วว. /วช. จับมือเครือข่ายภาครัฐ - เอกชน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาความรู้ สร้างนักวิจัยไม้ดอกไม้ประดับสู่ตลาดโลก

ข่าวทั่วไป Tuesday December 15, 2020 16:17 —ThaiPR.net

วว. /วช. จับมือเครือข่ายภาครัฐ - เอกชน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาความรู้ สร้างนักวิจัยไม้ดอกไม้ประดับสู่ตลาดโลกสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และหน่วยงานเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "การฝึกอบรมและพัฒนาความรู้สร้างนักวิจัยให้มีศักยภาพในการวิจัยไม้ดอกไม้ประดับสู่ตลาดโลก" พร้อมเผยความสำเร็จในการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับให้กับผู้ประกอบการ ระบุประสบผลสำเร็จคัดเลือกสายพันธุ์ลิเซียนทัสที่เหมาะสมต่อการปลูกเลี้ยง สร้างมูลค่าเพิ่มให้เกษตรกรมากกว่า 10 สายพันธุ์ พัฒนาระบบการผลิตเบญจมาศปลอดโรคเชิงพาณิชย์ พร้อมพัฒนาเครือข่ายและแนวทางการปลูกเลี้ยงพืชสกุลไทรเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาด รองศาสตราจารย์จักษ์ พันธ์ชูเพชร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ได้เล็งเห็นและให้ความสำคัญกับการพัฒนานักวิจัย เพื่อเป็นกำลังสำคัญที่จะเข้าช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านไม้ดอกไม้ประดับ ในการพัฒนาสายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับฐานเศรษฐกิจของประเทศ นับว่าเป็นธุรกิจหลักที่สำคัญและมีบทบาทในการสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริการและผลิตภัณฑ์จากไม้ดอกไม้ประดับ ทั้งนี้หน่วยงานแกนหลัก คือ วช. และ วว. ตระหนักถึงความสำคัญของการยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาสายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ พัฒนาศักยภาพการผลิตและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่การผลิตให้มีความได้เปรียบทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ เป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศในอนาคต "? ไม้ดอกไม้ประดับอยู่ในวิถีชีวิตของเราทุกเทศกาล คือความยิ่งใหญ่ที่สร้างรายได้มหาศาล มีตลาดค่อนข้างกว้าง มีคู่แข่งมาก เราต้องช่วยกันส่งเสริมในเรื่องขององค์ความรู้ การถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการ ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ในประเทศไทยมีพื้นที่กว่า 7 หมื่นไร่ที่ทำการเกษตรไม้ดอกไม้ประดับ สร้างอาชีพ สร้างรายได้กว่า 2 พันล้านบาทต่อปี ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบกว่าประเทศอื่นๆในด้านความหลากหลายทางธรรมชาติของพืชพรรณ และ เราต้องสร้างดีมานด์เพื่อให้เกิดซัพพลาย ดังนั้นจำเป็นต้องมี storytelling ควบคู่กับการสื่อความหมายของไม้ดอกไม้ประดับ จะได้เกิดความรู้สึกที่ดีแก่ผู้ให้และผู้รับ เราต้องมีศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับในการตอบโจทย์ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ..." ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าว ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นการยืนยันถึงความตั้งใจของ วช. ในการให้ความสำคัญกับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับการนำเทคโนโลยีไม้ดอกไม้ประดับชนิดใหม่ๆ ที่ได้จากการพัฒนาสายพันธุ์ ไปส่งเสริมให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการได้ปลูกเลี้ยง สร้างมูลค่าเพิ่มและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ โดยมีหน่วยงานต่างๆ จากภาครัฐและเอกชน ให้การสนับสนุนทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงแนวทางในการขับเคลื่อนธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับในประเทศไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดทั้งในและต่างประเทศ ในอนาคต วช. พร้อมที่จะบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อผลักดันการส่งเสริม ให้ธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับสามารถเติบโตและแข่งขันได้ในระดับสากลต่อไป ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนประกอบด้วย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กรมส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "การฝึกอบรมและพัฒนาความรู้สร้างนักวิจัยให้มีศักยภาพในการวิจัยไม้ดอกไม้ประดับสู่ตลาดโลก" ภายใต้การดำเนินงานโครงการ "การพัฒนาศักยภาพการผลิตและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่การผลิตลิเซียนทัส เบญจมาศ และไทร" ในวันที่ 15 ธันวาคม 2563 ณ โรงแรมรามาการ์เด้น กรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยรุ่นใหม่ให้เข้าใจถึงบริบทในการทำวิจัยในปัจจุบัน เพื่อให้งานวิจัยออกมามีประสิทธิภาพและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยกิจกรรมภายในงานนอกจากจะมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวแล้ว ยังมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยและพัฒนาของ วว. ได้แก่ การจัดแสดงพรรณไม้ที่พัฒนาสายพันธุ์โดยนักวิจัยของ วว. และหน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุน และการเข้าไปช่วยเหลือในการปรับปรุงพัฒนาพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย ตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่มของไม้ดอกไม้ประดับในประเทศไทย "...พืชที่มีศักยภาพในการสร้างการแข่งขันในการส่งออก และยังเป็นที่ต้องการของตลาด ได้แก่ พืชสกุลไทร และพืชไม้ดอกที่สามารถปลูกเลี้ยงเพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ เบญจมาศ นอกจากนี้ยังมีไม้ดอกชนิดใหม่ ๆ ที่สามารถส่งเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยง เช่น ลิเซียนทัส จึงนำมาสู่การดำเนินโครงการในครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริม และพัฒนาถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิตไม้ดอกไม้ประดับให้กับผู้ประกอบการ ผู้ปลูกเลี้ยงไม้ประดับสกุลไทรเชิงพาณิชย์ รวมทั้งกระบวนการผลิตต้นพันธุ์ การใช้ประโยชน์ และการเพิ่มมูลค่าทางการค้าและการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาด สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรต่อไป?" ผู้ว่าการ วว. กล่าว อนึ่ง โครงการการพัฒนาศักยภาพการผลิตและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่การผลิต ลิเซียนทัส เบญจมาศ และไทร ประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อยในพืช 3 สกุล ได้แก่ ลิเซียสทัส (lisianthus) เบญจมาศ (Chrysanthemum) และไทร (Ficus) มีวัตถุประสงค์โครงการเพื่อเพิ่มมูลค่าการจำหน่ายและสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการเครือข่ายคลัสเตอร์ไม้ดอกไม้ประดับ ตลอดจนการเพิ่มมูลค่าพัฒนากระบวนการผลิตและการใช้ประโยชน์ พร้อมทั้งการส่งเสริมกระบวนการปลูกเลี้ยงและผลิตภัณฑ์จากไม้ดอกไม้ประดับต่อไป โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ โครงการย่อยที่ 1 การปลูกทดสอบพันธุ์ลิเซียนทัสเพื่อการผลิตไม้ดอกกระถาง และไม้ตัดดอกให้เหมาะสมกับตลาดและการผลิตในประเทศไทย โดยคัดเลือกสายพันธุ์ลิเซียนทัสที่เหมาะสมต่อการปลูกเลี้ยงและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เกษตรกรพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทย มากกว่า 10 สายพันธุ์ รวมทั้งการพัฒนาระบบการบ่มเพาะเมล็ดเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตต้นกล้า โดยนำไปส่งเสริมให้กับผู้ประกอบการมากกว่า 10 ราย ในพื้นที่จังหวัดเลย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย และจังหวัดนครราชสีมา โครงการย่อยที่ 2 การพัฒนาระบบการผลิตเบญจมาศปลอดโรคเชิงพาณิชย์ ในการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ ได้นำสายพันธุ์เบญจมาศที่ วว. ได้ปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ไว้กว่า 30 สายพันธุ์ และได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ได้นำพันธุ์เบญจมาศที่ปรับปรุงพันธุ์ไว้จำนวน 6 สายพันธุ์ รวมทั้งสายพันธุ์ที่ทำการวบรวมจากต่างประเทศและในตลาดพื้นถิ่น มาทำการตรวจโรคด้วยเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ ก่อนทำการขยายพันธุ์ที่ปลอดโรค เพื่อทดสอบพันธุ์ คัดเลือกสายพันธุ์ที่สามารถเจริญเติบโตในแต่ละพื้นที่ และเป็นที่ต้องการของตลาด ก่อนนำไปส่งเสริมผู้ประกอบการในแต่ละครัวเรือน โดยดำเนินการทดสอบสายพันธุ์ในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ เลย อุบลราชธานี อุดรธานี นครราชสีมา โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมกว่า 60 ราย โครงการย่อยที่ 3 การพัฒนาเครือข่ายและแนวทางการปลูกเลี้ยงพืชสกุลไทรเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาด โดยรวบรวมและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชสกุลไทร มากกว่า 3 ผลิตภัณฑ์ เช่น รูปแบบทรงต้น ภาชนะปลูก และบรรจุภัณฑ์ในการขนส่ง รวมทั้งการส่งเสริมการปลูกเลี้ยงไทรชนิดใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์และส่งขึ้นทะเบียนพันธุ์ ให้กับผู้ประกอบการมากกว่า 50 ราย ในพื้นที่จังหวัดนครนายก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาระบบโซ่อุปทาน ความต้องการของตลาดของพืชสกุลไทร เพื่อนำไปพัฒนาระบบการปลูกเลี้ยงให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ