ทำความรู้จัก "ยาคุมฉุกเฉิน" ควรใช้อย่างไรเพื่อไม่ให้มีโทษต่อร่างกาย

ข่าวทั่วไป Tuesday March 26, 2024 11:27 —ThaiPR.net

ทำความรู้จัก

การรับประทาน ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน คือหนึ่งในวิธีการคุมกำเนิดที่หลายคนนิยมใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ แต่รู้หรือไม่ว่า การรับประทานยาคุมฉุกเฉิน ในปริมาณมากจนเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายในแบบที่คุณอาจคาดไม่ถึง ดังนั้นคุณจึงควรศึกษาเกี่ยวกับวิธีการรับประทาน และข้อควรรู้ต่าง ๆ ของ ยาคุมฉุกเฉินก่อนใช้งาน เพื่อความปลอดภัยของตัวของคุณเอง

รู้จักกับ ยาคุมฉุกเฉิน

ยาคุมฉุกเฉิน หรือ Emergency contraceptive pills, morning-after pills คือ ยาคุม รูปแบบเม็ดชนิดหนึ่ง มีฤทธิ์การคุมกำเนิดภายในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ ยาคุมกำเนิด ชนิดอื่น ๆ เพราะมีส่วนประกอบของฮอร์โมนในปริมาณสูง ทำให้สามารถลดโอกาสการตั้งครรภ์ได้ชั่วคราวหลังมีเพศสัมพันธ์

ยาคุมฉุกเฉินที่ได้รับความนิยมสูงในตลาดประเทศไทยคือ ยาคุมฉุกเฉินชนิดฮอร์โมนโพรเจสติน แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ 750 กรัม จำนวน 2 โดสและ 1500 กรัมต่อเม็ดจำนวน 1 โดส ซึ่งมีวิธีการรับประทานและผลข้างเคียงแตกต่างกันไป

กลไกการทำงาน

กลไกการทำงานของยาคุมฉุกเฉินช่วยยับยั้งการปฏิสนธิระหว่างอสุจิและไข่ โดยออกฤทธิ์เพื่อเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนภายในร่างกายของผู้หญิงให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ เช่น ลดการสร้างเมือก เพิ่มความหนืดของเมือกปากมดลูก หรือเพิ่มการบีบตัวของมดลูก เป็นต้น

ในทางการแพทย์ ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตหรือส่งผลใด ๆ ต่อตัวอ่อนที่มีการปฏิสนธิแล้วได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ผู้ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์จึงควรเดินทางไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรึกษาและยุติการตั้งครรภ์แทนการรับประทานยาด้วยตนเอง

วิธีรับประทานยาคุมฉุกเฉิน

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่เราเห็นกันในท้องตลาด คือ ยาคุมชนิดที่มีเฉพาะฮอร์โมนโพรเจสติน ที่ถูกบรรจุอยู่ในแผงยาเป็นจำนวน 2 เม็ด แต่ละเม็ดมีส่วนประกอบของฮอร์โมนปริมาณ 750 กรัม ผู้ใช้งานจำเป็นต้องรับประทานยาคุมฉุกเฉินเม็ดแรกภายใน 12 ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์ และรับประทานยาเม็ดที่ 2 เมื่อครบ 12 ชั่วโมงนับจากยาเม็ดแรก

เพื่อสุขภาพร่างกายของผู้ใช้งาน และประสิทธิภาพของยาคุม เราไม่ควรรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมากกว่า 4 เม็ดต่อเดือน และควรใช้งานเพียงแค่กรณีฉุกเฉินเท่านั้น เช่น

  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอม
  • คำนวณวันตกไข่ผิดพลาด
  • คุมกำเนิดรูปแบบอื่นๆ ผิดพลาด เช่น ถุงยางอนามัยฉีกขาด หลุด รั่ว ลืมรับประทานยาคุมกำเนิด หรือเลยกำหนดการฉีดยาคุมกำเนิด
ผู้ที่ไม่ควรรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

สำหรับผู้หญิงบางคน การรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายที่ร้ายแรง มากกว่าผู้หญิงส่วนมาก และนี่คือกลุ่มคนที่ไม่ควรรับประทานยาคุมฉุกเฉิน

  • มีอายุมากกว่า 35 ปี
  • สูบบุหรี่จัด
  • มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ และมีไขมันในเลือดสูง
  • มีความดันโลหิตสูง
  • ป่วยเป็นโรคมะเร็งอวัยวะภายในของผู้หญิง และมะเร็งเต้านม
  • ป่วยเป็นโรคตับ เช่น ตับแข็ง มะเร็งตับ
  • มีประวัติเคยหรือเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ป่วยเป็นโรคลิ่มเลือดอุดตัน
  • ป่วยเป็นโรคลมชัก และรับประทานยากันชัก
  • ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ที่มีภาวะไตทำงานผิดปกติ หรือมีภาวะหลอดเลือดผิดปกติ
  • ป่วยเป็นโรคไมเกรนชนิดที่มีอาการเตือน
ผลข้างเคียงของการรับประทาน

การรับประทานยาคุมฉุกเฉินอาจส่งผลให้ผู้ใช้งานเกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ตามมาได้ เพราะเป็นยาที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนในปริมาณมาก ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายจึงเปลี่ยนแปลงหลังจากรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน เช่น

  • ตกขาวกลายเป็นสีน้ำตาล
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดท้อง คัดตึงเต้านม คล้ายช่วงเวลามีประจำเดือน
  • อาจเกิดความผิดปกติบริเวณรังไข่และเยื่อบุโพรงมดลูก
  • มีความเสี่ยงตั้งครรภ์นอกมดลูกในอนาคต
สรุป

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว และมีโอกาสการผิดพลาดได้เช่นกัน ดังนั้นคุณจึงควรใช้ยาคุมฉุกเฉินในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น เช่น ถูกข่มขืน ถุงยางอนามัยฉีกขาด หรือมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน และหันมาเลือกใช้ถุงยางอนามัยซึ่งสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้และยังมีประสิทธิภาพการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ได้อีกด้วย หรือสำหรับใครที่ต้องการคุมกำเนิดในระยะยาวอาจเลือกใช้วิธีการรับประทานยาคุม ฉีดยาคุมกำเนิด หรือใส่ห่วงยาคุมกำเนิด และการทำหมัน

หากว่าคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมที่ถูกต้องเกี่ยวกับการรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน หรือยาอื่น ๆ MedCare มีบริการให้คำปรึกษาโดยเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ พร้อมจัดหายาจากร้านขายยาใกล้บ้าน เพื่อส่งถึงมือคุณภายใน 1 ชั่วโมง เพียงแค่แอด LINE https://bit.ly/medcare-miniapp-blog หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://medcare.asia/

แหล่งอ้างอิง

  • https://medcare.asia/thing-to-know-emergency-contraception/
  • https://www.rattinan.com/emergency-contraceptive-pill/
  • https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/648
  • https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-knowledge-article-info-old.php?id=419
  • https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/เข้าใจก่อนใช้ยาคุมฉุกเฉิน-
  • https://www.synphaet.co.th/ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน-กิน/
  • https://www.phyathai.com/th/article/2796-ยาคุมฉุกเฉิน
  • https://www.exta.co.th/ยาคุมฉุกเฉิน-กินอย่างไร/

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ