ตำรวจจับกุมผู้ทำผิดข้อหาขายซอฟต์แวร์เถื่อนออนไลน์ผู้ต้องสงสัยอาจต้องโทษจำคุก 4 ปี และถูกปรับ

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday May 21, 2008 13:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 พ.ค.--วีโร่ พับลิครีเลชั่นส์
ตำรวจไทยจับกุมชายอายุ 28 ปีในเขตทางเหนือของกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2551 ในข้อหาขายซอฟต์แวร์เถื่อนบนอินเตอร์เน็ตมากว่า 1 ปี โดยเขาอาจต้องโทษจำคุก 4 ปีและถูกปรับเงินถึง 800,000 บาท
“ผู้ต้องหาถูกจับตัวได้หลังจากตามสืบมาหนึ่งเดือน” ร.ต.อ.รัชพงศ์ เตียสุด และ ร.ต.ต.ศุภชัย วิบูลย์สุขสันต์ จากกองบัญชาการตำรวจนครบาลกล่าว
ผู้ต้องหาดำเนินธุรกิจโดยการลงโฆษณาตนเองในฟอรัมต่างๆ และเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ต แล้วจะรับคำสั่งซื้อทางอีเมล์ จากนั้นเขียนแผ่นซีดีเอง และส่งไปให้ลูกค้าทางไปรษณีย์ และรับเงินโดยการโอนผ่านทางเอทีเอ็ม
ผู้ซื้อหลายรายไม่รู้ตัวเลยว่าซอฟต์แวร์นั้นทำซ้ำขึ้นอย่างผิดกฎหมาย และอาจจะมีไวรัสได้ ในระหว่างการเข้าตรวจค้น ตำรวจพบตัวผู้ต้องสงสัยพร้อมด้วยแผ่นโปรแกรมผิดกฎหมายนับโหลมีมูลค่ามากกว่า 7.8 ล้าน รวมถึงเครื่องพีซีที่ใช้เข้าอินเตอร์เน็ตและเขียนแผ่นซีดี
ผู้ต้องสงสัยโดนข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป เช่น การตัดต่อแก้ไขรูปภาพ การออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ การทำภาพเคลื่อนไหว ระบบปฎิบัติการ การประมวลผลคำ เป็นต้น โดยทั้งหมดเป็นของบริษัทสมาชิกกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) เช่น Adobe Autodesk และ Microsoft เป็นต้น
“เราเห็นว่าผู้ต้องสงสัยรายนี้ละเมิดกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทย ซึ่งเป็นการกระทำที่บ่อนทำลายความพยายามของรัฐบาลที่จะพัฒนาเศรษฐกิจไทย” ร.ต.อ. รัชพงศ์ เตียสุด กล่าว “หน่วยปราบปรามของเราทุ่มเทอย่างเต็มที่เพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่เจ้าของสิทธิ์ของประเทศไทย ซึ่งทำให้ผู้ที่ขายซอฟต์แวร์เถื่อนควรรู้แล้วว่าเรากวาดล้างการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างจริงจัง ส่วนผู้ที่เจตนาซื้อซอฟต์แวร์เถื่อนควรตระหนักได้ว่าพวกเขากำลังส่งเสริมการทำความผิด”
สมาชิกของชุนนุมซอฟต์แวร์และไอทีท้องถิ่นชมเชยการจับกุมดังกล่าว และขอบคุณเจ้าหน้าที่ตำรวจที่คอยให้การช่วยเหลือ การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ส่งผลในด้านลบต่อธุรกิจของผู้ค้าปลีก ผู้พัฒนาและผู้ประกอบกิจการซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
“เราขอแสดงความยินดีกับการเข้าจับกุมครั้งนี้ของ ร.ต.อ. รัชพงศ์ เตียสุด และร.ต.ต.ศุภชัย วิบูลย์สุขสันต์ จากกองบัญชาการตำรวจนครบาล” มร. ดรุณ ซอว์นีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ประจำภูมิภาคเอเชียของบีเอสเอกล่าว “ผู้ที่ละเมิดกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาโดยการทำซ้ำซอฟต์แวร์กำลังทำลายเศรษฐกิจไทยนั้นเป็นเรื่องจริง จากการศึกษาวิจัยมากมายได้แสดงให้เห็นว่าอัตราที่ลดลงของการละเมิดลิขสิทธิ์ จะแปรเป็นรายได้ให้กับอุตสาหกรรมไอทีท้องถิ่น งานใหม่ และการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติที่มากขึ้น เพิ่มรายได้ภาษีของไทยและให้บริการทางสังคมแก่ชุมชนได้มากขึ้น การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์กำลังสร้างความเสียหายร้ายแรงให้แก่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และสังคมไทย”
“การใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนยังจะทำให้ประสิทธิผลในการทำงานต่ำลง และรักษาความปลอดภัยให้ธุรกิจได้ไม่เต็มที่” ซอว์นีย์กล่าว “มีเพียงซอฟต์แวร์ของแท้เท่านั้นที่ให้ความคุ้มครอง และปลอดภัยที่เหมาะสม แต่ผู้ที่ซื้อจากผู้ขายออนไลน์ที่หลอกลวงอาจรู้หรือไม่รู้เรื่องนี้ รายละเอียดเพิ่มเติมของวิธีที่ผู้ซื้อจะป้องกันตนเองได้อย่างไร เข้าแวะชมได้ที่เว็บไซต์ b4usurf.org”
นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยชมเชยการจับกุมครั้งนี้ด้วยเช่นกัน โดยกล่าวว่าเขาได้รับความช่วยเหลือจากการปฎิบัติหน้าที่ของตำรวจซึ่งช่วยคุ้มครองสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญาของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์
“ในฐานะตัวแทนของสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (เอทีเอสไอ) ผมอยากจะขอบคุณ ร.ต.อ.รัชพงศ์ เตียสุด และ ร.ต.ต.ศุภชัย วิบูลย์สุขสันต์ แห่งกองบัญชาการตำรวจนครบาล และทีมเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฎิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดี” สมเกียรติ อึงอารี นายกฯ ของเอทีเอสไอกล่าว “การลงโทษผู้ขายซอฟต์แวร์เถื่อนจะเป็นก้าวต่อไปที่ดีในการเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ และช่วยให้คนเข้าใจว่าการละเมิดลิขสิทธิ์กระทบต่ออาชีพของผู้แทนจำหน่ายและผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ เราจะต้องสนับสนุนสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทย หากเราต้องการจะก้าวเข้าไปในสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จและรุ่งเรืองต่อไป”
เกี่ยวกับบีเอสเอ
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (www.bsa.org) เป็นผู้นำแถวหน้าที่ทุ่มเทให้กับการส่งเสริมโลกดิจิตอลที่ปลอดภัยและ ถูกกฎหมาย บีเอสเอเป็นกระบอกเสียงของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์และคู่ค้าฮารด์แวร์ทั่วโลกต่อหน้ารัฐบาล ของประเทศต่างๆ และในตลาดการค้าระหว่างประเทศ สมาชิกบีเอสเอ ประกอบด้วยผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในโลก บีเอสเอสนับสนุนนวัตกรรมเทคโนโลยี ผ่านโครงการเพื่อการศึกษาและนโยบายที่ส่งเสริมการปกป้องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ การรักษา ความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ การค้าและอีคอมเมิร์ส
สมาชิกบีเอสเอ รวมถึง อโดบี, อาจิเลนท์ เทคโนโลยี, อัลเทียม, แอปเปิ้ล, ออโต้เดสค์, อาวิด, เบนลี่ ซิสเต็มส์, บอร์แลนด์, ซีเอ, คาร์เดนซ์ ดีไซน์ ซิสเต็มส์, ซิสโค ซิสเต็มส์, ซีเอ็นซี ซอฟต์แวร์/มาสเตอร์แคม, คอเรล, เดล, อีเอ็มซี, ฟรอนท์ไลน์ พีซีบี โซลูชั่นส์ (ในเครือออร์โบเท็ค วาเลอร์ คัมปานี), เอชพี, ไอบีเอ็ม, อินเทล, ไอนัส เทคโนโลยี, แมคอาฟี, ไมโครซอฟท์, ไมเจ็ท, มินิแทบ, โมโนไทพ์ อิเมจิ้ง, พีทีซี, เคิร์ค, เควสท์ ซอฟต์แวร์, เอสเอพี, ซีเมนส์ พีแอลเอ็ม ซอฟต์แวร์, โซลิดเวิร์กส์, เอสพีเอสเอส,ไซเบส, ไซแมนเทค, ไซนอปซิส, เทคล่า, ไทยซอฟต์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์, เดอะ แมธเวิร์กส์ และ เทรนด์ ไมโคร สมาชิกบีเอสเอในประเทศไทยคือไทยซอฟต์แวร์ เอ็นเตอร์ไพร์ส
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
อาทิมา ตันติกุล สุจิตรา ยิ่งเพิ่มมงคล
วีโร่ พับลิครีเลชั่นส์ วีโร่ พับลิครีเลชั่นส์
โทร +66 (0) 2684 1551 โทร +66 (0) 2684 1551
อีเมล์ artima@veropr.com อีเมล์ sujittra@veropr.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ