ฟอร์ด ประเทศไทย ร่วมกับ ทีวีบูรพาและสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (Population and Community Development Association หรือ PDA) ประกาศโครงงานจากสถาบันการศึกษาที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ จำนวน 20 ทีม จากโครงการประกวดสุดยอดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ 'Go Further Innovator Scholarship 2020? ในหัวข้อ 'เทคโนโลยี ROAD SAFETY เพื่อทุกชีวิตปลอดภัยบนท้องถนน? ที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาเยาวชนไทยให้มีความรู้เท่าทันเทคโนโลยี พัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ และนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
โดยคณะกรรมการได้คัดเลือกผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศรวมจำนวน 20 ทีม โดยแบ่งเป็นนักเรียนอาชีวศึกษาจำนวน 10 ทีม และนิสิตนักศึกษาจำนวน 10 ทีม เพื่อนำเสนอนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ชิงทุนการศึกษารวม 840,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ โดยการนำเสนอนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ จะจัดขึ้น ณ ห้อง Twin Hall ชั้น 6 โซน D อาคาร MBK Center ในวันศุกร์ ที่ 13 พฤศจิกายน 2563 ตั้งแต่เวลา 08.00 โดยจะมีการประกาศผลในเวลา 17.00 น.
ในปีนี้ โครงการ 'Go Further Innovator Scholarship 2020? ได้รับการตอบรับจากสถาบันการศึกษาเป็นอย่างดี โดยมีนักเรียน นิสิต นักศึกษาร่วมส่งนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เข้าร่วมประกวดกว่า 60 โครงการ ตลอดระยะเวลาการรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม ? 6 ตุลาคม 2563
โครงงานจากระดับอาชีวศึกษาที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ จำนวน 10 ทีม มีรายละเอียดดังนี้
ผลงาน คาร์อิโมชั่น Car Emotion จากวิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี จ.จันทบุรีผลงาน ชุดป้องกันอวัยวะช่วงล่างผู้ขับขี่จากการชน จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานีผลงาน ระบบป้องกันอันตรายจากแสงไฟสูงส่องตาอัตโนมัติ จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานีผลงาน TLC ชุดเซนเซอร์ตรวจจับและแจ้งเตือนวัตถุใต้คันเบรก จากวิทยาลัยเทคโนโลยีแหลมฉบัง จ.ชลบุรีผลงาน ขาตั้งนิรภัยปลอดภัยไว้ก่อน จากวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย จ.ระยองผลงาน ระบบ Image Processing สัญญาณเตือนขณะขับรถยนต์ จากวิทยาลัยการอาชีพบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาครผลงาน ฉากกั้นอะคริลิกในรถยนต์แบบอัตโนมัติป้องกันติดเชื้อโควิด-19 รอบ 2 วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานีผลงาน ระบบแจ้งเตือนสภาพถนน วิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้า จ.เชียงรายผลงาน MB Sensor Brake จากวิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี จ.ระยองผลงาน ระบบป้องกันการหลับใน จากวิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จ.ปทุมธานีโครงงานจากระดับอุดมศึกษาที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ จำนวน 10 ทีม มีรายละเอียดดังนี้
ผลงาน ระบบลดอัตราการหดตัวของรูม่านตาอย่างฉับพลัน เมื่อผู้ขับขี่ยานพาหนะออกจากอุโมงค์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพฯผลงาน Save Life From High Voltage: SLH SYSTEM จากสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานีผลงาน N-BUMP ลูกระนาดลดแรงกระแทก จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพฯผลงาน ระบบลดการปั่นป่วนของอากาศจากรถบรรทุก ที่เป็นสาเหตุให้รถจักรยานยนต์เสีย จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพฯผลงาน ป้ายสัญญาณเตือนระวังผู้โดยสารขึ้น-ลงรถประจำทาง พร้อมแผงกั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพฯผลงาน Driving Helper ผู้ช่วยตรวจจับการขับขี่อัจฉริยะ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จ.นครนายกผลงาน Belt Care Your Life จากสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กรุงเทพฯผลงาน ระบบปลดล็อคออนไลน์ Anzen จากสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กรุงเทพฯผลงาน Warning Environment System จากสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 วิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี (อุดมศึกษา) จ.อุทัยธานีผลงาน Check Right Bright Way จากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จ.นนทบุรีทีมที่ได้รับการคัดเลือกต้องติดต่อกลับผู้ประสานงานโครงการฯ เพื่อยืนยันสิทธิ์และยืนยันการร่วมส่งโครงงานสิ่งประดิษฐ์ภายในระยะเวลา 3 วัน โดยสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการได้ทาง Facebook: ฟอร์ด Facebook: บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด Facebook: สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ? PDA
ติดต่อผู้ประสานงานโครงการฯ คุณพิชญา จงวัฒนาพรชัย (จอย) โทรศัพท์ 0-2158-6122 ต่อ 624หรือ 089-479-6214 โทรสาร 0-2158-6141 Email: [email protected] หรือ [email protected]