มูลนิธิซิตี้ และซิตี้ ประเทศไทย เปิดตัวโครงการตอบแทนสังคม (Corporate Social Responsibility Program--CSR)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 22, 2008 16:52 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ก.ค.--ธนาคารซิตี้แบงก์
มูลนิธิซิตี้ และซิตี้ ประเทศไทย เปิดตัวโครงการตอบแทนสังคม (Corporate Social Responsibility Program--CSR) “โครงการเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการเงินให้กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทย” โดยสถาบันคีนันแห่งเอเซียบริหารโครงการ
มูลนิธิซิตี้มอบเงินสนับสนุนเพื่อมุ่งเสริมสร้างความรู้และความเข้มแข็งทางการเงินแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยในโครงการ“เสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการเงินให้กลุ่มผู้ประกอบ การเอสเอ็มอีของไทย” โดมอบหมายให้สถาบันคีนันแห่งเอเซียซึ่งมีประสบการณ์ ในการให้ความรู้และ เป็นที่ปรึกษาด้านการดำเนินธุรกิจให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทยมากว่า 10 ปีทำหน้าที่ เป็นผู้บริหารโครงการ
ในฐานะสถาบันการเงินระดับโลก ซิตี้เล็งเห็นถึงบทบาทของผู้ประกอบการกลุ่มเอสเอ็มอีที่เป็น เสมือนแกนหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมถึงการเติบโตของภาคธุรกิจเอสเอ็มอียังมีส่วน สำคัญอย่างยิ่งในการสร้างงานและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ดังนั้นมูลนิธิซิตี้ร่วมกับธนาคารซิตี้แบงก์ ซึ่งเป็นธุรกิจของกลุ่มซิตี้ในประเทศไทยจึงริเริ่มจัดทำโครงการเสริมสร้างความรู้ด้านการเงินแก่ผู้ประกอบ การเอสเอ็มอีขึ้น
มิสเตอร์ปีเตอร์ เอเลียต ผู้จัดการใหญ่ธนาคารซิตี้แบงก์ กล่าวถึงโครงการนี้ว่า “ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีส่วนหนึ่งอาจได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวทั่วโลก จึงมี ความจำเป็นอันยิ่งยวดที่ผู้ประกอบการจะต้องเสริมศักยภาพ พัฒนาขีดความสามารถด้านการเงิน และความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันในตลาดโลก นอกจากนี้โครงการนี้ไม่เพียงจะป้อนองค์ความรู้ด้านวิชาการให้แก่ผู้ประกอบการ แต่ยังหวังผลให้เกิดการสร้างเครือข่าย ทางธุรกิจระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการที่เข้ารับการอบรมร่วมกัน พร้อมพบปะแลกเปลี่ยนมุมมองกับ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อันจะเป็นการปรับขยายวิสัยทัศน์ของผู้ประกอบการให้กว้างไกลยิ่งขึ้น
ดังนั้น ซิตี้ ประเทศไทยจึงยินดีที่ได้มีโอกาสจัดโครงการฝึกอบรมในครั้งนี้ โดยภายหลังการอบรมเราจะทำการ วัดผล และประเมินความสำเร็จของโครงการเพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดโครงการในปีต่อๆ ไป”
ในการดำเนินการโครงการนี้ สถาบันคีนันแห่งเอเซียได้ทำการพัฒนาหลักสูตรขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยดำเนินการประเมินความต้องการของผู้ประกอบการแล้วจึงออกแบบหลักสูตรให้สอดรับกับความต้อง การ จึงมีการจัดทำเป็นหลักสูตรอบรมเป็น 2 หลักสูตรตามพื้นฐานด้านการเงินและความต้องการของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี หลักสูตรที่ 1 สำหรับผู้บริหารกิจการเอสเอ็มอีที่ต้องการฟื้นฟูและปูพื้นฐานทางด้านการเงินอบรมในวันที่ 5 7 14 และ 19 สิงหาคม พ.ศ 2551 และ หลักสูตรที่ 2 สำหรับผู้บริหาร กิจการ เอสเอ็มอี ที่มีพื้นฐานทางด้านการเงินมาแล้วหรือผู้บริหารที่ต้องการพัฒนาความรู้ด้านการเงิน ในระดับมืออาชีพ อบรมในวันที่ 9, 11, 16 และ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 อบรมตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น. ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน กรุงเทพฯ
“จากการที่ทางมูลนิธิซิตี้และ ซิตี้ ประเทศไทย เล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ว่าจะมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจของประเทศ จึงได้สนับสนุนเงินช่วยเหลือ และมอบหมาย ให้ทางสถาบันฯเข้ามาเป็นผู้บริหารโครงการ ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ประกอบการที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการ อบรมเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการเงินนี้จำนวนไม่น้อยกว่า 80 ราย ด้านวิทยากร เราได้เรียนเชิญกูรู ด้านการเงินมาให้ความรู้ อาทิเช่น รศ.ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ คุณสถาพร โคธีรานุรักษ์ รศ.สริตา บุนนาค
ดร.สมจินต์ ศรไพศาล ผศ.ดร.นฤมล สอาดโฉม พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิจากซิตี้แบงก์ ประเทศไทย นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจะมีโอกาสในการร่วมแสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับวิทยากร ภาคผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ อาทิ คุณกรรณิการ์ ชินประสิทธิ์ชัย จากบริษัท แบล็ค แคนยอน (ประเทศไทย) คุณดุลย์วิทย์ เลาทองดี จากร้านอาหารอิตตาเลี่ยนสปิคคิโอ คุณเจริญ รุจิราโสภณ จาก บริษัท ส ขอนแก่น และ คุณสุนันทา เตียสุวรรณ์ จากบริษัท แพรนด้า จิวเวอรี่ ที่จะมาร่วมเล่า ประสบการณ์ โดยตรงในการบริหารการเงินให้ประสบความสำเร็จ ผมจึงอยากขอเชิญชวนให้ผู้ประกอบการ เอส เอ็ม อี ของไทยสมัครเข้าร่วมโครงการนี้ ซึ่งผมคิดว่าโครงการที่มีประโยชน์และมีความโดดเด่นเช่นนี้หามิได้ง่ายนัก” มิสเตอร์พอล วิเด็ล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สถาบันคีนันแห่งเอเซียกล่าว
ผลของการจัดอบรมในครั้งนี้ได้รับการคาดหมายว่าจะสามารถพัฒนาขีดความสามารถทาง ด้านการเงินให้แก่ผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน และนำไปสู่ผลกำไรในการดำเนินธุรกิจ เมื่อจบโครงการนี้
หากการประเมินผลเป็นไปตามความคาดหมาย มูลนิธิซิตี้ และซิตี้ ประเทศไทยยังมีแผนที่จะเสริมสร้าง ความแข็งแกร่งทางด้านการเงินให้แก่ประชาชนที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถทางด้านการเงินกลุ่มอื่นอีกต่อไป
ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไปสามารถดาวโหลดใบสมัคร หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.kiasia.org หรือสอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งได้ที่ โทร. 0 2229 3131 ต่อ 315, 305, 208 และ 301 ติดต่อคุณปาริชาติ
ซิตี้
ซิตี้ เป็นสถาบันการเงินชั้นนำของโลกที่ให้บริการแก่ลูกค้าถึง 200 ล้านรายในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมตั้งแต่ ลูกค้ารายย่อยทั่วไป ลูกค้าองค์กร ภาครัฐ และสถาบันต่าง ๆ โดยนำเสนอ ผลิตภัณฑ์ ทางการเงินและการบริการ หลากหลายประเภท อาทิ บุคคลธนกิจ การให้สินเชื่อและบัตรเครดิต สถาบันธนกิจ วาณิชธนกิจ นายหน้าค้าหลักทรัพย์ และการบริหารความมั่งคั่ง ธุรกิจหลักของซิตี้ ประกอบด้วย ซิตี้แบงก์, ซิตี้ไฟแนนเชียล, พรีมารีก้า, สมิธ -บาร์นีย์ บานาเม็กซ์และนิกโก้ ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถค้นหาได้ที่เว็บไซต์ www.citigroup.com หรือ www.citi.com
มูลนิธิซิตี้
มูลนิธิซิตี้มุ่งมั่นที่จะขยายโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ทั้งบุคคลและครอบครัวที่ด้อยโอกาสซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนต่างๆ ทั่วโลก โดยมูลนิธิซิตี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านต่างๆ ได้แก่ 1) Microfinance และ Microentrepreneurship (การเงิน ระดับ รากหญ้าและผู้ประกอบการระดับรากหญ้า) เพื่อเสริมสร้างให้บุคคลเหล่านั้น สามารถ ยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง
2) Small and Growing Businesses (ธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจที่กำลังเติบโต) อันจะนำไปสู่การสร้างงานและการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ 3) Education (การศึกษา) เพื่อเตรียมเยาวชนสำหรับ ความสำเร็จทั้งส่วนตนและในงานอาชีพ ในอนาคต 4) Financial Education (การให้ความรู้ทางการเงิน) เพื่อช่วยให้หบุคคลสามารถตัดสินใจทางการเงิน ได้อย่างเหมาะสม ด้วยความเข้าใจ และ 5) Environment (สิ่งแวดล้อม) โดยเน้นในการสนับสนุนองค์กรที่สร้างงานและ กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจในขณะที่ให้ความ สำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
โครงการให้ความรู้ทางการเงินของซิตี้ (Citi Financial Education Program)
ด้วยความเชื่อที่ว่าความรู้คือสินทรัพย์นับแสน โครงการให้ความรู้ทางการเงินของซิตี้จึงได้ริ่เริ่มขึ้นในระดับนานา ประเทศทั่วโลก เป็นความพยายามของซิตี้ที่ต้องการสรรค์สร้างแนวทางที่จะช่วยเหลือให้บุคคล ครอบครัวและชุมชนได้มีเครื่องมือที่จะใช้ในการตัดสินใจทางการเงินอย่างมีวิจารณญาณ โดยซิตี้กำหนดเงิน สนับสนุนจำนวนทั้งสิ้น 200 ล้านเหรียญสหรัฐภายในระยะเวลา 10 ปี เพื่อดำเนินการให้ความรู้ทางการเงินใน 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล ธุรกิจขนาดเล็กและสถาบันการศึกษาด้านการเงิน ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ ให้ความรู้ ทางการเงินของซิตี้ รวมถึงแนวทางการสนับสนุนของมูลนิธิซิตี้ ตลอดจนข้อมูลหลักสูตรความรู้ทางการเงิน ได้ที่ http://financialeduation.citigroup.com
สถาบันคีนันแห่งเอเซีย
การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือการสร้างสมดุลทั้งสามด้าน คือด้านความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ซึ่งมาพร้อมกับ การสร้างเสริมสังคมให้เข้มแข็ง และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความสมดุลทั้งสามนี้อาจหมายถึง การขยายตัวของเศรษฐกิจ อย่างช้าๆ ในระยะสั้น แต่นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคงในระยะยาว หลังจาก สถาบันฯ ได้ก่อตั้งในปี 2539 สถาบันคีนันฯ ได้ให้การช่วยเหลือ บริษัท หน่วยงานราชการ และสถาบันการศึกษาจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 และจากประสบการณ์ที่เรามี เรายังได้ให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านเข้าสู่ตลาดเศรษฐกิจ จุดุมุ่งหมายของสถาบัน คีนันฯ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน นั่นหมายถึงงานที่ครอบคลุมหลายกิจกรรม โดยใช้วิธีการที่ หลากหลายที่จะนำไปสู่ผลที่มีประสิทธิภาพ นั่นหมายถึงการที่สถาบันคีนันฯ ต้องทำงานร่วมกับหลายภาคส่วน ที่จะนำมา ซึ่งทักษะ ความรู้ แหล่งเงินทุนที่จะทำให้ประสบความสำเร็จท่านสามารถอ่านรายละเอียดข้อมูลของกิจกรรมต่างๆได้ที่ www.kiasia.org
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน
1: ต่อพันธุ์ ตู้จินดา 0 2232 2706
2: หัสญา หาสิตะพันธุ์
3: ณฐินี กุลพิจิตร 0 2232 2904
0 2229 5920

แท็ก เอสเอ็มอี  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ