กรณีศึกษาเรื่องบริการบรอดแบนด์ในพื้นที่ห่างไกล

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday June 24, 2008 11:30 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 มิ.ย.--Farh Agency
ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายช่วยให้การเข้าถึงบรอดแบนด์ทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้นและในราคาที่ถูกลง ในแถบประเทศยุโรบนั้นมีการคิดราคาประมาณ 1 ยูโร หรือ 50 บาทต่อ 1 กิ๊กกะไบท์ และด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ตลาดบรอดแบนด์ทั้งแบบมีสายและไร้สายนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ด้วยความคุ้มค่าทางด้านการลงทุน ทำให้ผู้ให้บริการโครงข่ายไร้สายสามารถขยายการให้บริการบรอดแบนด์แก่ลูกค้าในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งอาจจะถือได้ว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดทางความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ (digital divide)
หน่วยงานของรัฐบาลและองค์กรระหว่างประเทศต่างผลักดันให้เกิดการริเริ่มต่างๆอย่างจริงจังเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงบรอดแบนด์ในทุกหนทุกแห่ง และด้วยแรงเสริมจากการพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยี High Speed Packet Access (HSPA) ทำให้การลงทุนนั้นถูกลง ทำให้บริการนี้ขยายไปถึงลูกค้าในพื้นที่ที่ห่างไกล และทำให้ทุกคนสามารถเชื่่อมต่ออันเตอร์เน็ตได้ในทุกๆสถานที่ในราคาถูกลง
โครงข่าย WCDMA/HSPA สามารถติดตั้งได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว และสามารถให้บริการที่หลากหลายรวมถึง
- บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
- บริการวีดิโอบนโทรศัพท์
- บริการข้อมูลพื้นฐาน อาทิเช่น SMS และ MMS
- บริการข้อมูลไร้สายที่ทันสมัย อาทิเช่น ดาวน์โหลดเพลง
- บริการทีวีบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
- บริการบรอดแบนด์ไร้สายสำหรับกลุ่มผู้ใช้ laptop
- บริการบรอดแบนด์ไร้สายแบบติดตั้งประจำที่ (Fixed Wireless Broadband) (เทียบเท่า ADSL)
- บริการโทรศัพท์เสมือนโทรศัพท์พื้นฐาน PSTN
ห้าบริการแรกมุ่งที่กลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ในขณะที่บริการบรอดแบนด์ไร้สายในเบื้องต้นมุ่งที่กลุ่มผู้ใช้ที่มี laptop ที่ต้องการความรวดเร็ว เคลื่อนย้ายสะดวก ติดต่อได้ตลอดเวลาและสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทุกหนทุกแห่ง ส่วนบรอดแบนด์ไร้สายแบบติดตั้งประจำที่และบริการโทรศัพท์เสมือน PSTN นั้นเป็นบริการบนโีครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไร้สายเพื่อกลุ่มผู้ใช้ในบริเวณที่พักอาศัย
ด้วยความสะดวกในเรื่องไร้สาย ทำให้ตลาดของบริการโทรคมนาคมเติบโต โดยเฉพาะบริการบรอดแบนด์ ที่ลูกค้าหลักจะเป็นผู้ใช้รายบุคคล (personnel mobile broadband) และด้วยเหตุนี้ตลาดสำหรับบริการ บรอดแบนด์ไร้สายแบบติดตั้งประจำที่และบรอดแบนด์ไร้สายจึงใหญ่กว่าตลาดบรอดแบนด์ประจำที่
อุปกรณ์การสื่อสารมีราคาถูกลง
ราคาของอุปกรณ์การสื่อสาร WCDMA/HSPA นั้นถูกลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีการผลิตอุปกรณ์การสื่อสารแบบใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น HSPA ชิพเซ็ตมีในอุปกรณ์ต่างๆ อาทิเช่น ใน PC-cards หรือติดตั้งใน laptop และในโมเด็มสำหรับบรอดแบนด์ไร้สายแบบติดตั้งประจำที่ ความก้าวหน้านี้ส่งผลให้ผู้ผลิต HSPA ชิพเซ็ต และผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสาร HSPA มีข้อได้เปรียบอย่างยิ่งในด้านการประหยัดจากการขยายการผลิต (economy of scale) ซึ่งทำให้ยากสำหรับผู้ผลิตที่เลือกเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายอื่นเช่น WiMAX จะแข่งขันได้ Signals Research Group คาดการณ์ว่า ภายในปี 2008 ตลาดโลกสำหรับ HSPA จะมีประมาณ 200 ล้านเครื่อง ซึ่งมากกว่าตลาดชิพเซ็ต WCDMA ธรรมดาที่มี130 ล้านเครื่อง
กรณีศึกษาจากผู้ให้บริการโครงข่าย
กรณีศึกษาที่นำเสนอนี้อยู่บนพื้นฐานสถานีฐาน WCDMA/HSPA บนแถบความถี่2100 MHz ที่ติดตั้งเซลล์ด้วยระบบเสาอากาศสามทาง (three-sector cell) ด้วยเขตรัศมี 12 กิโลเมตร ให้พื้นที่ครอบคลุมต่อเซลล์ 280 ตารางกิโลเมตร ค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของประชากรคือ 15 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งทำให้หนึ่งเซลล์ครอบคลุมประชากรประมาณ 4,200 คน โดยมีการให้บริการ ดังนี้: บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (เสียง, ข้อมูล, mobile TV) บริการบรอดแบนด์ไร้สาย และบริการบรอดแบนด์ไร้สายแบบติดตั้งประจำที่
ด้วยการคิดแบบกะประมาณอย่างต่ำๆ (conservative calculation) แต่ใช้ตัวเลขที่เป็นจริงของการเข้าถึงของบริการ (service penetration) และรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้ (ARPU) เราสามารถคำนวณรายได้ของสถานีฐานต่อปี ตามที่แสดงในตาราง “Revenue model” บริการเหล่านี้จะสร้างรายได้ต่อปีมากกว่า 1,100 ยูโร หรือ 55,000 บาทต่อตารางกิโลเมตร
ทางด้านค่าใช้จ่าย สมมติฐานเรื่องค่าใช้จ่ายต้นทุนของสถานีฐาน (CAPEX) คือประมาณ 240,000 ยูโรหรือ 12,000,000 บาทสำหรับการอัพเกรดสถานีฐานของ GSM 900 ให้เป็น WCDMA/HSPA รวมทั้งการอัพเกรดเครือข่ายทรานซ์มิชชั่นเพื่อให้บริการบรอดแบนด์ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่อปี (OPEX) เท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ของค่าเสื่อมราคา CAPEX ต่อปี และคิดจากค่าเสื่อมราคาในเวลา 6 ปี จากสมมติฐานเหล่านี้ทำให้ทราบมูลค่าต้นทุนของสถานีฐานในการถือครองกรรมสิทธิ์โดยรวม (Total Cost of Site Ownership) นั้นน้อยกว่า 285 ยูโร หรือ 14,250 บาทต่อตารางกิโลเมตร ส่งผลให้ยอดกำไรขั้นต้นต่อสถานีฐานของผู้ให้บริการโครงข่ายจะมีมากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์สำหรับการให้บริการ 3G
(ภาพประกอบ Revenue Model)
ขณะที่รายได้จากการให้บริการด้านเสียงของโทรศัพท์เคลื่อนที่มีแนวโน้มลดลง บริการบรอดแบนด์กลายเป็นแหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญ และคาดว่าบริการเหล่านี้จะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง การวิเคราะห์แสดงว่ามีความเป็นไปได้ที่จะส่งข้อมูลจากบรอดแบนด์วิ่งผ่านบน WCDMA/HSPA ไปถึงผู้รับได้ในราคาที่ตำ่กว่า 1 ยูโร หรือ 50 บาทต่อกิ๊กกะไบต์ ในขณะที่ผู้ให้บริการ DSL ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมรายเดือนเพื่อเช่าการเชื่อมต่อผ่านสายทองแดงสู่เครือข่ายการเชื่อมต่อ ค่าบริการนี้มีความแตกต่างกันในแต่ละตลาด แต่โดยรวมแล้วจะเท่ากับหรือมากกว่าค่าใช้จ่ายในการให้บริการรับส่งข้อมูล 10 GB โดยผ่านโครงข่าย WCDMA/HSPA (ตามปกติผู้ใช้บริการ ADSL จะส่งและรับข้อมูลประมาณ 2-3 dB ต่อเดือน) ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า บนสมมติฐานที่มีการใช้งานปานกลาง การเลือกใช้เทคโนโลยี 3G เพื่อให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายแบบประจำที่จะคุ้มค่ากว่าการเลือกใช้ ADSL
ผู้เขียน: นายบัญญัติ เกิดนิยม เป็นผู้จัดการอาวุโส ทางด้าน 3G และนวัตกรรม 3G ทำงานกับบริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด มากว่า 12 ปีในฐานะผู้บริหารด้านพัฒนาธุรกิจ
ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ:
คุณวรพรรณ เอื้ออาภรณ์ (coco)
GM of Farh Agency
Tel: 0 26160991-2, Fax: 0 2616 0993, MB: 08 9144 4014, 08 1376 5927

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ