จีเอเบิล ลั่นกลองรบลับอาวุธรอบด้าน นำ 6 โซลูชั่นเด็ดเสริมตลาดสู่เป้า 7,000 ลบ.

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday March 25, 2008 16:22 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 มี.ค.--กลุ่มบริษัท จีเอเบิล
โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ — จีเอเบิล นำทัพกระบวนรบอาศัยอาวุธเด็ด 6 โซลูชั่น ทั้ง Finance Management — Unified Communication - Security - Server Virtualization - Content Management — Business Continuity Management (BCM) เสริมความคมในการรุก 5 เป้าหมายหลัก แบงก์ โทรคม ประกันภัย สถาบันการศึกษา และกลุ่มอุตสาหกรรม เชื่อหาก Mega Project คลอดเศรษฐกิจกระเตื้องทั้งระบบแน่นอน เผยไม่ว่าเศรษฐกิจจะขึ้นหรือลงระบบไอทียังคงต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง พร้อมขยับเป้าจีเอเบิลสู่ 7,000 ล้านบาท
นายไตรรัตน์ ใจสำราญ กรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท จีเอเบิล เปิดเผยถึงแนวโน้มของตลาดไอทีในปีนี้ว่า ภายหลังการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นโครงการขนาดใหญ่ หรือ Mega Project ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดียิ่ง เพราะหาก Mega Project เริ่มดำเนินการได้เมื่อไร ก็จะทำให้โครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นตามกลไกทางระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นเชื่อว่า หน่วยงานทั้งภาครัฐ และองค์กรเอกชน จะมีการขยายการลงทุนทางด้านไอทีอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพของธุรกิจให้แข็งแกร่งสำหรับรองรับการแข่งขัน และมุ่งให้บริการลูกค้าอย่างรวดเร็วครบตามความต้องการ
สำหรับกลุ่มเป้าหมายหลักที่จีเอเบิลมุ่งเน้นเป็นพิเศษ ยังคงเป็นกลุ่มธนาคาร กลุ่มโทรคมนาคม ประกันภัย สถาบันการ ศึกษา และกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งจะนำโซลูชั่นทางด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีและแอพพลิเคชั่นด้านต่างๆ ในการรุกตลาด
นายเชวง ธนาพันธรักษ์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท จีเอเบิล กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาแม้ว่าสภาพเศรษฐกิจแทบจะหยุดนิ่ง แต่บางองค์กรถือเป็นโอกาสที่จะเสริมสร้างศักยภาพของตนเอง เพื่อรอรับการแข่งขันที่ต้องเกิดขึ้น จึงยังคงลงทุนทางด้านไอทีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจีเอเบิลได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ จึงสามารถทำรายได้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ เป็นการเติบโตที่ต่อเนื่องและมั่นคง
“จีเอเบิล คัดสรรโครงการที่มีความจำเป็นในการใช้ IT จริงๆ โดยจะนำ IT ไปต่อยอดและเอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจหลักของลูกค้าประสบความสำเร็จ โครงการเหล่านี้จะไม่ชะลอการตัดสินใจลงทุนด้านไอที เพราะสิ่งที่เราติดตั้งให้สามารถตอบสนองความต้องการได้ และอีกประการก็คือ จีเอเบิล รักษาคำมั่นสัญญาเสมอ เป็นภาพลักษณ์ที่สร้างความมั่นใจให้ลูกค้า จึงทำให้ลูกค้าไม่หนี และเลือกใช้บริการจากเรา”
นางมยุรี ชาติเมธากุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท จีเอเบิล กล่าวถึงการเติบโตของจีเอเบิลในปีนี้ว่า ตั้งเป้าไว้ที่ 7,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าตลาดไอทีโดยรวมถึง 1-2 เท่า ทั้งนี้ เป้าเติบโตดังกล่าวจะมีสัดส่วนของงานบริการ (Provide Solution) เพิ่มมากขึ้น และจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จากการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วย 6 โซลูชั่น คือ Finance Management - Unified Communication - Security - Server Virtualization - Content Management — Business Continuity Management (BCM)
Finance Management โซลูชั่นการบริหารจัดการทางด้านการเงิน และการธนาคาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการปรับปรุงขั้นตอนทางธุรกิจ (Business Process Improvement) ตามกฎเกณฑ์ต่างๆที่ทางสถาบันการเงินต้องปฏิบัติตาม อาทิ การบริหารความเสี่ยงตาม Basel II, มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IAS) ฉบับที่ 39 เรื่อง การรับและการวัดมูลค่าตราสารทางการเงิน (IAS39) เป็นต้น การเพิ่มความสามารถในการให้บริการ และดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการของธนาคารเพิ่มมากขึ้น อาทิ การให้บริการหน้าเคาท์เตอร์ตามสาขาของธนาคาร, การให้บริการโดยใช้ช่องทางโทรศัพท์ (Telephone Banking / IVR Banking), การให้บริการให้ช่องทางอิเลคทรอนิกส์ (Internet Banking and Cash Management) เป็นต้นช่วยให้สถาบันการเงินสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้า เพื่อเพิ่มความพึงพอใจ และอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงินได้เป็นอย่างดี
Content Management ช่วยให้ความสามารถในการดำเนินงานภายในองค์กรมีความสามารถที่สูงขึ้นมาก ด้วยการจัดระเบียบของข้อมูล Content ต่างๆที่กระจัดกระจายอยู่รวมเข้าด้วยกันและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานร่วมกันเป็นทีม ทั้งภายในและภายนอกองค์กร และสามารถที่จะปกป้องข้อมูลอันมีค่า ทั้งการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปตามข้อกำหนด และ กฎเกณฑ์ต่างๆรวมถึงการจัดเก็บข้อมูลลงบนอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลได้อย่างเหมาะสม
Server Virtualization การทำให้เครื่องแม่ข่ายมีลักษณะเป็นแบบเสมือน ซึ่งเป็นแนวคิดการบริหารจัดการทรัพยากรระบบของเครื่องแม่ข่ายในภาพใหญ่ คือการทำให้เครื่องที่มีฮาร์ดแวร์ชุดเดียว (single physical server) สามารถแบ่งตัวเองเป็นหลายๆ เครื่องแม่ข่ายได้ และแต่ละเครื่องนั้นก็มีข้อมูลประจำตัวไม่ซ้ำกันตามหลักการของเครื่องแม่ข่ายทั่วไปทุกอย่าง ประโยชน์หลักๆ ที่องค์กรจะได้รับได้แก่ การประหยัด ทั้งพื้นที่ติดตั้งในศูนย์ข้อมูล รวมถึงพลังงานไฟฟ้า กำลังของเครื่องปรับอากาศ ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสำหรับศูนย์ข้อมูลลดลง และอีกด้านคือ การดูแลจัดการ ความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนหรือโอนย้ายทรัพยากรระบบ ซึ่งหมายถึงการกระทบต่อความต่อเนื่องในการให้บริการ หรือ downtime ของระบบ ซึ่งแตกต่างกันไปในเทคโนโลยีของแต่ละราย และที่สำคัญก็คือ Server Virtualization ช่วยสนับสนุนแนวคิดการรวมศูนย์ของเครื่องแม่ข่าย (Server Consolidation)
Unified Communication Unified Communication System หรือ ระบบสื่อสารแบบครบวงวจร เป็นคำใช้เรียกระบบสื่อสารที่ประกอบไปด้วยระบบสื่อสารหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรสาร แฟกซ์ จดหมายอิเลคทรอนิกส์ ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น เมื่อเรานำระบบสื่อสารเหล่านี้มาเชื่อมโยงถึงกัน และจัดการการใช้งานด้วยแอพพลิเคชั่นเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบสื่อสารเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว ง่ายดาย อีกทั้งยังมีการทำงานที่สอดคล้องอย่างเป็นระบบ ก็จะก่อให้เกิดระบบสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ขององค์กร ที่สำคัญคือเราสามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา ลดระยะเวลาที่ใช้ในการติดต่อ และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง หรือค่าใช้จ่ายในการติดต่อทางไกลผ่านระบบสื่อสารได้ ดังนั้นในอีกไม่นาน Unified Communication จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน และสามารถสร้างความแตกต่างสำหรับงานบริการได้ อันจะนำมาซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขันด้านต่างๆ
Security ระบบความมั่นคงของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Security) เป็นการวางระบบอย่างครบวงจรในการที่จะป้องกันผู้บุกรุกไม่ว่าจะมาจากภายนอก หรือภายในองค์กรก็ตาม โดยสามารถป้องกันในระดับเครื่องผู้ใช้ ระดับเครือข่ายจนถึงระดับเครื่องแม่ข่ายที่มีความสำคัญสูง รวมทั้งการวางระบบเพื่อรองรับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีการให้บริการในการทดสอบความมั่นคงของระบบโดยทำการจำลองการบุกรุกทั้งจากภายใน และภายนอก เพื่อให้ทราบถึงจุดต่างๆ ที่ข้อมูลมีโอกาสรั่วไหลได้ และดำเนินการป้องกันก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น รวมทั้งการให้บริการให้คำปรึกษาโดยใช้มาตรฐาน ISO 27001 ในการสร้างมาตรฐานในการดำเนินงานต่างๆ และนโยบายความมั่นคงขององค์กร เพื่อทำให้องค์กรมีระบบความมั่นคงอย่างยั่งยืนตลอดไป
Business Continuity Management (BCM) สำหรับธุรกิจที่ต้องการความต่อเนื่องของการดำเนินงานโดยที่ระบบที่พึ่งพาระบบไอทีจะต้องมีการออกแบบให้สามารถรองรับกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นกับระบบไอทีหลักของเราให้ได้ ดังนั้นประเด็นของการวางแผนให้มีความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ โดยมีระบบไอทีในลักษณะต่างๆ กันตามความต้องการของธุรกิจและข้อกฏหมายสำหรับธุรกิจบางประเภทด้วย เช่น กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่จะต้องให้ความสำคัญค่อนข้างมาก
การวางแผนสำหรับความเสี่ยงต่างๆจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ อัคคีภัย หรือ จากผู้ไม่ประสงค์ดี และอื่นๆอีกมากมาย ที่อาจจะทำให้ระบบไอทีและข้อมูลต่างๆได้รับความเสียหายได้ การจัดทำแผนและเตรียมการทางด้าน BCM เป็นการเตรียมตัวที่ดีเพื่อให้ความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจที่มีการใช้ไอทีมากๆ เช่น ธนาคาร บริษัทโทรศัพท์ มือถือ บริษัทประกันภัย บริษัทที่ต้องการความต่อเนื่องระบบสูง และ ธุรกิจการให้บริการข้อมูลออนไลน์ต่างๆเป็นต้น การเตรียมตัวที่ดีทำให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นได้รับการแก้ไขให้กลับสู่สภาวะปกติด้วยความรวดเร็ว เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ที่จะใช้ในการทำ Disaster Recovery (DR) ด้วย โดยมีการพิจารณาถึงการสำรองระบบและการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
“G-ABLE กำลังเติบโต เราขยายอัตราการเติบโตให้โตกว่าอัตราการเติบโตของตลาดรวม โดยเฉพาะในส่วนของโซลูชั่น เราให้บริการโซลูชั่นมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเรานำโซลูชั่นทั้ง 5 นี้มาเสริม เนื่องจากกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด และ Global Market สำหรับโซลูชั่นเดิมที่เราทำเป็นหลักในกลุ่มธนาคาร กลุ่มโทรคมนาคม ประกันภัย สถาบันการศึกษา และกลุ่มอุตสาหกรรมก็ยังรุกตลาดเช่นเดิม “นางมยุรี กล่าวในตอนท้าย
กลุ่มบริษัท จีเอเบิล เป็น Professional IT Services ที่ประกอบไปด้วยผู้เขี่ยวชาญมากสาขาที่สุดในประเทศไทย ด้วยนโยบาย Single Point of Contact ที่จะให้บริการภายใต้คุณภาพมาตรฐานระดับสูง แบบครบวงจร ด้วยทีมงานที่มีคุณภาพและให้บริการในตลาด IT มามากกว่า 18 ปี ประกอบไปด้วย 4 บริษัท ได้แก่
บริษัท จีเอเบิล จำกัด A Premier IT Services Provider
บริษัท เดอะ คอมมูนิเคชั่น โซลูชั่น จำกัด A Premier Network Services
บริษัท ซีดีจี ไมโครซีสเต็มส์ จำกัด A Premier IT Solutions Provider
บริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด A Premier IT Infrastructure Integrator
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :
คุณชุติมา สีดา
คุณจรีย์วิบูล บุญชนะโกศล
คุณนุสรินทร์ เพ็ชร์หลำ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กลุ่มบริษัท จีเอเบิล
โทร. 0-2678-0200 ต่อ 2996-9
e-mail : chutima.s@cdg.co.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ