ไอดีซีคาดว่าตลาดเครื่องโทรศัพท์มือถือในเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่น จะมียอดจำหน่ายมากกว่า 400 ล้านเครื่อง ในปี 2551

ข่าวเทคโนโลยี Friday March 28, 2008 16:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 มี.ค.--ไอดีซี
จากผลการสำรวจข้อมูลรายไตรมาสล่าสุดของ ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก เกี่ยวกับตลาดโทรศัพท์มือถือพบว่า ตัวเลขการจำหน่ายยมือถือในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกไม่รวมประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2550 มีจำนวน 366 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 18% จากปี พ.ศ. 2549 และคาดว่าจะมียอดจำหน่ายเกินกว่า 400 ล้านเครื่อง ในปี พ.ศ. 2551 และมีอัตราการเติบโต 10 % จากปี พ.ศ. 2550
นายอลอยเซียส ชุง ผู้จัดการฝ่ายวิจัย ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ประจำ ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “การเติบโตนี้ ได้รับแรงขับเคลื่อนมาจากประเทศอินเดียและประเทศจีน ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ มีการนำเข้าเครื่องโทรศัพท์มือถือคิดเป็น สัดส่วนมากกว่า 60% จากตัวเลขของภูมิภาคทั้งหมด” เขายังกล่าวเสริมอีกว่า “เราคาดการณ์ว่าตลาดของอินเดียจะเป็น ตลาดที่คงความแข็งแกร่ง และจะมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอีก 19 % ในปี พ.ศ. 2551”
แม้ว่าสถิติผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือในปี พ.ศ. 2550 ของทั้งสองประเทศนี้จะมีอัตราการเติบโตเป็นอย่างมาก แต่ทว่า สัดส่วนการใช้บริการโทรศัพท์มือถือต่อประชากรทั้งหมดในปัจจุบันก็ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยประเทศอินเดียอยู่ที่ 20% และ ประเทศจีนอยู่ที่ 40% ดังนั้น โอกาสในการขยายตัวสำหรับ การจำหน่ายโทรศัพท์มือถือยังคงมีอีกมาก
ไอดีซี คาดการณ์ว่า การที่ผู้ใช้บริการสามารถใช้เบอร์เดิมของตนเองได้ถึงแม้จะเปลี่ยนผู้ให้บริการ (number portability) ที่กำลังจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในประเทศอินเดียราวสิ้นปีพ.ศ. 2551 จะเป็นส่วนผลักดันให้เกิดการขยายตัวของยอดจำหน่าย โทรศัพท์มือถือ ในขณะที่ตลาดของประเทศจีน โมโตโรล่า พยายามจะเจาะกลุ่มผู้ใช้งานในตลาดล่างอย่างระมัดระวัง และ การผ่อนคลายด้านข้อกฎหมายต่างๆ จะทำให้ผู้ผลิตในประเทศสามารถผลิตเครื่องที่น่าใช้งานและมีราคาถูกมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ตลาดขยายตัวมากขึ้น
โนเกีย ยังคงเป็นเจ้าตลาดสำหรับโทรศัพท์มือถือในแทบทุกประเทศของภูมิภาคนี้ ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาด มากกว่า 50% ในปีพ.ศ. 2550 เพิ่มขึ้นจาก 42 % จากปีที่ผ่านมา
โมโตโรล่า ผู้เป็นอันดับสองของปี พ.ศ. 2549 มีส่วนแบ่งทางการตลาดเหลือเพียงครึ่งหนึ่งในปี พ.ศ. 2550 เนื่องจาก การไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรของการจำหน่ายรุ่น RAZR ที่ย้ายมาจากตลาดกลุ่มล่างที่สุด ขณะที่ ซัมซุง กระโดด ขึ้นมาเป็นอันดับที่สอง โดยการนำเสนอความโดดเด่นของสินค้าที่ลำหน้าซึ่งผูกติดกับเทคโนโลยี 3G
โซนี่อีริคสัน และ แอลจี รักษาอันดับที่สี่ และ ห้า ของตัวเองไว้ได้ตามลำดับ แต่ทั้งสองต่างก็มีประสบการณ์ไม่ราบรื่น ในตลาดจีน ที่ถูกโจมตีโดยผู้ผลิตภายในระเทศ
“การรักษาความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในอนาคตของ โนเกีย ไม่ค่อยดีนัก แต่ต้องขอบคุณสำหรับการมีตราสินค้าที่เข้มแข็ง การมีรุ่นสินค้าให้เลือกเยอะและหลากหลาย และการปรับปรุงข้อผิดพลาด ของผลิตภัณฑ์มาโดยตลอด” กล่าวโดย นางสาวเมลิสา เชา ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ ฝ่ายวิจัยระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ประจำ ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก”
จากการรายงานการสำรวจร่วมของตลาดมือถือ ปี พ.ศ. 2550 รายงานฉบับนี้ทำการสำรวจ จากผู้บริโภคจำนวนมากกว่า 2000 คน จาก 6 ประเทศ พบว่า เกือบ 68% ของผู้ใช้มือถือยี่ห้อ โนเกีย กล่าวว่า เขาจะคงใช้ยี่ห้อ โนเกีย ในการซื้อ ครั้งต่อไป ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับยี่ห้อ ซัมซุง มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 48% และ 46% สำหรับ โซนี่ อีริคสัน
ตารางที่ 1 ส่วนแบ่งทางการตลาดของตลาดมือถือในภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิค แบ่งตามยี่ห้อ
ในปีพ.ศ. 2549 และ 2550
Vendor 2006 2007
Nokia 42.1% 50.2%
Samsung 10.9% 12.1%
Motorola 19.1% 8.3%
Sony Ericsson 5.8% 6.9%
LG 5.6% 5.2%
Others 16.5% 17.3%
Total 100.0% 100.0%
Source: IDC Asia/Pacific Mobile Phone Tracker, March 2008
ภาพที่ 1 ความภักดีต่อ ยี่ห้อมือถือ จาก 5 อันดับสูงสุด
คำถาม : คุณคาดว่าในการเลือกซื้อ มือถือครั้งต่อไป คุณจะยังคงเลือกใช้ยี่ห้อมือถือ ยี่ห้อเดียวกับที่คุณใช้อยู่ในปัจจุบัน หรือไม่
จำนวนผู้ตอบคำถาม = 2,126 คน
แหล่งที่มา ไอดีซี เอเชียแปซิฟิค แผนก อุปกรณ์ มือถือ มีนาคม พ.ศ. 2551
เกี่ยวกับไอดีซี
ไอดีซี เป็นบริษัทที่ปรึกษา และ วิจัยข้อมูลการตลาดชั้นนำระดับโลก ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และ คอนซูเมอร์เทคโนโลยี โดยนำเสนอข้อมูลจากการวิเคราะห์-เจาะลึกแก่ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ผู้บริหาร และนักลงทุน ให้สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจจัดซื้อเทคโนโลยีและกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ ปัจจุบันไอดีซีมี นักวิเคราะห์ กว่า 900 คน ใน 90 ประเทศ ทำหน้าที่นำเสนอข้อมูล และ ให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์อย่างรอบด้าน แก่ลูกค้า ในเรื่องเทคโนโลยี รวมถึงโอกาสทางธุรกิจและแนวโน้มของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และ ในแต่ละ ประเทศ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่สั่งสมมากว่า 43 ปี เพื่อช่วยให้ลูกค้าบรรลุทุกวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ไอดีซี เป็นบริษัทในเครือของไอดีจี ซึ่งดำเนินธุรกิจสื่อสายเทคโนโลยี วิจัย และจัดงานสัมมนา ชั้นนำระดับโลก ค้นหา ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.idc.co.th
สอบถามข้อมูลหรือต้องการซื้อรายงานดังกล่าวข้างต้นกรุณาติดต่อ
คุณภาวดี พงศ์สุพรรณ ที่หมายเลข +662-651-5585 ต่อ 111หรืออีเมลล์มาที่ phawadee@idc.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ