ประวัติ อังเคิล อดิเรก วัฏลีลา โปรดิวเซอร์ เขียนบท และตัดต่อ “เทวดาท่าจะเท่ง”

ข่าวบันเทิง Monday March 24, 2008 13:13 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 มี.ค.--สหมงคลฟิล์ม
ประวัติ อังเคิล อดิเรก วัฏลีลา โปรดิวเซอร์ เขียนบท และตัดต่อเทวดาท่าจะเท่ง
เกิด : 12 มิถุนายน 2498
การศึกษา : ไทยวิจิตรศิลปอาชีวศึกษา
ผลงาน
2516 — 2527 ILLUSTRATION ให้กับบริษัท โฆษณาต่างๆ รวมทั้งเขียนโปสเตอร์หนังด้วย
ไท เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ เปิดตัวธุรกิจภาพยนตร์เป็นครั้งแรก ในปี 2528เป็นผู้กำกับและเขียนบท
เรื่องแรกให้กับบริษัท ไท เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ และมีผลงานต่อๆมาดังนี้
2528 เขียนบทและกำกับภาพยนตร์ร่วมกับ คุณธนิตย์ จิตนุกูล เรื่อง ซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อย
2529 เขียนบทและกำกับภาพยนตร์ร่วมกับ คุณธนิตย์ จิตนุกูล เรื่อง ปลื้ม
2530 เขียนบท + ตัดต่อ + กำกับภาพยนตร์ เรื่อง ดีแตก
2531 เขียนบท + ตัดต่อ + กำกับภาพยนตร์ เรื่อง ฉลุย
2532 ตัดต่อภาพยนตร์ เรื่อง รักแรกอุ้ม ของสุภาพ จริงสมภพ (คิง)
2533 เขียนบท + ตัดต่อ + กำกับภาพยนตร์ เรื่อง ฉลุยโครงการ 2
2534 ตัดต่อภาพยนตร์ เรื่อง สยึ๋มกึ๋ย ของ ธนิตย์ จิตนุกูล
2537 เขียนบท + ตัดต่อ + กำกับภาพยนตร์ เรื่อง ฉลุยหิน-คนไข่สุดขอบโลก
อาร์เอส.ฟิล์ม เปิดตัวธุรกิจภาพยนตร์ครั้งแรกในปี 2537ได้เข้ามารับตำแหน่ง “ผู้จัดการฝ่ายภาพยนตร์” และเป็นโปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ที่ผ่านมาดังนี้
2538 ภาพยนตร์ เรื่อง “โลกทั้งใบให้นายคนเดียว”
ภาพยนตร์ เรื่อง “เกิดอีกที…ต้องมีเธอ”
2539 ภาพยนตร์ เรื่อง “เด็กระเบิด ยืดแล้วยึด”
ภาพยนตร์ เรื่อง “เจนนี่…กลางวันครับ กลางคืนค่ะ”
2540 ภาพยนตร์ เรื่อง ”ล่องจุ้น…ขอหมอนใบนั้นที่เธอฉันยามหนุน”
ภาพยนตร์ เรื่อง “18-80เพื่อนซี้ไม่มีซั้ว”
2541 ภาพยนตร์ เรื่อง “ฝันติดไฟ หัวใจติดดิน”
ภาพยนตร์ เรื่อง “ปาฏิหาริย์…โอม+สมหวัง”
2542 ภาพยนตร์ เรื่อง “แตก 4 รัก-โลภ-โกรธ-เลว”
ภาพยนตร์ เรื่อง “โคลนนิ่ง คนก๊อปปี้คน”
ฟิล์มบางกอก ในเครือบีอีซี-โร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ เปิดตัวธุรกิจภาพยนตร์ครั้งแรกในปี 2543 ได้เข้ามารับตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายภาพยนตร์ บริหารงานภาพยนตร์ทุกเรื่องของ ฟิล์มบางกอก และ เฉลิมไทย สตูดิโอ
2543 ภาพยนตร์เรื่อง “ ฟ้าทะลายโจร “ และ “ บางกอกแดนเจอรัส “
2544 ภาพยนตร์เรื่อง “ โกลคลับเกมส์ล้มโต๊ะ “ และ “ บางระจัน “
2545 ภาพยนตร์เรื่อง “ พรางชมพู” และ “ ส้มแบ้งค์ มือใหม่หัดขาย”
2546 ภาพยนตร์เรื่อง “ องคุลิมาล ” และ “ ทวิภพ”
2547 ภาพยนตร์เรื่อง “ขุนกระบี่ “ และ “ คนระลึกชาติ “
ผลงานที่ได้รับรางวัล
2528 ซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อย ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดประจำปี จากสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย
2529 ปลื้ม ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองในสาขาภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุด และรางวัลตัดต่อยอดเยี่ยมจากสมาคม ผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย
ได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำในสาขาตัดต่อยอดเยี่ยมของสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์
2530 ดีแตก ได้เข้าชิง 9 รางวัลและได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ในสาขากำกับศิลป์ยอดเยี่ยม และบันทึกเสียงยอดเยี่ยมของสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์
2531 ฉลุย ได้รับรางวัลตัดต่อยอดเยี่ยม จากมหกรรมภาพยนตร์ เอชีย — แปซิฟิก ครั้งที่ 33
2533 ฉลุย โครงการ 2 ได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ในสาขาถ่ายภาพยอดเยี่ยม ของสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์
ได้รับรางวัลถ่ายภาพยอดเยี่ยม จากชมรมวิจารณ์บันเทิง
ได้รับรางวัลตัดต่อยอดเยี่ยม จากชมรมวิจารณ์บันเทิง
2537 ฉลุยหิน — คนไข่สุดขอบโลก ได้รับรางวัลกำกับศิลป์ยอดเยี่ยม จากชมรมนักวิจารณ์บันเทิงและรางวัล ตุ๊กตาทองสาขาเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยมจากสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิง
2538 โลกทั้งใบให้นายคนเดียว ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และรางวัลอื่นๆอีกมากกว่า 10 รางวัล
โคลนนิ่ง คนก๊อปปี้คน ได้รับรางวัล ตัดต่อยอดเยี่ยมจากชมรมวิจารณ์บันเทิง
ได้การประกาศเกียรติคุณในฐานะ เป็นศิลปินผู้สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย จากคณะกรรมการจัดงานมหกรรมภาพยนตร์ เอเชีย — แปซิฟิก
เป็นผู้ผลักดันให้เกิดภาพยนตร์และผู้กำกับหน้าใหม่ๆมากมาย ตั้งแต่อยู่ บริษัท อาร์ เอส ฟิล์ม จนถึง บริษัท ฟิล์ม บางกอก จนประสพความสำเร็จเป็นที่ยอมรับ ทั้งในและต่างประเทศ
2548 ได้ก่อตั้ง บริษัท FILMMAN ขึ้นมาเพื่อที่จะเป็นโปรดักชั่นเฮ้าส์รับผลิตและดูแลหนังไทย และมีผลงานประเดิมด้วยการกลับมาเขียนบทและกำกับเองอีกครั้งหลังจากเลิกร้างวางมือไปนานถึง 10 ปี
2549 ภาพยนตร์เรื่อง วาไรตี้ ผีฉลุย (GHOST VARIETY )
2550 มีการปรับเปลี่ยนชื่อบริษัทจาก FILMMAN เป็น บริษัท FORFILMS จำกัด โดยมีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกคือ เทวดาท่าจะเท่ง นำแสดงโดย เท่ง เถิดเทิง , ตั๊ก บงกช
2551 เตรียมกำกับภาพยนตร์เรื่อง บางระจัน 2 และผลงานที่จะออกมาอีกในเร็วๆนี้ และเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับผู้กำกับทั้งเก่าและใหม่อีกมากมาย เช่น แฟนเก่า เมียงู หนังวัยรุ่นในแนวซึม — ปลื้ม ฉลุย และ ดีแตก ฯลฯ
www.unclefilms@hotmail.com
ประวัติ วิโรจน์ ทองชิว
ผู้กำกับภาพยนตร์ “เทวดาท่าจะเท่ง
เกิด 20 พ.ค.2506 ที่ จ.สมุทรสาคร
การศึกษา
ร.ร.สมุทรสาครวิทยาลัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา
เพาะช่าง
การทำงาน
รับราชการที่ กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ ป้อมพระจุลฯ ในตำแหน่งช่างเขียน
ทำป้ายโฆษณาชื่อร้าน โรจน์ศิลป์โฆษณา
ผู้กำกับภาพยนตร์,อำนวยการสร้าง “แอบคนข้างบ้าน” ภาพยนตร์ที่ “เท่ง เถิดเทิง”ขึ้นจอใหญ่ในฐานะพระเอกเป็นครั้งแรก
“โตขึ้นอยากเป็นอะไร” เชื่อว่าตอนเด็กๆ ทุกคนเคยเจอคำถามลักษณะนี้มาแล้วผมเองก็เจอ ตอนนั้นจำได้ว่าอายุราว 10 ปี มีญาติผู้ใหญ่ถามเสมอๆ ว่า “เฮ้ย ไอ้โรจน์โตขึ้นอยากเป็นอะไรวะ” ผมตอบอย่างไม่คิดว่า”อยากเป็นเจ้าของโรงหนัง” ทุกคนที่ได้ยินคำตอบก็งงกันเป็นแถว แทนที่จะได้ยินคำว่า เป็นตำรวจ ทหาร เป็นหมอ อะไรแถวนั้น
ผมเป็นคนต่างจังหวัด การที่จะได้ดูหนังสักเรื่อง สมัยนั้นมันเป็นเรื่องยากมากๆ แต่ก็โชคดีที่ญาติๆ ที่โตหน่อยมักจะพาผมไปดูหนังเสมอๆ จำได้แม่นตอนนั้นผม6-7ขวบได้มั๊ง ได้ไปดูเรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง รู้สึกตื่นเต้น ตาตื่นใจที่ได้เห็นหนังในจอใหญ่ๆ มีความสุขทุกครั้งที่ได้ดู จึงเป็นความรู้สึกฝังใจแต่นั้นมา
จังหวะเดียวกัน ฮีโร่ญี่ปุ่นก็เข้ามาฉายทางทีวี ทำให้เราหันเหไปดูฮีโร่เหล่านั้น จนเป็นศิลปะเข้ามาในชีวิต ผมเริ่มชอบขีดๆ เขียนๆวาดภาพอุลตร้าแมน มดแดง ส่งประกวดตามหนังสือที่มีขายอยู่ขณะนั้น ส่งอยู่นานนับสิบปีจนเราวาดรูปเก่ง ครูศิลปะที่โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ก็ส่งผลงานศิลปะของเราไปประกวดระดับโลก ที่ประเทศอินเดีย ตอนนั้นเรียนอยู่ชั้น ม.ศ.2 ผลก็คือได้รางวัลชนะเลิศ 2 ปีซ้อน เป็นภาพชาวนากำลังดำนา กับภาพเสือโคร่งในป่า
ทวนธน คำมีศรี นักแสดงชื่อดัง ฉายาไอ้หนวดหิน สมัยนั้น เป็นคนแรกในวงการบันเทิง ที่ผมได้พูดคุยด้วย แม้นจะเป็นการพูดคุยแบบสั้นๆก็ตาม มันได้จุดประกายเรื่องหนังในวัยเยาว์ให้ผุดขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากลืมเรื่องอยากเป็นเจ้าของโรงหนังไปเลย แต่หลังจากวันนั้นผมก็ลืมเรื่องหนังไปอีก เพราะตอนที่คุยกับพี่ทวนธน นั้นผมเรียนอยู่ที่อาชีวศึกษาเสาวภา แผนกวิจิตรศิลป์ มุ่งมั่นที่จะเขียนรูป ไม่ค่อยได้สนใจเรื่องอื่น
หลังจากเรียนจบ ก็มีครอบครัว และยึดอาชีพ ทำป้ายโฆษณา อยู่ที่สมุทรสาคร ขณะนั้นงานผมกำลังรุ่งเรืองด้วยดี ประกอบกับช่วงนั้นเป็นช่วงที่หนังไทยกำลังซบเซาได้ที่ ปีหนึ่งๆ เหลือไม่กี่เรื่อง แต่แล้ว จู่ๆ ก็หนังไทยเรื่องหนึ่ง ออกฉาย ดังทะลุแตก และเป็นหนังที่จุดประกายให้ผมอยากทำหนังขึ้นมาทันที “นางนาก”
นางนาง เป็นหนังไทยที่ฉีกแนวหนังไทยแบบเดิมๆ ลงอย่างสิ้นเชิง ไม่มีดาราดัง เรื่องฉีกกระแสเดิมๆ ที่ว่าแม่นาคต้องผมยาวออกมาหลอกหลอน แหกอกควักไส้ตลกไปวันๆ แต่ นางนากของพี่อุ๋ย ช่างสมจริงสมจัง น่าเชื่อถือ และที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ผมตัดสินใจเริ่มคิดที่จะทำหนังก็คือ นางนาก ทำเงินถล่มทลาย ทำให้ผมรู้ว่า หนังดีไม่จำเป็นต้องใช้ดาราดังเสมอไป หากเรื่องดี ตั้งใจทำดี มีฝีมือ ก็สามารถครองใจคนดูได้
เริ่มเขียนบท ส่งเรื่องย่อไปยังค่ายหนังต่างๆ ไม่มีการตอบรับตอบกลับจากค่ายนั้นๆ เซ็งมากว่า ทำไมค่ายเหล่านั้นเงียบกันไปหมด ได้อ่านเรื่องย่อที่ส่งไปไหม เขาชอบหรือไม่ชอบ แล้วทำไมไม่ตอบกลับ แต่ผมก็ยังตระเวนส่งเรื่อยๆ และก็ยังคงทำป้ายโฆษณาไปด้วย และแล้วก็มีโทรศัพท์จากค่ายอาร์เอส โดยคุณราเชนทร์ โทรกลับมาบอกว่า ไม่สนใจโปรเจ็คที่เราส่งไป แต่ผมก็รู้สึกดีที่เขาแจ้งกลับ ทำให้เรารู้ว่า เขาก็อ่านเรื่องของเราเหมือนกัน หลังจากนั้นจำไม่ได้ว่านานเท่าไหร่ มีแฟ็กซ์ส่งมาจากเฉลิมไทยสตูดิโอ โดยพี่อังเคิล เป็นข้อความหนึ่งหน้ากระดาษ เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการทำหนังในวงการหนังไทย ว่าต้องทำอะไรบ้าง เป็นข้อคิดเห็นส่วนตัวที่พี่อังเคิลคิดต่อหนังไทย
มานพ อุดมเดช ผู้กำกับชื่อดังอีกท่านหนึ่งที่ผมได้เจอตัวจริงในวันที่พี่เขามาถ่ายละครที่มหาชัยเรื่อง ดั่งไฟใต้น้ำ ได้พูดคุยกันถึงสิ่งที่ผมอยากจะทำ พี่เขาก็ให้กำลังใจ ให้ข้อคิดมากมาย
ในเมื่อไม่มีนายทุนให้ทุน ในขณะที่ผมอยากเป็นคนกำกับหนัง ก็เลยต้องใช้วิธี ทำเองมันซะเลย แอบคนข้างบ้าน เป็นหนังเรื่องแรกที่ทำ และหาทุนเอง กำกับเอง และผลก็ส่งให้ผมได้ทำหนังจนทุกวันนี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ