CES 2021: บ๊อชหวังใช้ AI และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ ปกป้องมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

ข่าวเทคโนโลยี Friday January 15, 2021 17:29 —ThaiPR.net

CES 2021: บ๊อชหวังใช้ AI และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ ปกป้องมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

สรรค์สร้างโซลูชั่นอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ อุตสาหกรรม และการขับเคลื่อน

  • "บ๊อชผนวกสมรรถนะของ AI เข้ากับเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ ออกมาเป็น AIoT ที่ช่วยยกระดับประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน และรับมือกับไวรัสโคโรน่า" ไมเคิล โบลเล่ กรรมการบริหารของ บ๊อชเผย
  • เทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อสุขภาพและความปลอดภัย: โซลูชั่น AIoT ของบ๊อช ได้รับรางวัล CES(R) Innovation Award Honoree
  • ซอฟต์แวร์ล้ำหน้าเหนือระดับ: ชุดตรวจไวรัสโคโรน่าแบบรวดเร็ว (rapid test) ของบ๊อช สามารถตรวจตัวอย่างที่เป็นบวกได้ภายในไม่ถึง 30 นาที
  • Sustainable #LikeABosch: แคมเปญแนวคิดล่าสุดของบ๊อช แสดงให้เห็นว่าทุกคนมีบทบาทในการช่วยปกป้องสภาพภูมิอากาศได้
  • มาตรการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเริ่มเห็นผล: องค์กรด้านการเปิดเผยข้อมูลคาร์บอน (CDP) จัดบ๊อชอยู่ในกลุ่มเอ
  • เทคโนโลยี AI ในอวกาศ: ความเชี่ยวชาญของบ๊อชในการช่วยหุ่นยนต์จิ๋วนำทางบนพื้นผิวดวงจันทร์

ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาสุขภาพของผู้คนและปกป้องโลกของเรา บ๊อชจึงหวังใช้ AIoT เข้ามาช่วยในการเปิดศักยภาพการใช้ข้อมูล ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ไอโอที (internet of things) ให้เกิดประโยชน์แก่มวลมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยมีโซลูชั่นด้านเทคโนโลยีเป็นตัวช่วย "เราผนึก AI เข้ากับเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ ออกมาเป็น AIoT ที่ช่วยเราพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานและรับมือกับไวรัสโคโรน่า" ดร.ไมเคิล โบลเล่ กรรมการบริหารของบ๊อชกล่าว "AIoT มีศักยภาพอีกมากมาย ซึ่งเราพร้อมปลดล็อกศักยภาพของเทคโนโลยีนี้ และจะเดินหน้าพัฒนาต่อเนื่องในอนาคต" ทั้งนี้ บ๊อชจะนำเสนอโซลูชั่นอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขภาพ การใช้ชีวิต และเทคโนโลยีการขับเคลื่อนในงานแสดงเทคโนโลยี CES 2021 ที่จัดผ่านระบบออนไลน์

หนึ่งในนวัตกรรมของบ๊อชที่เปิดตัวในงานนี้ คือ เซ็นเซอร์ AI ที่เรียนรู้ได้เอง ครั้งแรกของโลก พร้อมรองรับการนำไปใช้ในอุปกรณ์แวร์เอเบิลและเฮียร์เอเบิล (อุปกรณ์ไอทีสำหรับใส่ในหู) เพื่อติดตามกิจกรรมฟิตเนส เนื่องจาก AI ทำงานด้วยตัวเซ็นเซอร์ (edge AI) จึงไม่จำเป็นต้องมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในช่วงที่ ออกกำลังกาย ส่งผลให้ประหยัดพลังงานและรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล นอกจากนี้ บ๊อชยังนำเซ็นเซอร์ที่สามารถวัดค่าปัจจัยต่างๆ เช่น คุณภาพอากาศและความชื้นสัมพัทธ์ มาแสดงอีกด้วย อุปกรณ์เหล่านี้ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลการกระจุกตัวของละอองลอยในอากาศ ซึ่งสำคัญยิ่งในช่วงที่ต้องรับมือกับไวรัสโคโรน่า นอกจากนี้ กล้องวงจรปิดของบ๊อชยังสามารถช่วยรับมือกับไวรัสได้ โดยการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาประยุกต์ใช้ได้หลายด้านตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น การวัดค่าอุณหภูมิโดยไม่ต้องสัมผัส ไม่เปิดเผยตัวตน และให้ความแม่นยำสูง มีค่าความเบี่ยงเบนไม่เกินครึ่งองศา

นอกจากนี้ ยังมีโซลูชั่นซอฟต์แวร์สำหรับแพลตฟอร์มเปิดของกล้องวงจรปิด ผลงานของสตาร์ตอัพของบ๊อช คือ Security and Safety Things ที่สามารถตรวจจับได้ว่าจำนวนคนในร้านสอดคล้องกับเกณฑ์ปฏิบัติในการเฝ้าระวังไวรัสโคโรน่าหรือไม่ แพลตฟอร์มนี้ยังได้รับรางวัล 2021 CES(R) Innovation Award Honoree นับเป็นหนึ่งในสี่โซลูชั่นของบ๊อชที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลอันทรงเกียรติในปีนี้

อีกนวัตกรรมหนึ่งที่เปิดตัวครั้งแรกในโลกที่งานนี้ คือ เครื่องตรวจฮีโมโกลบินเคลื่อนที่ สามารถตรวจภาวะโลหิตจางได้โดยการสแกนนิ้ว อุปกรณ์นี้จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะนำไปใช้ในภูมิภาคที่การแพทย์ยังเข้าถึงได้ไม่ครอบคลุม เครื่องตรวจฮีโมโกลบินนี้ มี AI ทำงานร่วมด้วย จึงสามารถแสดงผลได้อย่างรวดเร็วภายใน 30 วินาที โดยไม่จำเป็นต้องทดสอบในห้องทดลองหรือเจาะเลือด

ตอนนี้ ตัวอย่างที่ดีที่สุดที่จะแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีของบ๊อชเข้ามาช่วยพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตได้อย่างไร คงจะเป็นชุดตรวจไวรัสโคโรน่าแบบ PCR ซึ่งเป็นการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส โดยทำงานบนอุปกรณ์วิเคราะห์ที่เรียกว่า Vivalytic ชุดตรวจนี้ ให้ผลลัพธ์ออกมาได้รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งห้องทดลอง สำนักงานแพทย์ บ้านพักคนชรา และโรงพยาบาลต่างๆ สามารถนำไปตรวจ 5 ตัวอย่างพร้อมกัน และได้ผลออกมาใน 39 นาที เป็น "เทคโนโลยีเพื่อชีวิต" อย่างแท้จริง ซึ่งความก้าวหน้าของซอฟต์แวร์ยังช่วยให้สามารถตรวจตัวอย่างที่เป็นบวกออกมาได้ในเวลาไม่ถึง 30 นาที การพัฒนาระบบ Vivalytic นี้ ประกอบไปด้วยอุปกรณ์วิเคราะห์ผลและถาดใส่ตัวอย่าง เป็นผลงานจากความร่วมมือระหว่างฝ่ายวิจัยและวิศวกรรมของบ๊อช หน่วยธุรกิจ Bosch Healthcare Solutions และ Robert Bosch Hospital

Sustainable #LikeABosch: บ๊อชยืนหนึ่งในการเป็นผู้นำแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ
งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ที่เยอรมนี ระบุว่า AIoT สามารถทำได้มากกว่าด้านสุขภาพ โดยนำไปใช้รับมือกับสภาพภูมิอากาศได้ด้วย โดยงานวิจัยพบว่า การใช้ดิจิทัลในหลายส่วนของระบบขับเคลื่อน การผลิต และเทคโนโลยีอาคาร จะช่วยให้ประเทศพัฒนาไปเกือบครึ่งทางของเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซตามข้อตกลงปารีส (ที่มา: Accenture)

แนวทางที่บ๊อชมุ่งมั่นจึงกลายเป็นสโลแกนสำหรับงาน CES ในปีนี้ คือ Sustainable #LikeABosch เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบในฐานะองค์กร ชุดภาพจากแคมเปญ #LikeABosch แสดงให้เห็นว่า ทุกๆ คนสามารถมีบทบาทในการปกป้องสิ่งแวดล้อมได้โดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืน ซึ่งบ๊อชก็ได้ทำเป็นตัวอย่าง เพราะจากการคำนวณแล้ว สำนักงานทั้ง 400 แห่งทั่วโลกของบ๊อช สามารถบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ตั้งแต่ปีค.ศ. 2020 จึงนับว่าบ๊อชเป็นองค์กรอุตสาหกรรมแห่งแรกของโลกที่ทำให้การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (net zero carbon emissions) ได้ ในแง่ของพลังงานที่ผลิตและจัดหามาจากภายนอก "ก้าวต่อไปของบ๊อช คือ การจัดการกับการปล่อยมลพิษตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่การจัดซื้อไปจนถึงการใช้ผลิตภัณฑ์" ดร.โบลเล่กล่าว เมื่อเป็นเช่นนั้น บ๊อชจึงก้าวขึ้นเป็นซัพพลายเออร์แห่งแรกในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เข้าร่วมโครงการ Science Based Targets โดยมีเป้าหมายที่เจาะจงและท้าทายยิ่ง คือ ภายในปีค.ศ. 2030 บ๊อชตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำให้ได้ร้อยละ 15 ความสำเร็จของบ๊อชในการจัดการกับภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น ได้รับการยกย่องจากหน่วยงานภายนอก องค์กรไม่หวังผลกำไรด้านการเปิดเผยข้อมูลคาร์บอน (CDP) ได้จัดบ๊อชอยู่ในระดับเอลิสต์เลยทีเดียว

"ในปีค.ศ. 2021 เราจะเดินหน้าต่อไปในการทำให้เทคโนโลยีมีความยั่งยืนมากขึ้น ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคนั้น คนจะใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น จะได้ประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีอันชาญฉลาด เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืน รวมทั้งมีส่วนช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศด้วย ขณะเดียวกัน การแพร่ระบาดของโรคได้เร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมดิจิทัลเร็วขึ้น ซึ่งบ๊อชได้ใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วยให้องค์กรสามารถก้างข้ามอุปสรรค และสร้างโอกาสใหม่ๆ ในปีค.ศ. 2021 ด้วย" โจเซฟ ฮง กรรมการผู้จัดการ บ๊อช ประเทศไทย กล่าว

บ๊อชได้แบ่งปันประสบการณ์การบุกเบิกเรื่องรับมือกับสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกับองค์กรต่างๆ ผ่านกิจการที่ปรึกษา Bosch Climate Solutions ที่ก่อตั้งในปีที่ผ่านมา อีกทั้งมีกิจการสตาร์ตอัพในเครือที่ได้ทำตลาดโซลูชั่นหลายตัว ทั้งแพลตฟอร์มพลังงานบนคลาวด์ ที่ใช้อัลกอริทึมอัจฉริยะช่วยลดการใช้พลังงานของเครื่องจักร ส่งผลให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น บ๊อชได้นำแพลตฟอร์มนี้ไปใช้กับที่ทำการมากกว่า 100 แห่งแล้ว จึงเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้มาก และเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้บริษัทบรรลุ เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนได้

ดิจิทัลและความยั่งยืน คือหนทางแห่งอนาคต: ก้าวสู่แนวหน้าด้วย AI ในภาคอุตสาหกรรม
ตัวอย่างดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถปูทางสู่ความยั่งยืนได้ "เราต้องการเป็นองค์กรชั้นแนวหน้าด้าน AIoT ในทุกๆ ด้านที่เราดำเนินธุรกิจ" ดร.โบลเล่อธิบาย ซึ่งความไว้ใจใน AI เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องสร้างให้ได้เป็นพื้นฐาน ก่อนที่จะนำ AI ไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตและช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น บ๊อชจึงหวังใช้ AI ในภาคอุตสาหกรรม ในการทำหน้าที่อธิบายโลกที่เป็นอยู่ให้เครื่องจักรได้เรียนรู้ แทนที่จะสอนระบบให้ทำเสมือนคน อย่างไรก็ดี การจะทำเช่นนี้ได้ จะต้องมีแนวทางด้านจริยธรรม บ๊อชจึงวางหลักจริยธรรมในการใช้ AI ที่มาจากฐานแนวคิดว่าคนต้องอยู่เหนือการควบคุมของ AI

นอกจากจะยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคการผลิตแล้ว บ๊อชยังวางระบบเพิ่มการเชื่อมต่อเข้าไปในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาคารและการขับเคลื่อน ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคประหยัดพลังงานได้ หนึ่งในผลิตภัณฑ์เหล่านั้น คือ เครื่องมือจัดการพลังงาน ที่บริษัทแนะนำให้ใช้ในบ้าน ที่เมื่อใช้ร่วมกับปั๊มความร้อนและระบบพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว อุปกรณ์นี้จะสามารถลดการใช้พลังงานได้ถึงร้อยละ 60 ในด้านการขับเคลื่อน คนขับรถไฟฟ้าก็จะได้ประโยชน์จากบริการ เช่น แบตเตอรี่ระบบคลาวด์ (Battery in the Cloud) ที่ใช้ซอฟต์แวร์อัจฉริยะเข้ามาวิเคราะห์และลดการเสื่อมของแบตเตอรี่ได้ถึงร้อยละ 20

โดยทั่วไปแล้ว การประสานการทำงานของระบบขับขี่อัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า เข้ากับบริการส่วนบุคคลที่เชื่อมต่อกัน จะเปิดโอกาสให้มีการใช้แอปพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ในอีกหลายส่วนมาก คอมพิวเตอร์ยานยนต์คือแกนหลักในการพัฒนาเทคโนโลยีของบ๊อช เพื่อขยายฐานความเป็นผู้นำไปสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานผ่านซอฟต์แวร์ บ๊อชจึงจัดตั้งสายงานใหม่ขึ้นมา คือ Cross-Domain Computing Systems โดยมีพนักงาน 17,000 คนเริ่มทำงานในสายงานนี้ตั้งแต่ต้นปี เป็นการรวมความเชี่ยวชาญทั้งด้านสถาปัตยกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ สำหรับคอมพิวเตอร์ยานยนต์ เซ็นเซอร์ และหน่วยควบคุมระบบยานยนต์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ช่วยลดความซับซ้อนในการพัฒนายานยนต์ และพัฒนาฟังก์ชั่นใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น

นำความเชี่ยวชาญเสริมศักยภาพการสำรวจดวงจันทร์: ตั้งเป้าสูงกับเทคโนโลยี AI ของบ๊อช
วิทยาการที่ก้าวล้ำจากท้องถนนไปสู่ห้วงอวกาศ: ในงาน CES ปีที่แล้ว มีการเปิดตัวระบบเซ็นเซอร์ SoundSee ที่ทำงานด้วย AI สถานีอวกาศนานาชาติ มาปีนี้ บ๊อชมองไกลไปถึงดวงจันทร์ โดยได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ Tipping Point ขององค์การนาซ่า ทำงานร่วมกับหลายองค์กร ทั้ง Astrobotic และ WiBotic รวมถึง University of Washington ในการวิจัยและพัฒนาระบบนำทางอัจฉริยะและระบบชาร์จพลังงานของหุ่นยนต์จิ๋วที่ปฏิบัติภารกิจบนดวงจันทร์ นักวิจัยของบ๊อชที่ร่วมทำงานโครงการนี้ในเมืองพิตส์เบิร์กและซิลิคอนวัลเล่ย์ ได้นำความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI และโซลูชั่นการเชื่อมต่อไร้สาย ร่วมพัฒนานวัตกรรมกับทีมงาน ผลที่ได้กลับมาจะเป็นการต่อยอดศักยภาพให้แก่โซลูชั่น AIoT ของบ๊อชบนพื้นผิวโลก

ทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่า AIoT มีศักยภาพเพียงใด และแสดงให้เห็นด้วยว่าเทคโนโลยีนี้ จะมีบทบาทหลักในการสร้างความยั่งยืนได้อย่างไร "ทุกวันนี้ มีเพียงบริษัทที่มุ่งสู่ความยั่งยืนเท่านั้นที่จะสามารถเปิดศักยภาพอันมหาศาลของ AIoT ออกมาใช้ ซึ่งจะกรุยทางไปสู่ความสำเร็จในวันพรุ่งนี้ได้" ดร.โบลเล่ กล่าว

กิจกรรมของบ๊อชในงาน CES 2021 ในรูปแบบดิจิทัล:

  • งานแถลงข่าว: วันจันทร์ที่ 11 มกราคม 2564 เวลา 14:00 - 14:30 CET (ประมาณเวลา 20.00 - 20.30 น.. ในประเทศไทย) กับ Dr. Michael Bolle กรรมการบริหาร Robert Bosch GmbH พร้อมด้วย Mike Mansuetti, president of Bosch North America ณ Bosch Media Service ชมบูทผ่านระบบออนไลน์: วันที่ 12 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2564 ทางเว็บไซต์ www.ces.tech
  • ติดตามไฮไลต์ต่างๆ ของบ๊อชในงาน CES 2021 ได้ทางทวิตเตอร์: #BoschCES
  • ช่วงเจาะลึกกับผู้เชี่ยวชาญจากบ๊อช: 12 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2564 ทางเว็บไซต์ www.ces.tech
    • "Sustainable #LikeABosch: How a key global industry player drives carbon neutrality" วันที่ 13 มกราคม 2564 เวลา 8:15 - 8:45 EST (ประมาณ 20.15 - 20.45 น. ในประเทศไทย) เผยแนวทางที่องค์กรอุตสาหกรรมแนวหน้าระดับโลกใช้ในการขับเคลื่อนความเป็นกลางทางคาร์บอนในโรงงานและสำนักงานต่าง ๆ โดย Torsten Kallweit, head of Corporate EHS and Sustainability และยังเป็น CTO at Bosch Climate Solutions GmbH พร้อมด้วย Annette Wagner, head of Sustainability and Ideas Lab
    • "Move #LikeABosch: Technology for sustainable future mobility" วันที่ 12 มกราคม 2564 เวลา 12:15 - 12:45 pm EST (ประมาณเวลา 00.15 - 00.45 น. ในประเทศไทย) กับ Mike Mansuetti, president of Bosch North America, และ Tim Frasier, president of Automotive Electronics for North America "AI in action: Application examples from the fields of fitness tracking and well-being to smart cameras" พบกับตัวอย่างการนำ AI ไปใช้ในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่ติดตามกิจกรรมฟิตเนส การดูแลสุขภาพ ไปจนถึงระบบกล้องอัจฉริยะ กับ Kaustubh Gandhi, Senior Product Manager และ Sina Isabell Springer, Business Development Manager
    • "Perfectly keyless advanced" ก้าวหน้าไปกับเทคโนโลยีที่ไม่ต้องพึ่งกุญแจรถอีกต่อไป กับ Tim Frasier, president of Automotive Electronics for North America, Daniel Kornek, Head of Product Area Vehicle Access (Perfectly Keyless) และ Jia Hou, Business Development Manager

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ