภัยคุกคามทั่วไป และแหล่งที่มาของภัยคุกคาม รายงานเปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้สามารถสกัดกั้นภัยไซเบอร์ผ่านเว็บที่คุกคามผู้ใช้ในประเทศไทยได้มากกว่า 20.9 ล้านรายการ จากข้อมูลของ Kaspersky Security Network หรือ KSN พบว่าในปี 2019 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้สามารถสกัดกั้นภัยไซเบอร์ผ่านเว็บที่คุกคามคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในประเทศไทยได้ทั้งสิ้น 20,997,053 รายการ คิดเป็นผู้ใช้จำนวน 29.1% ที่โดนโจมตีโดยภัยคุกคามผ่านเว็บ ทำให้ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 92 ของโลกที่โดนโจมตีขณะใช้งานอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็จัดอยู่ในอันดับที่แตกต่างกันไป ดังนี้ ฟิลิปปินส์อันดับที่ 4 มาเลเซียอันดับที่ 13 เวียดนามอันดับที่ 17 อินโดนีเซียอันดับที่ 39 และสิงคโปร์อันดับที่ 156 เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลการตรวจจับการโจมตีผ่านเว็บของผู้ใช้ทั่วไปกับผู้ใช้องค์กร พบว่า ในปี 2019 ประเทศไทยมีตัวเลขการตรวจจับการโจมตีผู้ใช้ทั่วไปผ่านผลิตภัณฑ์คอมซูมเมอร์ 5,670,000 ครั้ง สูงสุดเป็นอันดับที่ 5 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และผู้ใช้องค์กรผ่านผลิตภัณฑ์สำหรับองค์กร 840,000 ครั้ง สูงสุดเป็นอันดับที่ 4 ของภูมิภาคนี้ นายโย เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ภาพรวมปี 2019 ของประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีลักษณะที่เหมือนกับภาพรวมทั่วโลก คือมีการเพิ่มจำนวนเว็บไมเนอร์ในช่วงต้นปี จากนั้นก็ลดลง และตัวเลขสกิมเมอร์เพิ่มขึ้น โดยรวมแล้วการมีสุขภาวะทางไซเบอร์ หรือ cyber hygiene ที่ดียังเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรให้ความสำคัญเมื่อต้องออนไลน์ เพื่อป้องกันการโจมตีที่อาจเกิดกับตัวเองและธุรกิจ” “ผู้ใช้ต้องตระหนักว่า ภัยคุกคามทางเว็บนั้นไม่ใช่กระทบต่อผู้ใช้ทั่วไปเท่าไป อาชญากรไซเบอร์ต้องการเพียงแค่คลิกเดียวของพนักงานในองค์กรเพื่อไปยังเว็บอันตรายหรือดาวน์โหลดมัลแวร์ที่ซุกซ่อนอยู่ไฟล์ องค์กรจึงจำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจแก่พนักงาน สร้างระบบการรักษาความปลอดภัยองค์กรและคลังข้อมูลภัยคุกคามอัจฉริยะ เพื่อเป็นเกราะป้องกันองค์กรจากภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนได้” นายโยกล่าวเสริม 5 อันดับการโจมตีผ่านเว็บสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มัลแวร์จากเว็บทราฟฟิกมักพบขณะกำลังใช้งานเว็บที่ติดเชื้อหรือโฆษณาออนไลน์ต่างๆการดาวน์โหลดโปรแกรมหรือไฟล์บางชนิดจากอินเทอร์เน็ตโดยไม่ตั้งใจการดาวน์โหลดไฟล์แนบอันตรายจากบริการอีเมลออนไลน์การใช้ส่วนขยายของเบราเซอร์ (browser extensions)การดาวน์โหลดส่วนประกอบต่างๆ การสื่อสารกับ C&C ที่ดำเนินการโดยมัลแวร์ ตัวเลขสถิติปี 2019 ของประเทศไทยที่น่าสนใจ ภัยคุกคามผ่านเว็บ ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถตรวจจับและสกัดภัยคุกคามผ่านเว็บได้ 20,997,053 รายการ จากคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่ร่วมกับ KSNประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 92 ของโลกที่โดนโจมตีขณะใช้งานอินเทอร์เน็ต ภัยคุกคามทั่วไป ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถตรวจจับและสกัดภัยคุกคามทั่วไปได้ 77,028,838 รายการ จากคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่ร่วมกับ KSNประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 82 ของโลก แหล่งที่มาของภัยคุกคาม มีเหตุการณ์ที่เกิดจากเซิฟเวอร์ในประเทศไทยทั้งสิ้น 1,088,189 เหตุการณ์ คิดเป็นสัดส่วน 0.04% จากทั่วโลกประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 38 ของโลกประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในอันดับ 1 คิดเป็นตัวเลขสัดส่วน 60.91% ข้อมูลนี้ แคสเปอร์สกี้ได้รับจากผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ที่อนุญาตให้ KSN ด้วยความสมัครใจ ผู้ใช้จำนวนหลายล้านคนจากทั่วโลกได้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อวิเคราะห์กิจกรรมมุ่งร้ายทางไซเบอร์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ