มิวเซียมสยาม เปิดคอร์สติวเข้มเพื่อคนทำงานพิพิธภัณฑ์ กับโครงการ Museum Academy 2020 หลักสูตรเพื่อพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ และปฏิบัติการร่วมสมัย

ข่าวทั่วไป Wednesday July 1, 2020 12:45 —ThaiPR.net

มิวเซียมสยาม เปิดคอร์สติวเข้มเพื่อคนทำงานพิพิธภัณฑ์ กับโครงการ Museum Academy 2020 หลักสูตรเพื่อพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ และปฏิบัติการร่วมสมัย กรุงเทพฯ--1 ก.ค.--ชมฉวีวรรณ หลังจากสถานการณ์ต่าง ๆ เริ่มคลี่คลายรัฐบาลปลดล็อกหลายมาตรการ มิวเซียมสยาม ในฐานะพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้รูปแบบใหม่ภายใต้แนวคิด Play + Learn = Plearn พร้อมเดินหน้าปั้นสุดยอดคนทำงานพิพิธภัณฑ์ โดยเตรียมเปิด Museum Academy 2020 โครงการอบรมวิชาการและทักษะปฏิบัติการด้านพิพิธภัณฑ์จัดเต็มกับ 3 หลักสูตร ที่เน้นการเรียนรู้แนวคิดจากพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่และการอบรมเชิงปฏิบัติการ ร่วมสมัย Museum Academy 2020 จะสร้างพลังให้กับคนทำงานพิพิธภัณฑ์ และพลิกโฉมพิพิธภัณฑ์ไทยให้ทันสมัย และมีส่วนร่วมกับผู้คนมากขึ้น มิวเซียมสยาม ในฐานะแหล่งเรียนรู้ที่พยายามออกแบบงานพิพิธภัณฑ์รูปแบบใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรในสายงานพิพิธภัณฑ์ ที่ต้องสร้าง “งาน” ให้สอดคล้องกับความต้องการของคนในสังคม และสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนไปอย่างไม่หยุดนิ่ง จึงจัดโครงการ Museum Academy ขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 เพื่อปั้นสุดยอดคนทำงานพิพิธภัณฑ์ และในปีนี้ มิวเซียมสยามจัด 3 หลักสูตรเข้มข้น ที่เน้นการเรียนรู้แนวคิดจากพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่และการอบรมเชิงปฏิบัติการ ร่วมสมัย ประกอบด้วย หลักสูตรที่ 1 มิวเซียมแอนด์เกม Museum Games: Effective Education Practice ชั้นเรียนที่เหมาะสำหรับคนหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นนักการศึกษา นักออกแบบพิพิธภัณฑ์ ภัณฑารักษ์ นักสื่อสารความรู้ ครู รวมไปถึงนักออกแบบเกม และนักออกแบบสื่อออนไลน์ เพราะในชั้นเรียนนี้ทุกคนจะได้เรียนรู้ ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ผ่านเกม โดยผู้คร่ำหวอดด้าน Deschooling Game ดร.เดชรัต สุขกำเนิด, แดนไท สุขกำเนิด, พยัญชนะ ชลศรานนท์ และบุรินทร์ สิงห์โตอาจ ผู้ที่จะมาเปิดโลกใหม่ ๆ เกี่ยวกับให้ผู้อบรมได้เข้าใจการตีความและสามารถสื่อสารความรู้ผ่านกลไก การเล่นเกมได้อย่างยอดเยี่ยม การพัฒนาเนื้อหางานนิทรรศการสู่บอร์ดเกม หรือเกมออนไลน์ และการพัฒนาเกมเพื่องานนิทรรศการที่จะตอบโจทย์และสร้างความสนุกสนานให้ผู้เข้าชม และแน่นอนว่า การเรียนรู้ต้องสร้างเสริมประสบการณ์ที่หลากหลาย ดังนั้นห้องเรียนหลักสูตรที่ 2 ของ Museum Academy 2020 จึงเน้นเรื่องการพัฒนางานพิพิธภัณฑ์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ จึงจัดเสียงบรรยายภาพในพิพิธภัณฑ์ The Blind Sight: Audio Description for Museum เพื่อให้เราเข้าใจโลกของคนตาบอด โลกที่เสียงเป็นใหญ่ โดยเรียนรู้เทคนิคการทำ Audio Description ทำอย่างไรให้เสียงบรรยายสามารถถ่ายทอดรายละเอียดของวัตถุที่จัดแสดงและภาพเคลื่อนไหวออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ ที่สำคัญผู้เข้าอบรมจะได้ศึกษาดูงานในพิพิธภัณฑ์ที่ใช้ Audio Description เพื่อรองรับผู้ชมพิพิธภัณฑ์ที่ตาบอด ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเป็นนักศึกษา ภัณฑารักษ์ คนทำสื่อวีดิทัศน์ เจ้าหน้าที่โสตศึกษาที่จัดทำสื่อต่าง ๆ ในงานพิพิธภัณฑ์ พวกคุณจะได้สร้างโลกพิพิธภัณฑ์อีกใบให้กับผู้พิการทางสายตา ห้องเรียนหลักสูตรที่ 3 ถือว่าเป็นชั้นเรียนสำคัญของคนทำงานพิพิธภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบเนื้อหา นักออกแบบเรื่องเล่า ภัณฑารักษ์ นักออกแบบนิทรรศการ นักการศึกษา มิวเซียมไกด์ ที่จะได้เทคนิคและความรู้ ดี ๆว่า การทำเรื่องเล่าในงานพิพิธภัณฑ์ Creative Storytelling in Museum ทำอย่างไรให้ปัง โดยชั้นเรียนนี้ได้ 2 กูรูนักการศึกษา อย่าง พัฒนพงศ์ มณเฑียร และบุณฑริก เขมาชีวะ จาก Museum Minds ผู้ที่จะมาเติมความรู้เกี่ยวกับการถอดรูปแบบเล่าเรื่องด้วยมุมมองต่าง ๆ จากมิวเซียมทั่วโลก พร้อมพาทุกคนสำรวจวิธีการเล่าเรื่องอย่างสร้างสรรค์ในมิวเซียมร่วมสมัยที่ นำการเล่าเรื่องมาเป็นตัวเชื่อมโยงผู้ชมกับมิวเซียมในปฏิบัติการสมัยใหม่ พร้อมเรียนรู้ทักษะการเป็นนักเล่าเรื่องที่เปลี่ยนโลก และเรื่องเล่าที่เปลี่ยนแปลงสังคมในงานพิพิธภัณฑ์อย่างมืออาชีพ และแม้ว่า โควิดจะทำให้หลายอย่างหยุดชะงักไปชั่วคราว แต่เมื่อการปลดล็อกเริ่มขึ้น Museum Academy 2020 จึงเริ่มเปิดคลาสอย่างปลอดภัยมั่นใจในมาตรการการป้องกัน โดยห้องเรียนหลักสูตรที่ 1 จะเปิดประตูในเดือนกรกฎาคม งานนี้หากคนทำงานพิพิธภัณฑ์ หรือ ผู้ที่สนใจอยากเปิดโลกของคนทำงานพิพิธภัณฑ์หลักสูตรใด ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง Facebook Museum Siam

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ