ท็อปส์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเปิดตัวโครงการ “รับซื้อสินค้าตรงจากเกษตรกรและชุมชน บริหารการขนส่งผ่านเครือข่ายรถส่งสินค้า (Backhaul)”

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday May 20, 2020 11:59 —ThaiPR.net

ท็อปส์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเปิดตัวโครงการ “รับซื้อสินค้าตรงจากเกษตรกรและชุมชน บริหารการขนส่งผ่านเครือข่ายรถส่งสินค้า (Backhaul)” กรุงเทพฯ--20 พ.ค.--โพลีพลัส พีอาร์ เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล ผู้บริหารท็อปส์ และ แฟมิลี่มาร์ท ในเครือเซ็นทรัล รีเทล ตอกย้ำวิสัยทัศน์ ตามที่กลุ่มเซ็นทรัลเสนอนโยบายต่อรัฐบาล มุ่งเน้นความรับผิดชอบสังคม บูรณาการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ผ่านมาตรการสร้างอาชีพ เสริมรายได้ เปิดตัวโครงการ “รับซื้อสินค้าตรงจากเกษตรกรและชุมชน บริหารการขนส่งผ่านเครือข่ายรถส่งสินค้า (Backhaul)” โดยใช้ประโยชน์สูงสุดจากระบบโลจิสติกส์ ช่วยเหลือเกษตรกรทั่วประเทศลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า บูรณาการให้เกิดความยั่งยืนกับเกษตรกรและเศรษฐกิจของไทยก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 นางสาวเมทินี พิศุทธิ์สินธพ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล ในเครือเซ็นทรัล รีเทล กล่าวถึงที่มาของ โครงการ “รับซื้อสินค้าตรงจากเกษตรกรและชุมชน บริหารการขนส่งผ่านเครือข่ายรถส่งสินค้า Backhaul” เป็นการนำศักยภาพการบริหารจัดการผ่านเครือข่ายรถขนส่งสินค้าไปยังร้านท็อปส์ทุกสาขาทั่วประเทศ ซึ่งปกติต้องตีรถเที่ยวเปล่ากลับไปยังศูนย์กระจายสินค้าในกรุงเทพฯ ทำให้เกิดแนวคิดเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย ลดต้นทุนการส่งสินค้า สามารถส่งผลผลิตต่อครั้งได้มากขึ้น ใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากการขนส่งให้คุ้มค่า โดยนำจุดแข็งด้านระบบโลจิสติกส์ของบริษัทฯ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งเราพบว่าเกษตรกรประสบปัญหาต่าง ๆ เช่น ช่องทางการจำหน่ายสินค้าลดลง ความไม่สะดวกในการเดินทางเพื่อขนส่งสินค้าเนื่องจากติดช่วงเวลาเคอร์ฟิว ประสบปัญหาด้านการส่งออก ปัญหาด้านแรงงาน โครงการดังกล่าวจึงเข้ามาเติมเต็มและแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรได้อย่างถูกจังหวะและเวลา การขนส่งสินค้าโดยใช้รถ backhaul เป็นการใช้อุปกรณ์และองค์ความรู้ ความชำนาญ ที่มีในการบริหารจัดการขนส่ง ทั้งระบบมีการควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อรักษาคุณภาพจากต้นทาง (เกษตรกร) ไปจนถึงปลายทาง (ผู้บริโภค) โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะรวบรวมผลผลิตนำขึ้นรถขนส่งสินค้าท็อปส์ เพื่อนำกลับไปยังศูนย์กระจายสินค้าอาหารสดและรอกระจายไปจำหน่ายยังสาขาต่างๆ สำหรับปริมาณการขนส่งต่อรอบขึ้นอยู่กับชนิดสินค้า เช่น ผลไม้ ประมาณ 5-6 ตันต่อรอบ หรือผักประมาณ 2-3 ตันต่อรอบ จากการดำเนินโครงการที่ผ่านมาพบว่าเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรหลายด้าน ได้แก่ 1. ลดต้นทุนค่าขนส่งสินค้า เกษตรกรสามารถขนส่งสินค้าได้จำนวนมากในเวลาจำกัด 2. ลดต้นทุนด้านแรงงาน ไม่ต้องจ้างคนเพิ่มในการดูแลขนส่งสินค้า 3. ประหยัดเวลา เมื่อมีรถไปรับสินค้าถึงที่ทำให้เกษตรกรมีเวลาเพิ่มขึ้นไปดูแลผลผลิตให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐานที่ดีขึ้น 4. สร้างรายได้เพิ่มขึ้น เพราะสามารถส่งผลผลิตไปจำหน่ายได้มากขึ้นต่อการขนส่งแต่ละรอบ 5. ลดความเสี่ยงจากโควิด-19 ไม่ต้องเดินทางข้ามจังหวัดเพื่อขนส่งสินค้า และอีกหนึ่งประโยชน์สูงสุดต่อสิ่งแวดล้อมคือ เกิดการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการขนส่ง สำหรับเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการฯ คุณเสาวนีย์ ทองชิว เจ้าของสวนทุเรียน มังคุด และลองกอง จ.จันทบุรี เล่าถึงการดูแลสวนและข้อดีของการมีคนรุ่นใหม่เข้าร่วมโครงการว่า “เดิมสวนของป้าชื่อว่า 'ไร่บุญมี’ ก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยรุ่นพ่อแม่ ซึ่งป้าก็สานต่อทำสวนมาได้ 20 กว่าปีแล้ว โดยสวนนี้มีพื้นที่ 50 กว่าไร่ ปลูกทุเรียน มังคุด และลองกอง ปัจจุบันมีลูกชายและลูกสาวกลับมาช่วยงาน ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงวิธีการทำสวนแบบสมัยใหม่ และคัดเลือกผลผลิตส่งไปยังสหกรณ์การเกษตรเขาคิชฌกูฏ จำกัด เพื่อส่งต่อไปจำหน่ายที่ท็อปส์ รวมถึงมีตลาดเจ้าประจำติดต่อมาเพื่อซื้อขาย ทำให้มีช่องทางจำหน่ายมากขึ้น จากสถานการณ์โควิด-19 สวนป้าก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ทั้งด้านแรงงานที่มีการจำกัดการเดินทาง ทำให้ขาดคนงาน ภาวะภัยแล้ง ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เพราะต้องลงทุนกับการวางระบบน้ำ ซึ่งก็ได้ลูกชายที่เรียนจบด้านวิศวกรรมศาสตร์ นำความรู้มาปรับใช้และกล้าลงทุนกับเครื่องทุ่นแรงแม้มีค่าใช้จ่ายสูง เพื่อเพิ่มศักยภาพให้สามารถดูแลผลผลิตให้ดีขึ้น โดยมังคุดของสวนป้าจะมีความโดดเด่นในเรื่องเนื้อขาว รสชาติหวาน กรอบ เปลือกบาง เมล็ดเล็ก รู้สึกดีใจที่มีรถมารับผลผลิตถึงที่ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้เยอะเลย ถัดมาที่เกษตรกรรุ่นใหม่ คุณสืบตระกูล วานิชศรี ผู้ผลิตทุเรียนเจ้าอร่อยชื่อดัง สวนไพฑูรย์ วานิชศรี เผยถึงประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการ Backhaul ว่า “ผลผลิตหลักๆ ของเราคือ ทุเรียน ซึ่งได้มาตรฐาน GAP มีคุณภาพ ปลอดภัย ไร้สารเคมี โดยปกติการขนส่งผลผลิตเราจะใช้รถ 6 ล้อ และรถ 4 ล้อ แต่เมื่อมีผลผลิตมากทำให้ไม่สามารถขนส่งสินค้าได้ทัน เพราะรถมีพื้นที่จำกัด การขนส่งข้ามจังหวัดหลายๆ รอบทำให้มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นไม่คุ้มทุนและเปลืองเวลา ซึ่งในสถานการณ์โควิด-19 นี้เราก็ได้รับผลกระทบด้านการขนส่งมากขึ้น เพราะมีการจำกัดเวลา แต่โชคดีได้รับคำแนะนำและความช่วยเหลือจากท็อปส์ ที่รับซื้อสินค้าเราโดยตรงมาร่วม 2 ปี ทำให้ได้เข้าร่วมโครงการ Backhaul ที่ใช้รถบรรทุกขนาดใหญ่มาช่วยขนส่งผลผลิตจำนวนมากของเรา ไปส่งจำหน่ายยังท็อปส์ทุกสาขาทั่วประเทศ ทำให้เราสามารถส่งสินค้าได้ปริมาณมาก ลดต้นทุนค่าขนส่ง ประหยัดเวลาและแรงงาน ทำให้เรามีเวลาเพิ่มขึ้นเพื่อไปดูแลผลผลิต หรือพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าให้ดีขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่ดี มีคุณภาพ ในราคาที่คุ้มค่า” ด้าน คุณวิชาญ สายแก้ว เกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนหมอนทอง สวนอุดมทรัพย์ กล่าวเสริมถึงการได้รับความสะดวกมากขึ้นหลังเข้าร่วมโครงการในช่วงโควิด-19 ว่า “ผลผลิตของผมคือ ทุเรียน ซึ่งจะปลูกเฉพาะทุเรียนหมอนทองเพียงอย่างเดียว โดยจะมีการส่งออกทุเรียนไปที่จีนเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงขายภายในประเทศ ซึ่งผมก็จะมีวิธีดูแลผลผลิตให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน มีการจัดบันทึกวันดอกบาน วันเก็บเกี่ยว หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตจากในสวนแล้ว ก็จะนำมารวบรวมไว้ที่วิสาหกิจชุมชนชาวสวนทุเรียนจันท์ เพื่อขนส่งทางรถยนต์ไปจำหน่าย พอเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็เริ่มมีความกังวลว่าจะส่งสินค้าไปขายได้อย่างไร แต่พอมีโครงการของท็อปส์เข้ามาช่วยเหลืออย่างถูกเวลาพอดี ทำให้เราสะดวกสบายมากขึ้นในการจัดการเรื่องขนส่งผลผลิต เพราะปกติเราจะขับรถข้ามจังหวัดไปส่งเองในกรุงเทพฯ แต่ตอนนี้ก็ได้การบริหารจัดการรถขนส่งของท็อปส์มาช่วยอำนวยความสะดวก ทำให้แม้จะมีการจำกัดเวลาเดินทาง แต่เราก็ยังสามารถนำผลผลิตของเราส่งออกไปจำหน่ายได้ และทำให้ลดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้อีกทางหนึ่งด้วย” คุณเมทินีกล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นไปตามโยบายมาตรการสร้างอาชีพ เสริมรายได้ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเกษตรกรและชุมชนอย่างยั่งยืนแม้สถานการณ์โควิด-19 จะคลี่คลายแล้วก็ตาม เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล ยังได้วางแผนช่วยเหลือเกษตรกรในระยะยาว พัฒนาระบบทั้งด้าน supply chain และการตลาด ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การวางแผนการผลิตร่วมกัน รูปแบบการแพ็ค การตัดแต่งสินค้า การแปรรูปสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่า การพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน สร้างโอกาสการขายผ่านออนไลน์และออฟไลน์ พร้อมมีทีมงานจัดซื้อประจำภูมิภาคของท็อปส์ทำหน้าที่ประสานความช่วยเหลือให้ความรู้เกษตรกรซึ่งทำการเกษตรแบบ Traditional หรือคนรุ่นพ่อแม่ที่อาจยังไม่คุ้นเคยกับค้าปลีกสมัยใหม่ก็จะมีทีมงานเข้าไปประสานกับตัวกลางคือสหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมชนต่างๆ สำหรับเกษตรกรคนรุ่นใหม่จะมีความเข้าใจและปรับตัวได้เร็ว โดยในปี 2020 บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายจะมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ 10,000 ครัวเรือน ใน 42 จังหวัด ติดตามรับข้อมูลข่าวสาร บริการ และสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่ www.tops.co.th, เฟซบุ๊ก TopsThailand หรือ แอปพลิเคชันไลน์: @TopsThailand, @Topsonline

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ