โลหิตจางจากขาดธาตุเหล็กคืออะไร

ข่าวทั่วไป Wednesday September 27, 2023 10:56 —ThaiPR.net

โลหิตจางจากขาดธาตุเหล็กคืออะไร

ภาวะโลหิตจางเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยที่พบบ่อยที่สุดคือโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นส่วนประกอบในเซลล์ต่างๆของร่างกาย เราจะได้รับธาตุเหล็กจากอาหารเป็นหลัก โดยอาหารที่พบธาตุเหล็กมาก ได้แก่ เนื้อสัตว์เนื้อแดง เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ

นอกจากนี้ ยังพบธาตุเหล็กได้ในผักใบเขียวและธัญพืช แต่ธาตุเหล็กในอาหารประเภทนี้จะถูกดูดซึมได้ไม่ดีเท่าธาตุเหล็กจากอาหารพวกเนื้อสัตว์

สาเหตุ ของการ ขาดธาตุเหล็ก มี 4 สาเหตุหลัก ๆ ได้แก่

1. การเสียเลือดเรื้อรังเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด เช่น ประจำเดือนออกมากในหญิงวัยเจริญพันธุ์หรือมีแผลหรือเนื้องอกในทางเดินอาหาร ทำให้เสียเลือด ร่างกายไม่สามารถนำธาตุเหล็กกลับมาใช้ใหม่ได้ จึงเกิดภาวะขาดธาตุเหล็ก

2. ร่างกายต้องการเหล็กมากขึ้นพบในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

3. ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กลดลงพบในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยที่กินยาซึ่งรบกวนการดูดซึมของธาตุเหล็ก

4. ได้รับธาตุเหล็กจากอาหารไม่เพียงพอ พบในเด็กที่ไม่ได้ดื่มนมมารดา หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ยอมรับประทานอาหาร หรือรับประทานอาหารเองไม่ได้อาการเริ่มแรก

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กอาจน้อยมากจนไม่มีใครสังเกต แต่เมื่อร่างกายขาดธาตุเหล็กและโรคโลหิตจางมากขึ้น อาการจะแสดงก็ทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งอาการที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

- ความเหนื่อยล้า โดยเฉพาะออกแรงแล้วเหนื่อยง่ายกว่าปกติ

- ผิวสีซีด

- ปวดหัวเวียนศีรษะหรือมึนศีรษะ

- บางรายจะมีภาวะแสบลิ้น- เล็บบางลง หรือเล็บเปราะ

- บางรายจะมี ความอยากกินอาหารที่ผิดปกติ เช่น น้ำแข็ง ฝุ่น หรือแป้ง

- ความอยากอาหารไม่ดีโดยเฉพาะในเด็กทารกและเด็กที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กการวินิจฉัยภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก ประกอบด้วย

1. CBC จะพบ Hb < 11 g/dL, Hct < 33%, MCV และ MCH มีค่ำต่ำกว่าเกณฑ์ การดูเสมียร์เลือดจะพบเม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็กติดสีจาง (microcytic, hypochromic)

2. Serum iron, Total iron biding capacity (TIBC) และ Transferrin saturation ในภาวะขาดเหล็กจะน้อยกว่า 15%

3. Serum ferritin จะมีค่าลดลงในภาวะขาดธาตุเหล็กใช้ค่าที่น้อยกว่า 15 ng/mL

การรักษาโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเมื่อแพทย์วินิจฉัยพบว่าผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาเสริมธาตุเหล็กเพื่อเพิ่มระดับธาตุเหล็กในร่างกาย และทำการรักษาภาวะหรือโรคต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะขาดธาตุเหล็กอื่นๆเพิ่มด้วย

บทความโดย แพทย์หญิงธาริณี รุ่งจิรจิตรานนท์ อาจารย์แพทย์ด้านโลหิตวิทยา แผนกอายุรแพทย์โรคเลือดโรงพยบาลเกษมราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ