บรอดแบนด์ในทุกๆ ที่เพื่อทุกๆ คน

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday April 16, 2008 13:37 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 เม.ย.--ฟ้า เอเจนซี่
เพื่อนำไปสู่สังคมดิจิทัล (Digital Society) สิ่งที่ภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแลควรจะให้ความสำคัญคือการเลือกใช้เทคโนโลยีต่างๆทั้งในรูปแบบ ADSL และเทคโนโลยีไร้สายในตระกูล IMTเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบรอดแบนด์อย่างทั่วถึงในราคาที่เหมาะสม
การจัดสรรแถบคลื่นความถี่เป็นสิ่งสำคัญ
เมื่อคำนึงถึงประสิทธิภาพสูงสุดของบรอดแบนด์ไร้สาย การจัดสรรแถบคลื่นความถี่ต้องกระทำอย่างระมัดระวัง มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2012 การใช้งานบรอดแบนด์ในโครงข่ายไร้สายจะเติบโตกว่า 30 เท่า และตามข้อตกลง CEPT (The European Conference of Postal and Telecommunications Administrations) ของยุโรป และ CITEL (Inter-American Telecommunication Commission) ของอเมริกา นานาชาติได้ตกลงจัดสรรแถบคลื่นความถี่เพิ่มเติมในช่วง 2.50-2.69 GHz เป็น IMT-2000 Extension Band สำหรับบริการบรอดแบนด์ไร้สายสำหรับเทคนิค Frequency Division Duplex (FDD) โดยมีการกำหนดช่วงแถบคลื่นความถี่สำหรับการอัพลิงก์และดาวน์ลิงก์อย่างชัดเจน
คำถามต่อไปคือหลังจากปี 2012ไปแล้ว จะทำอย่างไรเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการการใช้แถบคลื่นความถี่ที่มีอยู่อย่างจำกัด สถาบัน ITU ได้ประมาณว่าจนถึงปี 2020จะมีความต้องการใช้งานแถบคลื่นความถี่ 1,300 -1,700 MHz สำหรับบริการบรอดแบนด์ไร้สาย ซึ่งหมายความว่าระดับความต้องการจะเพิ่มขี้นมากเป็นสองเท่าหรือสามเท่าจากในปัจจุบัน การจัดสรรแถบคลื่นความถี่ในช่วง 5GHz จะก่อให้เกิดการใช้งานไร้สายในพื้นที่ที่กว้างขวางอย่างแท้จริงและคุ้มค่าต่อการลงทุนประชาคมโลกจำเป็นต้องเลือกแนวทางที่สอดคล้องกันเพื่อให้มีการโรมมิ่งและมีความประหยัดจากการขยายการผลิตของอุปกรณ์โครงข่าย อุปกรณ์อื่นๆและการบริการ
แถบคลื่นความถี่ต่ำ เช่นแถบความถี่ 470 — 862 MHz (coverage band) นั้น ควรจัดสรรสำหรับพื้นที่ที่ห่างไกล เพื่อตอบสนองความต้องการการใช้งานอย่างมากในอนาคตได้อย่างคุ้มค่าต่อการลงทุน ส่วนแถบความถี่ที่สูงกว่าเช่น คลื่นความถี่ 3,400-4,200 หรือคลื่นความถี่ 4,400-4,990 MHz (capacity band) ควรจัดสรรสำหรับพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นเพื่อให้บริการที่เพียงพอและครอบคลุมพื้นที่อยู่อาศัย
แนวทางที่สอดคล้องกันทั่วโลก (Global Harmonization)
ปัจจุบันนี้ มากกว่า 2,400 ล้านคนทั่วโลกใช้บริการโทรคมนาคมไร้สายในระบบ IMT (GSM/GPRS/EDGE/WCDMA/HSPA) ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าระบบ IMT นี้เป็นมาตรฐานระดับสากล และมีราคาที่ถูกกว่าระบบอื่นเพราะได้เปรียบในด้านการผลิตในจำนวนมาก (economy of scale)
นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะมีผู้ใช้บริการบรอดแบนด์ไร้สาย 1,200 ล้านคนภายในปี 2010 โดย WCDMA/HSPA จะมีส่วนแบ่งประมาณ 75% ของตลาดบรอดแบนด์ไร้สาย และประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์จะเลือกใช้เทคโนโลยี CDMA 2000 EV-DO และต่ำกว่า 5 เปอร์เซ็นต์จะเลือกใช้ Mobile WiMAX
ผู้ใช้ในปัจจุบันกว่า 110 ล้านคนเลือกใช้ WCDMA/HSPA และผู้ให้บริการกว่า 160 รายได้เปิดให้บริการ HSPA ในเชิงพาณิชย์แล้ว
อุปกรณ์ WCDMA/HSPA มีมากมายหลากหลาย อาทิเช่น โน้ตบุ๊ก PC การ์ดและ PDA ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป รวมทั้งมีราคาถูกลง นักวิเคราะห์ยังได้คาดการณ์ว่าโทรศัพท์มือถือ WiMAXจะมีส่วนแบ่งตลาดต่ำกว่า 1 เปอร์เซ็นต์จวบจนปี 2010
ราคาโทรศัพท์มือถือขึ้นอยู่กับอะไร
ราคาของโทรศัพท์มือถือรวมไปถึงโครงข่ายนั้นจะขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้ใช้กับความสามารถในการผลิต ถ้ามีการผลิตที่มากจะส่งผลให้ราคานั้นถูกลง ยกตัวอย่างเช่นในปี 2007 มีการผลิตและขายโทรศัพท์มือถือในระบบ IMT มากกว่า 1,000 ล้านเครื่องทั่วโลก ซึ่งส่งผลให้โทรศัพท์มือถือบางรุ่นต่ำกว่า 1,000 บาท
ยิ่งไปกว่านั้น การพิจารณาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Rights-IPR) และต้นทุนเป็นสิ่งจำเป็น ผู้ผลิตอุปกรณ์ IMT (GSM/GPRS/EDGE/WCDMA/HSPA) มีต้นทุนค่าใช้จ่ายสำหรับทรัพย์สินทางปัญญา (IPR) ที่ต่ำมาก แต่สำหรับ WiMAX นั้นสถานการณ์ยังไม่ชัดเจน ค่า IPR อาจจะสูงกว่าได้
นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนและการบริหารจัดการ ซึ่งตามปกติโครงข่ายไร้สายจะมีต้นทุนด้านชิ้นส่วนโครงข่ายวิทยุถึงประมาณ 70 — 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จากส่วนนี้จะเป็นต้นทุนทางด้านสถานีเครือข่าย ซึ่งถ้าเปรียบเทียบการให้บริการที่ครอบคลุมพื้นที่เท่ากัน WiMAX ต้องการสถานีฐานที่มากกว่า WCDMA 70-200เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากความแตกต่างทางด้านเทคโนโลยีในการรับส่งสัญญาณ
ดังนั้น ภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแลจึงต้องคำนึงถึงการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบรอดแบนด์อย่างทั่วถึงในราคาที่เหมาะสม และทำให้การเชื่อมต่อบรอดแบนด์ความเร็วสูงเกิดขึ้นได้จริงตามวิสัยทัศน์ที่ว่า “บรอดแบนด์ในทุกๆที่เพื่อทุกๆคน”
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ:
คุณวรพรรณ เอื้ออาภรณ์ (โก้)
ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ฟ้า เอเจนซี่ จำกัด
โทร. 0 2616 0991-2 มือถือ 08 9144 4014
อีเมล์ : voraparn@febi.co.th

แท็ก บรอดแบนด์   ADSL  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ