กลุ่ม Maybank Kim Eng จัดสัมมนา Invest ASEAN 2021 ในหัวข้อ ASEAN Financials : The Shape of Things to Come

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday June 14, 2021 15:28 —ThaiPR.net

กลุ่ม Maybank Kim Eng จัดสัมมนา Invest ASEAN 2021 ในหัวข้อ ASEAN Financials : The Shape of Things to Come

กลุ่ม Maybank Kim Eng จัดงานสัมมนา Invest ASEAN 2021 ในหัวข้อ  ASEAN Financials: The Shape of Things to Come โดยได้รับเกียรติจาก Dr Li Lian Ong, Group Head and Lead Specialist, ASEAN Macro Economic Research Office (AMRO); Dean Tong, Managing Director and Head of Group Human Resources, United Overseas Bank; และ Pranav Seth, Chief Digital Officer, Techcombank Vietnam มาร่วมแชร์ประสบการณ์ พร้อมวิเคราะห์เจาะลึก ถึงภาพรวมและทิศทางการเงินในภูมิภาคอาเซียน นำเสนอผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์ จัดขึ้น ณ ประเทศสิงคโปร์

โดยทีมวิจัย บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ได้สรุปประเด็นสำคัญของงานสัมมนา Invest ASEAN 2021 ในหัวข้อ  ASEAN Financials: The Shape of Things to Come ไว้ดังนี้

พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในช่วงวิกฤต COVID-19 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการเงินก็เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างเลี่ยงไม่ได้ จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป หลังเทคโนโลยีถูกเร่งให้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเร็วขึ้น อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีหลายๆ แบบ ที่ถือเป็นความท้าทายต่อสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม ทั้งจากการแพร่หลายในวงกว้างอย่างรวดเร็วของ Block Chain, Cryptocurrency หรือ แม้กระทั่ง AI ซึ่งในมุมมองของผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรม เห็นว่าปัจจัยต่างๆเหล่านี้อาจทำให้เกิดการ Disruption ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในฐานะผู้เป็นตัวกลางในระบบเศรษฐกิจทั้งแหล่งระดมทุน แหล่งออมเงิน แบบดั้งเดิมได้เช่นกัน หากภาคธุรกิจไม่สามารถปรับตัวทันกับสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ในฐานะผู้กำหนดนโยบาย (Regulator) ก็ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่ต้องปรับตัวและก้าวให้ทันตามสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน

โดยโอกาสสำหรับธุรกิจที่ปรับตัวได้เร็ว และยึดความต้องการลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ในฐานะของผู้ให้บริการด้านการเงิน นอกจากจะเป็นความท้าทายและยังเป็นโอกาสที่ดี ที่ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และมีบางมุมที่ทำให้ธนาคารพาณิชย์แบบดั้งเดิมยังมีข้อได้เปรียบ หากเทียบกับ Fintech (Ant Group สร้าง Ecosystem ของตนเอง และทำธุรกิจในลักษณะเดียวกับธนาคารพาณิชย์ อย่างเช่น 1) ฐานข้อมูลที่ได้จากพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน การทำธุรกรรมด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โอนเงิน การใช้จ่ายผ่านบัตร การขอสินเชื่อ เป็นต้น ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญที่จะสามารถเข้าถึงและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ หากสามารถปรับตัว เห็นประโยชน์ และนำมาใช้  2) ความน่าเชื่อถือ และงานบริการบางอย่าง ที่เทคโนโลยี ยังไม่สามารถเข้ามาทดแทนได้ เป็นต้น

นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์มหภาค บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) มีความเห็นเพิ่มเติมว่าจากภาพสะท้อนมายังอุตสาหกรรมการเงินต่อประเทศไทยก็คือ 1) เทคโนโลยีและสิ่งที่อาจถูกมองว่าจะทำให้เกิด Disruption อาจเป็นโอกาสสำหรับทั้งภาคธุรกิจที่ปรับตัวได้เร็ว รวมทั้งผู้กำหนดนโยบายที่เกื้อหนุนและเข้าใจบริบทของสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง 2) ความท้าทายของประเทศไทยยังมีค่อนข้างมาก หากเทียบการปรับตัวสู่ยุคดิจิตอลในช่วงที่ผ่านมา เทียบกับประเทศใน ASEAN

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ