IDC คาดว่าการใช้จ่ายด้านไอทีของธุรกิจการผลิต ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่น จะมีมูลค่าสูงถึง 33 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2555

ข่าวเทคโนโลยี Friday July 4, 2008 10:24 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 ก.ค.--ไอดีซี
IDC คาดว่าการใช้จ่ายด้านไอทีของธุรกิจการผลิต ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่น จะมีมูลค่าสูงถึง 33 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการใช้งานบริการด้านไอทีมากขึ้น หลังจากตลาด เริ่มอิ่มตัวด้านการซื้อผลิตภัณฑ์
บริษัท Manufacturing Insight Asia/Pacific ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำ ด้านงานวิจัยและให้คำปรึกษาโดยอิสระ และเป็นบริษัทในเครือของ IDC ได้ระบุถึงผลการวิจัยว่า การใช้จ่ายในธุรกิจ การผลิตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่น คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 33 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2555 และมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปี อยู่ที่ร้อยละ 9.5 ในอีก 5 ปีข้างหน้า ข้อมูลดังกล่าวจะปรากฎอยู่ในรายงาน ชื่อเรื่อง “Asia/Pacific (Excluding Japan) Manufacturing IT Spending 2008-2012 Forecast” (Doc #AP664104Q) ซึ่งรายงานดังกล่าวจะบ่งบอกถึงข้อมูลการใช้จ่ายด้านไอทีของธุรกิจการผลิตในกลุ่มต่างๆ และ ยัง ครอบคลุมถึงปัจจัยเร่งและแนวโน้มที่สำคัญที่กระตุ้นตลาดให้เติบโตในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ยังได้แสดงการคาดการณ์ การใช้จ่ายในอนาคตระหว่างปี พ.ศ. 2551-2555 และยังบ่งชี้ถึงกลุ่มธุรกิจการผลิตที่มีกำลังซื้อมาก และ กลุ่มธุรกิจ ที่กำลังจะเติบโตในอนาคต
นายเดบาชิ ทาราฟด้าร์ ผู้จัดการอาวุโสของ Manufacturing Insights ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2550 จากภาวะที่ไม่แน่นอนจากปัจจัยต่างๆ หลายปัจจัยยังคงส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทั่วโลก รวมถึง ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้วย ไม่ว่าจะเป็น วิกฤตการณ์ตลาดการเงิน การอ่อนค่าลงของเงินสกุลดอลล่าสหรัฐฯ ราคา น้ำมันที่พุ่งทะยาน ความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจกำลังจะชะลอตัว ภาวะเงินเฟ้อที่กดดันให้ราคาอาหารและสินค้า อุปโภคต่างๆ มีราคาสูงขึ้น รวมถึงอัตราค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคนี้อีกด้วย อย่างไรก็ตามภาวะการแข่งขัน ที่รุนแรงมากขึ้นของตลาด รวมทั้งตลาดยังเป็นโลกาภิวัฒน์มากยิ่งขึ้นมีส่วนผลักดันให้ผู้ประกอบการธุุรกิจอุตสาหกรรม การผลิตปรับตัวอย่างรวดเร็วและมีความยืดหยุ่นของธุรกิจมากขึ้นเพื่อตอบรับกับตลาดที่เปลี่ยนไป มีการลงทุนด้านไอที เพื่อสนับสนุนการมีนวัตกรรมใหม่ๆ หรือการสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นในองค์กร และ ความยั่งยืนของธุรกิจ
นอกจากนี้ในรายงานจะได้สรุปผลการวิจัยที่สำคัญอาทิ
การใช้จ่ายด้านไอทีของธุรกิจการลิตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะยังคงมีอัตราการเติบโตในระดับที่น่าพอใจใน อีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต อย่างอุตสาหกรรมการประกอบรถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง และอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่บรรจุเสร็จ จะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมชั้นนำที่มีสัดส่วนการใช้ จ่ายสูงที่สุด
นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีสัดส่วนการใช้จ่ายด้านไอทีของภาคธุรกิจการผลิตสูงที่สุดในภูมิภาณ ปี พ.ศ. 2551 ประเทศอินเดียจะเริ่มแซงหน้าประเทศเกาหลี และ เป็นประเทศที่มีสัดส่วนของการใช้จ่าย ด้านไอทีของภาคธุรกิจการผลิตสูงเป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
คล้ายกันกับปี พ.ศ. 2550 การใช้จ่ายด้านฮาร์ดแวร์ยังคงมีสัดส่วนสูงที่สุดสำหรับงบประมาณการใช้จ่ายด้าน ไอทีของภาคธุรกิจการผลิตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนี้ ในขณะที่ การใช้จ่ายด้านการบริการไอทีกำลังมีอัตรา การเติบโตในระดับสูงในอีก 5 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการใช้จ่ายด้านไอทีของภาคการผลิตที่กำลัง เข้าสู่ภาวะอิ่มตัวมาขึ้นสำหรับตลาดไอที
การวิเคราะห์ และ การคาดการณ์แนวโน้มตลาดนี้ที่ระบุในรายงานดัวกล่าวได้สะท้อนถึงภาวะที่เริ่มอิ่มตัวของภาคธุรกิจ การผลิตสำหรับตลาดไอที จากการที่ภาคธุรกิจการผลิตต้องประสบปัญหาภาวะการแข่งขัน ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ความไม่แน่นอนของสภาพธุรกิจ และ ความกดดันของภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น เป้าหมายการดำเนินธุรกิจจึงเริ่มที่จะ เปลี่ยนไป จากเดิมที่ให้สายการผลิตดำเนินงานอัตโนมัติ แต่จะเป็นการผลิตตอบสนองความต้องการลูกค้า หรือการผลิต จากนวัตกรรมใหม่ๆ มากขึ้น การลงทุนด้านไอทีเริ่มที่จะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจมากขึ้นเพื่อสนับสนุนการ เติบโตของธุรกิจให้ยั่งยืนมากกว่าที่จะแค่เพียงจัดซื้อและถูกมองว่าเป็นสิ่งสร้างค่าใช้จ่ายให้กับธุรกิจ กล่าวสรุปโดย นายเดบาชิ ทาราฟด้าร์
หากมองดูตลาดบริการด้านไอทีในประเทศไทยแล้ว ผู้ประกอบการธุรกิจการผลิตขนาดกลางและขนาดย่อมกำลังเริ่ม ที่จะให้ความสนใจและมองหาแอพพลิชั่นขนาดย่อมเข้ามาใช้งานในธุรกิจมากขึ้น ซึ่งการลดขนาดของแอพพลิเคชั่นให้ เล็กลงนั้นจะช่วยเปิดโอกาสในการดำเนินธุรกิจใหม่ๆ ให้กับผู้ผลิตซอฟท์แวร์ ผู้วางระบบ และ ผู้จัดหาโซลูชั่นด้านไอที ซึ่งมีความรู้และมีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดนี้ กล่าวโดย นายอรรถพล สาธิตคณิตกุล นักวิเคราะห์อาวุโสของ IDC ประเทศไทย
สอบถามข้อมูลหรือต้องการซื้อรายงานดังกล่าวข้างต้นกรุณาติดต่อ คุณภาวดี พงศ์สุพรรณ ที่หมายเลข 02-651-5585 ต่อ 111หรืออีเมลล์มาที่ phawadee@idc.com
เกี่ยวกับIDC
IDC เป็นบริษัทที่ปรึกษา และ วิจัยข้อมูลการตลาดชั้นนำระดับโลก ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ โทรคมนาคม และ คอนซูเมอร์เทคโนโลยี โดยนำเสนอข้อมูลจากการวิเคราะห์เจาะลึก แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ผู้บริหาร และ นักลงทุน ให้สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจจัดซื้อ เทคโนโลยีและกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ ปัจจุบัน IDC มี นักวิเคราะห์ กว่า 1,000 คน ใน 100 ประเทศ ทำหน้าที่นำเสนอข้อมูล และ ให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์ อย่างรอบด้านแก่ลูกค้า ในเรื่องเทคโนโลยี รวมถึงโอกาสทางธุรกิจและแนวโน้ม ของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และ ในแต่ละ ประเทศ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่สั่งสมมากว่า 44 ปี เพื่อช่วยให้ลูกค้า บรรลุทุกวัตถุประสงค์ ทางธุรกิจ IDC เป็นบริษัทในเครือของ IDG ซึ่งดำเนินธุรกิจสื่อสายเทคโนโลยี วิจัย และจัดงานสัมมนา ชั้นนำระดับโลก ค้นหา ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.idc.co.th
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
คุณศศิธร แซ่เอี้ยว
ที่หมายเลข 662-651-5585 ต่อ 113
Email: sasithorn@idc.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ