โครงการสัมมนา ศาลอาญาระหว่างประเทศ : มิติใหม่แห่งการอภิวัฒน์กระบวนการยุติธรรม

ข่าวทั่วไป Thursday March 20, 2008 16:57 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 มี.ค.--๑. ความเป็นมา หลักการและเหตุผล กระบวนการยุติธรรม ถือเป็นเสาหลักของสังคมประชาธิปไตยที่ยึดมั่นในหลักการสิทธิมนุษยชน และนิติธรรม เพื่อให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างสันติสุข ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court — ICC) ได้จัดตั้งขึ้นตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statue) ที่ได้รับการรับรองโดยที่ประชุมทางการทูตที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๑ ซึ่งประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่สนับสนุนธรรมนูญกรุงโรมในการประชุมดังกล่าว ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งในจำนวน ๑๒๐ ประเทศ และปัจจุบันศาลอาญาระหว่างประเทศได้จัดตั้งขึ้นแล้ว แต่แม้ระยะเวลาผ่านมาแล้ว ๑๐ ปี และมีประเทศต่างๆ เข้าเป็นภาคีแล้ว ๕ ประเทศ ประเทศไทยก็ยังมิได้ให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรมเช่นเดียวกับนานาอารยประเทศแต่อย่างใด ศาลอาญาระหว่างประเทศ ได้จัดตั้งขึ้นภายหลังจากที่ประชาคมโลกได้ผ่านประสบการณ์ที่ถือเป็นโศกนาฏกรรมของมนุษย์ชาติที่เลวร้ายที่สุดหลายครั้งหลายหน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาสงครามโลก ทั้งสองครั้ง และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในหลายแห่งทั่วโลก ที่นำไปสู่การเข่นฆ่าและประหัตประหารมนุษย์ด้วยกันอย่างโหดร้ายทารุณนับหมื่นนับแสนคน เช่น การล้างเผ่าพันธุ์ที่ประเทศ รวันดา บอสเนีย-เฮเซโกวีนา (อดีตประเทศยูโกสลาเวีย) ติมอร์ตะวันออก กัมพูชา เป็นต้น ทั้งนี้ ศาลอาญาระหว่างประเทศจะมีอำนาจพิจารณาคดีอาชญากรรม ๔ ประเภท ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรงที่มีลักษณะสากล คือ อาชญากรรมอันเป็นการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ (Crime of Genocide) อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (Crime Against Humanity) อาชญากรรมสงคราม (War Crime) และอาชญากรรมอันเป็นการรุกราน (Crime of Aggression) ในโอกาสครบรอบ ๖๐ ปี ของการประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วยประเทศไทยได้กลับมาสู่ครรลองประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่(พ.ศ. ๒๕๔๔) ที่มีบทบัญญัติหลายประการในอันที่จะส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และกระบวนการยุติธรรม คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และองค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล จึงเห็นควรจัดให้มีการประชุมสัมมนาเรื่องศาลอาญาระหว่างประเทศ : มิติใหม่แห่งการอภิวัฒน์กระบวนการยุติธรรม ขึ้น๒. วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และความเข้าใจศาลอาญาระหว่างประเทศ ทั้งในด้านบทบาท อำนาจหน้าที่ และอื่นๆ ๒. เพื่อศึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเหตุผลและข้อเสนอแนะให้ประเทศไทยให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ๓. เพื่อศึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงผลกระทบต่อการปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการ ยุติธรรมของประเทศไทย ในกรณีที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรม๓. วัน เวลา และสถานที่จัดสัมมนา กำหนดการจัดสัมมนาในวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๑ เวลา ๐๙.๐๐ — ๑๖.๓๐ น. ณ โรงแรมสยาม ซิตี้ ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร๔. ผู้เข้าร่วมการสัมมนา ประกอบด้วย หน่วยงานของภาครัฐ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน เจ้าหน้าที่สถานทูตประจำประเทศไทย สื่อมวลชน ประชาชนผู้สนใจ และสำนักงานคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จำนวนประมาณ ๑๒๐ คน๕. ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และการสูญหายของบุคคล ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกับองค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย (สมาคมเพื่อองค์การนิรโทษกรรมสากล)๖. งบประมาณ ๑. เบิกจ่ายจากสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในรหัสกิจกรรม oM๑ — ๑๕๘๐๐ ในวงเงิน จำนวน ๑๓๔,๕๐๐บาท (หนึ่งแสนสามหมื่นสี่พันห้าร้อยบาทถ้วน) ๒. องค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย รับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าที่พักวิทยากรจากต่างประเทศ ๓. องค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย รับผิดชอบค่าล่ามและค่าเช่าหูฟังในส่วนที่ทางราชการไม่สามารถจ่ายได้๗. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. เจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐและเอกชน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องศาลอาญาระหว่างประเทศ ๒. ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการที่ประเทศไทยจะให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม ๓. รัฐบาลไทยจะพิจารณาข้อเสนอแนะในการที่จะให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของธรรมนูญกรุงโรม ๔. แนวทางการปรับปรุงกำหมายและกระบวนการยุติธรรมของไทย ให้สอดคล้องกับการที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคธรรมนูญกรุงโรม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ