Social Participation หันหาสังคมจุดไฟในตัวให้ลุกโชน! หนีภาวะ "เบิร์นเอ้าท์"

ข่าวบันเทิง Wednesday July 12, 2023 16:36 —ThaiPR.net

Social Participation หันหาสังคมจุดไฟในตัวให้ลุกโชน! หนีภาวะ

Burnout Syndrome "ภาวะหมดไฟในการทำงาน" โรคยอดฮิตของหนุ่มสาวออฟฟิศในยุค Now Normal อันมีสาเหตุหลักมาจากความเครียดในสถานที่ทำงาน สังเกตุอาการง่ายๆ คือ เหนื่อยล้า หมดพลังกายและใจ หมดความเชื่อมั่นในตนเอง และประสิทธิภาพการทำงานน้อยลง วิธีแก้มีหลากหลายแนวทาง ทั้ง 'ยอมรับในความแตกต่าง' 'อย่าหักโหมงาน' 'อย่าเอางานกลับบ้าน' 'พักผ่อนให้เพียงพอ' วันนี้ GEN HEALTHY LIFE ขอนำเสนออีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยจุดไฟในตัวคุณให้ลุกโชนพร้อมเติมพลังบวกอีกครั้ง

การมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ย่อมควบคู่ไปกับการมีสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งเป็นความสุขอย่างสมบูรณ์แบบที่ทุกคนต่างปรารถนา การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบข้างจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากในการใช้ชีวิตให้มีความบาลานซ์ ดังนั้นแนวทางที่จะช่วยเพิ่มพลังบวกให้เรามีสุขภาพจิตที่แจ่มใสขึ้นในทุกวัน คือ การหันเข้าสังคม หรือ "การเข้าร่วมกิจกรรมในสังคม" (Social Participation) จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการช่วยคลายเครียด ซึ่งจากผลสำรวจประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมทำกิจกรรมต่างๆ พบว่า 47% ต้องการบรรเทาความเหงาและความโดดเดี่ยวที่เกิดขึ้น อีก 39% เพื่อช่วยบำบัดรักษาสุขภาพทางจิตให้แจ่มใส ไม่เกิดความเครียดจนนำไปสู่อาการของโรคซึมเศร้า หรือเกิดภาวะเบื่อหน่ายจนทำให้มีความรู้สึกหมดเรี่ยวแรงในการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน สำหรับ "กิจกรรมการเข้าสังคม" มีหลากหลายอย่างให้เลือกทำ เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดที่กำลังเผชิญ เช่น กิจกรรมกับกลุ่มเพื่อน อาทิ ไปแคมป์ปิ้ง, ไปหาร้านอร่อยสังสรรค์, เช็คอินคาเฟ่ชิคๆ, จ็อกกิงในสวนสาธารณะ, ดูหนัง-ฟังเพลง, เล่นกีฬา ต่อมา กิจกรรมกับที่ทำงาน อาทิ จับกลุ่มร้องเพลงเล่นดนตรีหลังเลิกงาน, ทานข้าวกลางวันด้วยกัน, ตั้งวงเล่นบอร์ดเกม, แลกเปลี่ยนหนัง-ซีรีส์ในเวลาว่าง สุดท้าย กิจกรรมนันทนาการกับชุมชน อาทิ ร่วมเต้นแอโรบิคภายในชุมชน, เข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัคร ไม่ว่าจะเป็น ทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ต่างๆ , เรียนรู้งานศิลปหัตถกรรม - งานฝีมือภายในชุมชน, เป็นต้น

อย่าลืมว่าการรักษาสภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือแม้แต่เกิดอาการเบื่อหน่ายกับทุกสิ่งบนโลกใบนี้ หากเกิดขึ้นแล้วต้องใช้เวลาในการฟื้นฟู และมีการปรับเปลี่ยนที่ยั่งยืนในรูปแบบการดูแลสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ แต่หากทำทุกวิธีแล้วยังไม่สามารถกลับเข้าสู่สภาวะปกติที่ควรจะเป็นได้ หรือมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ควรพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิต เพื่อรับคำปรึกษาและการดูแลที่เหมาะสม สำหรับใครที่ต้องการเคล็ดลับการมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง สามารถติดตามบทความดีๆ ได้ที่ Gen Healthy Life เพราะเรามีเรื่องราวดีๆ มาเสิร์ฟให้อ่านตลอดเวลา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ