การแข่งขันความเร็วบนสนามแข่งรถ มารีนา เบย์ เซอร์กิต

ข่าวยานยนต์ Friday March 14, 2008 11:49 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 มี.ค.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์
สตีฟ สเลเตอร์ ผู้บรรยายข่าวจากช่อง ESPN Star Sports และทิม เชนเกน อดีตนักแข่งรถสูตรหนึ่ง และพนักงานของสนามแข่งรถ ได้ร่วมมือแบ่งปันความคิดในการจัดการสร้างสนามแข่งขันวัดความเร็วของงานสูตร 1 Sing Tel Singapore Grand Prix ในปี2008 โดยมีฐานความคิดการสร้างสนามนี้มาจากการคาดการณ์และจำลองความเร็วของสนาม
โค้งที่1 มีอัตราการเบรกที่สูงสุดตั้งแต่ เกิน 280 กม./ชม. จนถึงต่ำสุด ประมาณ 130 กม./ชม. โดยผู้แข่งจะต้องระมัดระวังในการควบคุมการกระตุกล้อเมื่อนักแข่งเปลี่ยนเกียร์เป็นเกียร์ 2 เพื่อการเลี้ยงโค้งซ้ายที่แคบลง โค้งนี้เป็นโค้งที่ดีเยี่ยมสำหรับการชมถึงศักยภาพของกำลังเบรคของรถสูตร 1 ทั้งยังเป็นโอกาสที่ดีสำหรับรถคันที่ตามหลังมาที่จะแอบเคลื่อนที่ผ่านด้านล่างและข้าไปสู่วงในเพื่อที่จะแซงได้
โค้งที่2/3/4 เป็นจุดที่จะมีการปรับเกียร์ไปเป็นเกียร์ 3 เพียงชั่วครู่ และเพิ่มความเร็วเป็น 160 กม./ชม. ผ่านโค้งที่2 ก่อนที่จะลดเกียร์ลงมาเป็นเกียร์ 2 อีกครั้งเพื่อให้ได้ความเร็ว ที่ความเร็ว 90 กม./ชม. ในโค้งที่ 3 จากนั้นก็จะเพิ่มความเร็วเต็มที่และเลื่อนไปที่เกียร์ 4 ที่ความเร็ว 200กม./ชม. พร้อมกับรถจะเคลื่อนตัวผ่าน ส่วนนี้ของสนามแข่งและเข้าสู่โค้งที่ 4
โค้งที่5 กลับไปสู่ช่วงที่มีการลดความเร็วอีกครั้ง ลงไปสู่เกียร์3 เพื่อเลี้ยวโค้งที่ 5 ณ ทางเข้าถนน Raffles Boulevard ทางออกจากโค้งนี้จะอยู่ที่ความเร็วประมาณ 140 กม./ชม. ทำให้เกิดองศาเปิดซึ่งจะทำให้รถที่ตามมานั้นตามมาได้ติดๆ ทำให้ไม่สูญเสียค่าแรงเสียดทานมากเกินไป เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการไล่ตามแซงกันขึ้นที่จุดสิ้นสุดทางตรง
โค้งที่6 แต่ก่อนที่จะถึงจุดทางออกนั้น เราจะไปถึงโค้งที่ 6 ซึ่งเป็นโค้งที่น่าหวาดเสียงเต็มกำลัง ซึ่งเป็นจุดที่รถแข่งนั้นจะเปลี่ยนเกียร์ 6 สู่เกียร์ 7 หลังจากโค้งนี้ เราจะไปถึงส่วนที่ความเร็วสูงสุดของสนามแข่ง รถแข่งนั้นอาจจะเร่งความเร็วได้เกิน 300 กม./ชม. พร้อมๆกับเสียงท่อไอเสียที่คำรวมกระทบตึกรามบ้านช่องอย่างกึกก้อง โค้งที่6นี้เป็นโค้งที่มีความเร็วสูงที่สุดในแวดวงถนนที่ใช้แข่ง
โค้งที่7/8 ที่สุดถนน Raffles Boulevard โค้งที่ 7 เป็นจุดที่เป็นไปได้มากที่สุดที่จะมีโอกาสแซงคู่แข่งได้ทัน ที่จุดนี้ รถแข่งจะลดความเร็วจากมากกว่า 300 กม./ชม. ลงไปถึง 110 กม./ชม. เพื่อที่จะเปลี่ยนไปเป็นเกียร์ 2 แล้วเลี้ยวโค้งซ้ายไปตามทางหลวง Nicholl Highway จากนั้นจะเร่งความร็วกลับไปที่ 200กม./ชม. เป็นช่วงสั้นๆก่อนที่จะใช้เกียร์ 2 เลี้ยวโค้งขวา และเร่งความเร็วให้คงที่ที่ 200 กม./ชม. ตลอดการระยะทางของถนน Stamford อัฒจันทร์ที่ทางโค้งที่8 เป็นจุดที่อาจจะสามารถเห็นวิวของการแข่งขันได้ดีที่สุด หากคุณนั่งชมการแข่งขันในจุดที่พอดี คุณก็จะได้เห็นรถแข่งที่กำลังกลับมาจากถนน Esplanade Drive เพื่อกำลังจะเข้าโค้งที่ 15 อีกด้วย
โค้งที่9 หลังจากการเลี้ยวโค้งซ้ายด้วยเกียร์ 3 ที่โค้งที่ 9 แล้ว ทางออกที่โล่งนั้นจะช่วยควบคุมความเร็วของรถแข่งขณะที่ขับไปบนถนน St.Andrew และผ่าน สนามกีฬาPadang นี่เป็นมุมการเลี้ยวที่เปิดองศาอีกครั้ง เนื่องจากรถแข่งนั้นไม่มีอุปกรณ์ป้องกันการลื่นไถล จึงทำให้นักแข่งที่ควมคุบแรงม้าของรถแข่งได้ดีที่สุดนั้นได้เปรียบตรงสุดทางตรง
โค้งที่10-14 จากความเร็วกว่า 250 กม./ชม.นั้น รถแข่งจะต้องลดความเร็วเต็มที่ ซึ่งจะเป็นโอกาสให้เกิดการแซงกันอีกครั้งหลังจากได้ลดความลงที่หัวมุมตรงสุดทางโค้ง ตึกเก่าแก่มรดกของเมืองซึ่งเป็นตึกศาลฎีกาและศาลากลางจะให้ฉากหลังที่ให้อารมณ์เสมือนว่าอยู่ที่จตุรัสคาสิโนที่โมนาโค
ที่จุดนี้ ผู้แข่งจะต้องควบคุมรถ ให้อยู่ที่เกียร์ 2 และเกียร์ 3 ด้วยความเร็ว100 และ150 กม./ชม. เตรียมต่อแถวเพื่อข้ามสะพาน Anderson ที่ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่มีที่สนามแข่งนี้เพียงแห่งเดียว สะพานนี้ถูกสร้างขึ้นบนปากแม่น้ำสิงคโปร์ ในปี 2453 เป็นสถาปัตยกรรมแบบโคโลนียลที่ดูตัดกับเส้นขอบฟ้าของย่านธุรกิจใจกลางเมืองที่เป็นฉากหลังได้อย่างลงตัว
โค้งที่15/16 หลังจากที่ผ่านโค้ง 14ที่เป็นลักษณะตัวยู แคบๆ ด้วยเกียร์ 2 แล้ว รถแข่งก็จะไปถึงความเร็วกว่า 280 กม./ชม. ผ่านถนน Esplanade Drive ก่อนที่ลดความเร็วอย่างกระทันหันเพื่อที่จะเลี้ยวขวาที่โค้งที่ 15 นี่จะเป็นอีกโอกาสหนึ่งสำหรับการแซงผู้แข่งอื่นๆได้อีก ก่อนที่จะเร่งความเร็วกลับไปที่ 230 กม./ชม. ผ่านโค้งที่ 16 ก่อนที่จะลดความเร็วไปตามเส้นทางรอบๆอัฒจันทร์ Bay Grandstand
โค้งที่17-20 ส่วยที่ช้าที่สุดของสนามแข่งนั้นจะมีความเเร็วที่ระดับ 100 กม./ชม. ที่เกียร์ 2 แต่ก็ยังคงเป็นสิ่งท้าทายของนักแข่งรถและวิศวกรผู้สร้างรถแข่ง ในเส้นทางช่วงนี้จะมีการใช้งานระบบเบรคอย่างหนักและจะทำให้เกิดแรงดึงจากระดับความเร็วที่ช้าลง ทั้งยังเป็นจุดที่ผู้แข่งจะต้องใช้กลเม็ดและความเชี่ยวชาญในการขับอย่างมากอีกด้วย หลังจากที่แล่นรถมาตามริมฝั่งน้ำ ที่อยู่ด้านหน้าอัฒจันทร์ Bay Grandstand แล้ว รถแข่งจะมีการเลี้ยวโค้งที่ได้อัฒจันทร์ที่โค้งที่ 19 จึงเป็นอีกจุดที่เป็นเอกลักษณ์ของการแข่งรถสูตรหนึ่งในปี2008 ของสิงคโปร์
โค้งที่ 21-24 ยังมีอีก 2 โค้งที่ระดับที่ช้าลงที่ 120 กม./ชม. ที่เกียร์3 ซึ่งจะพารถแข่งไปยังริมน้ำข้างๆกับสะพานสิงคโปร์ ที่ติดกับอาคาร พิต บิวดิ้ง โค้งสุดท้าย 2 โค้งสุดท้ายนี้จะมีความเร็ว 150 กม./ชม. ละ 200 กม./ชม. ตามลำดับ ส่งให้รถแข่งไปถึงจุดสิ้นสุดของการแข่งขันด้วยระยะความเร็ว 5.067 กม. ผ่าน 14 โค้งทางขวา และ 10โค้งทางซ้าย
เกี่ยวกับ การแข่งขันรถสูตรหนึ่งในปี 2008 SingTel Singapore Grand Prix
การแข่งขันรถสูตรหนึ่งในปี 2008 SingTel Singapore Grand Prix จะเกิดขึ้นในวันที่ 28 กันยายน 2551 บนถนนสาธารณะ รอบๆอ่าวมารีนา การแข่งขันครั้งนี้จะเป็นการจัดการแข่งในเวลากลางคืนครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแข่งรถสูตรหนึ่งที่จะ และเป็นการแข่งรถบนถนนครั้งแรกของเอเชีย
เกี่ยวกับ บริษัท Singapore GP จำกัด
บริษัท Singapore GP จำกัด คือ ผู้สนับสนุนการแข่งขันรถสูตรหนึ่ง SingTel Singapore Grand Prix บริษัทนี้ถือสิทธิ์การจัดการแข่งกันกรังปรีซ์ที่สิงคโปร์เป็นเวลา 5 ปี และยังสามารถต่อสัญญาได้ต่อไปอีก โดยเริ่มที่การแข่งขันของฤดูกาลปี 2008
บริษัทนี้เป็นการร่วมมือกันของบริษัท Komoco Motors และ บริษัทจัดงาน อีเว้นท์ชื่อ Lushington Entertainments โดยผ่านทางบริษัทแม่ที่ชื่อ Reef Enterprises
สำหรับสื่อมวลชน หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด
เมธาวรินทร์ มณีกูลพันธ์ / วิชยุตม์ จิตรพึงธรรม
โทรศัพท์ 0 2260 5820 ต่อ 115 / 125
โทรสาร 0 2260 5847-8
อีเมล: mae@tqpr.com/art@tqpr.com
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ฟิโอน่า สมิท
ผู้จัดการด้านการสื่อสาร Singapore GP Pte Ltd
โทร +656731 4943 มือถือ +65 8248 3363 อีเมล์ : Fiona@singaporegp.sg
สตีเฟ่น สเลเตอร์
Kingpin Media Ltd
โทร +44 1494 776 831 มือถือ +44 7967 381 884 อีเมล์: ss@kingpinmedia.co.uk

แท็ก singapore   sport   ESPN  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ