รมช.ธรรมนัส ติดตามการปลูกข้าวหอมมะลิในทุ่งกุลาร้องไห้ จ.ร้อยเอ็ด พร้อมฟังบรรยายสรุปการปฏิบัติการฝนหลวง

ข่าวทั่วไป Monday October 12, 2020 10:42 —ThaiPR.net

รมช.ธรรมนัส ติดตามการปลูกข้าวหอมมะลิในทุ่งกุลาร้องไห้ จ.ร้อยเอ็ด พร้อมฟังบรรยายสรุปการปฏิบัติการฝนหลวง

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลัง เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์การเพาะปลูกข้าวหอมมะลิ ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ และฟังบรรยายสรุปผลการปฏิบัติการฝนหลวง ณ สหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง การเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้กับเขื่อน และอ่างเก็บน้ำในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจากการปฏิบัติการฝนหลวงของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ตอนล่าง) มีหน่วยปฏิบัติการ 4 หน่วย คือ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.บุรีรัมย์ จ.อุบลราชธานีจ.นครราชสีมา และจ.สุรินทร์ ในระหว่างวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ถึง 7 ตุลาคม 2563 มีการขึ้นบินปฏิบัติการ รวม 188 วันจำนวน 1,129 เที่ยวบิน ทำให้เกิดฝนตกคิดเป็นร้อยละ 94.68 มีพื้นที่การเกษตรได้รับประโยชน์ จำนวน 43.56 ล้านไร่รวมถึงภารกิจเติมน้ำต้นทุนในเขื่อนกับเก็บน้ำระหว่างวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ถึง 30 กันยายน 2563 จำนวน 83 เขื่อน รวม172,023 ล้านลูกบาศก์เมตร และ ช่วงระหว่างวันที่ 1 ? 5 ตุลาคม 2563 จำนวน 20 เขื่อน รวม 53,528 ล้านลูกบาศก์เมตร

ในปัจจุบันภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จ.ร้อยเอ็ดจ.สุรินทร์ จ.ศรีสะเกษ จ.มหาสารคาม และจ.ยโสธร มีพื้นที่เพาะปลูกรวมกันประมาณ 2,707,390 ไร่ โดยในปี 2562 จังหวัดร้อยเอ็ดมีเนื้อที่เพาะปลูกมากที่สุดประมาณ 826,724 ไร่ ให้ผลผลิต รวม 276,953 ตัน มีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 5 อำเภอได้แก่ อ.เกษตรวิสัย อ.สุวรรณภูมิ อ.หนองฮี อ.ปทุมรัตน์ และอ.โพนทราย ซึ่งพันธุ์ที่นิยมปลูก คือ ข้าวขาวดอกมะลิ 105, ข้าวหอมมะลิ กข15, ข้าวเหนียว กข 6, ข้าวหอม นิล, ข้าวหอมมะลิแดง และข้าวเหนียวดา (ข้าวก่า) ส่วนช่องทางการตลาดของเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรที่ปลูก ข้าวหอมมะลิ GI มีตลาดรองรับผลผลิตที่ชัดเจน รวมถึงยังมีการเพิ่มช่องทางการจาหน่ายผ่านตลาดออนไลน์ และตลาดโมเดิร์นเทรด รวมถึงการออกบูธงานแสดงสินค้าในงานสำคัญของจังหวัด โดยกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้บริโภคที่ใส่ใจด้านสุขภาพ ซึ่งผู้ประกอบการหรือกลุ่มเกษตรกรสามารถขายสินค้าเกรดพรีเมี่ยม ได้ในราคาที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากมีการขายในลักษณะของฝากและของที่ระลึก

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สภาพภูมิอากาศของทุ่งกุลาร้องไห้นั้น เป็นอย่างทุ่งหญ้า ทำให้มีฝนตกเป็นช่วงๆ หากเกิดฝนตกจะเกิดน้ำท่วมฉับพลัน และดินไม่สามารถอุ้มน้ำได้ ดังนั้นเมื่อฝนทิ้งช่วงจะทำให้พื้นที่แห้งแล้งทันที แม้ว่าทุ่งกุลาร้องไห้จะมีลำน้ำไหลผ่านหลายสาย แต่เพราะมีพื้นที่เทลาดต่ำจากตะวันตกไปตะวันออก จึงทำให้น้ำไหลผ่านไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นกระทรวงเกษตรฯ จึงได้เร่งสั่งการให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ประสานความร่วมมือกับกองทัพบก และกองทัพอากาศ ในการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร และเติมน้ำลงเขื่อนและอ่างเก็บน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง และฝนทิ้งช่วง จนสิ้นสุดฤดูการเพาะปลูกในปีนี้


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ