Q & A ข้อสงสัยเรื่อง (โรค) หัวใจ... โรคหัวใจให้เราดูแล

ข่าวทั่วไป Thursday April 7, 2022 10:29 —ThaiPR.net

Q & A ข้อสงสัยเรื่อง (โรค) หัวใจ... โรคหัวใจให้เราดูแล

Q & A ข้อสงสัยเรื่อง (โรค) หัวใจ... โรคหัวใจให้เราดูแล

Q : วิธีสังเกตอาการโรคหัวใจได้ด้วยตัวเองอย่างไร?
A : อาการเด่นๆ ที่สังเกตได้ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเองคือ เปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของตัวเองว่าเหนื่อยง่ายผิดปกติกว่าที่เคยเป็นหรือไม่? เช่น หากเคยเดินจากบ้านไปปากซอยไม่เหนื่อย แต่ตอนนี้ทำไม? เหนื่อยเร็ว หากมีอาการเช่นนี้ควรพบแพทย์โรคหัวใจดีที่สุด หรือ เดินขึ้นบันไดแล้วรู้สึกเหนื่อยกว่าเมื่อก่อน

Q : ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นอย่างไร?
A : จะมีอาการเจ็บแน่นเหมือนเชือกมารัด ถูกกด ถูกบีบ หรือรู้สึกแน่นกลางหน้าอก ซึ่งอาการเหล่านี้อาจร้าวไปยังหัวไหล่ แขน คอ ขากรรไกรและหลัง เกิดขึ้นขณะออกกำลัง หากรุนแรงอาจเกิดขึ้นในขณะพักหรือหลังทานอาหาร

Q : ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมีอาการอย่างไร?
A : มีอาการเจ็บหน้าอกเช่นเดียวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่อาการเจ็บจะรุนแรงและนานกว่า โดยทั่วไปแล้วอาการเจ็บหน้าอกชนิดนี้จะเป็นอยู่นานกว่า 30 นาทีขึ้นไป และมักจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยไม่ว่าจะเป็น เหงื่อออกมาก หน้ามืด เป็นลม หรือคลื่นไส้อาเจียน แนะนำให้รีบมาพบแพทย์โดยเร็ว

Q : มีวิธีการตรวจหาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างไร?
A : ปัจจุบันมีวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่ให้ผลค่อนข้างแม่นยำ ตั้งแต่การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลัง, การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงหรือ CT Scan การตรวจความผิดปกติของหัวใจด้วย Cardiac MRI และการตรวจสวนหัวใจ (Coronary Artery Angiography) เพื่อการวินิจฉัยที่แน่นอน

Q : ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเป็นอันตรายถึงชีวิต มีวิธีการรักษาอย่างไร?
A : ทำได้โดยการแก้ไขการอุดตันของหลอดเลือด สามารถทำได้ 2 วิธีคือ การให้ยาละลายลิ่มเลือด และการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจทันที ควรรีบนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ให้เร็วที่สุดหรือภายใน 4 ชั่วโมง หลังจากที่ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงจากโรคหัวใจ

Q : การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสนิท สามารถรักษาได้โดยอาจไม่ต้องผ่าตัด จริงหรือ?
A : ในกรณีที่หลอดเลือดอุดตันหรือตีบสนิท ซึ่งจำเป็นต้องใช้แพทย์หัวใจผู้เชี่ยวชาญทำการรักษา ร่วมกับการใช้ "หัวกรอกากเพชร" แพทย์จะประเมินสภาพและความรุนแรงของการอุดตัน เพื่อวางแผนการรักษาอย่างแม่นยำ หัวกรอกากเพชรจะหมุนด้วยความเร็วสูง กรอตะกรันที่อุดตันในหลอดเลือดจนเป็นผงละเอียด จากนั้นจึงใส่โครงค้ำยันหลอดเลือด เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีดังเดิม

 


แท็ก โรคหัวใจ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ