เทคโนโลยี 3G คุณประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

ข่าวเทคโนโลยี Friday August 8, 2008 08:34 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ส.ค.--Farh Agency
มร.เทียน ทินท์ ฟาม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ควอลคอมม์
บริการโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมทุกแห่ง แต่ทว่าสำหรับประเทศเกิดใหม่ การให้บริการเหล่านี้สำหรับพื้นที่ในถิ่นทุรกันดารยังเป็นไปได้ยาก ดังนั้น รัฐบาล องค์กรสาธารณะและหน่วยงานเอกชนจึงได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาการสื่อสารในภูมิภาคเหล่านี้ รวมทั้งประเทศไทยด้วย
ระบบไร้สายครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวาง ด้วยต้นทุนการติดตั้งที่ต่ำ และสามารถใช้งานได้กับโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์มือถือ รวมถึงแอพพลิเคชั่นบนมือถือ จึงเป็นทางเลือกที่ยอดเยี่ยมในการเชื่อมต่อกับพื้นที่ห่างไกล ยิ่งไปกว่านั้น ระบบไร้สาย 3G กลายเป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในบริการรับส่งเสียงและข้อมูล เนื่องจากความคุ้มค่าในการลงทุน ความสามารถในการขยายการให้บริการแก่ฐานผู้ใช้บริการที่มีอัตราเติบโตสูง รวมทั้งการให้บริการเสริมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ตลาดในหลายๆประเทศทั่วโลกสามารถเพิ่มอัตราการเข้าถึงโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต ซึ่งช่วยกระตุ้นสภาพเศรษฐกิจ ทั้งนี้ จากการศึกษาให้กับ ITU โดย Telecom Management Group หรือ TMG ระบุว่า เมื่ออัตราการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์ รายได้ต่อหัวของประชากรจะเพิ่มขึ้น 4.7 เปอร์เซนต์และเมื่อการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์ รายได้ต่อหัวของประชากรก็จะเพิ่มขึ้น 10.5 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเทคโนโลยี 3G องค์กรต่างๆ ทั้งรายใหญ่และรายย่อยสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากความคล่องตัวในการทำงานได้ทุกแห่ง อัตราความเร็วที่เร็วขึ้นในการรับส่งข้อมูล การใช้งานที่ดีขึ้นยังส่งผลดีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอีกด้วย เนื่องจากมีจำนวนประชาชนมากขึ้นใช้ประโยชน์จากบริการข้อมูลแบบไร้สายและคุณประโยชน์ที่ล้ำหน้าอื่นๆ
เทคโนโลยี 3G ความสามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างดีเยี่ยมด้วยค่าบริการข้อมูลที่ต่ำที่สุด เมื่อความสามารถในการส่งข้อมูลเพิ่มขึ้น สถานีฐานเซลลูล่าร์ (BTS) แต่ละแห่งจึงรองรับการส่งข้อมูลในปริมาณมากขึ้น ในขณะที่เครือข่ายต้องการอุปกรณ์และสถานีรับส่งน้อยลง ดังนั้น จึงลดต้นทุนการดำเนินการและการลงทุนลงได้ เนื่องจากเกือบ 1 ใน 3 ของหมู่บ้านในประเทศไทยยังอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและเข้าถึงได้ยาก ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขาทำให้การขยายเครือข่ายเป็นไปได้ยาก ดังนั้นผู้ให้บริการเครือข่ายและผู้กำหนดกฎเกณฑ์ในการให้บริการจำเป็นต้องพิจารณาการใช้เทคโนโลยี 3Gในการเข้าถึงพื้นที่ทุรกันดาร
หลายคนอาจสงสัยว่าประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องพัฒนาจากเครือข่ายเซลลูล่าร์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นGSM (2G) หรือเทคโนโลยี GPRS 2.5 ไปสู่ 3G หรือไม่ เนื่องจากทุกวันนี้การใช้บริการส่วนใหญ่เป็นทางด้านเสียงและ SMS มีการกล่าวกันว่าการลงทุนในเทคโนโลยี 3G อาจจะได้รับผลประโยชน์ต่อการลงทุนไม่คุ้มค่า ซึ่งจริงๆ แล้ว เราสามารถเห็นการพัฒนาแอพพลิเคชั่นและอุปกรณ์ต่างๆ อาทิเช่น iPhone และ Asus Eee PC รวมทั้งอัตราการรับส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งหมดนี้จะเป็นกลไกขับเคลื่อนอัตราการใช้เทคโนโลยีไร้สายอย่างการใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน การใช้เครือข่าย GPRS ในการรับส่งข้อมูล การใช้งานที่มากขึ้นจะส่งผลให้ผู้ใช้รับภาระในเรื่องค่าบริการที่สูงขึ้นในที่สุด ซึ่งต่างจากเครือข่าย 3G บริการ GPRS ไม่ได้ใช้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี เหมือนกับ 3G ไม่ว่าจะเป็น WCDMA หรือ EV-DO ดังนั้น ราคาค่าบริการในการรับส่งข้อมูลต่อ 1 เมกะไบต์ด้วยการใช้เทคโนโลยี GPRS จะมีราคาสูงกว่าการใช้เทคโนโลยี 3G ถึง 5 เท่า ในที่สุดต้นทุนที่สูงขึ้นจึงตกเป็นภาระของผู้ใช้บริการ ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่เพื่อส่งเสริมการทำลานและกิจกรรมอื่นๆ
ตลาดในภูมิภาคเอเชียอื่นๆ ได้ตระหนักถึงประโยชน์ของการเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยี 3G อาทิเช่น Maxis ผู้ให้บริการเครือข่ายรายใหญ่ที่สุดในมาเลเซียได้เปิดให้บริการ WCDMA เมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 และ HSDPA เมื่อเดือนกันยายน 2549 ด้วยการใช้เครือข่ายเทคโนโลยี 3G ที่ล้ำหน้า ผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถให้บริการแอพพลิเคชั่นทางด้านข้อมูลได้มากขึ้น ซึ่งรวมถึงการดาวน์โหลดเพลงและวีดิโอได้ตามต้องการ นอกจากนี้ ผู้ให้บริการยังสามารถให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตไร้สายด้วยการใช้อุปกรณ์การ์ดข้อมูลบน PC และโมเด็ม USB การให้บริการดังกล่าวทำให้ Maxisสามารถเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการ 3G มากกว่า 300% คิดเป็น 1.3 ล้านรายในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ซึ่งที่น่าชื่นชมมากที่สุดคือ Maxis สามารถให้บริการ HSDPA สำหรับการเชื่อมต่อด้วยโทรศัพท์ระบบพื้นฐานและมือถือในพื้นที่ห่างไกลที่ยังขาดบริการ ADSL และบริการบรอดแบนด์มีสาย ด้วยการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี 3G ทำให้อัตราการเข้าถึงบรอดแบนด์ในมาเลเซียเติบโตอย่างมีศักยภาพสูงถึงประมาณ 15%
ปรากฏการณ์ดังกล่าวในมาเลเซียทำให้ได้สังเกตตลาดของประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเชีย ที่ทาง Wireless Intelligence ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ GSM Association ได้รายงานเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2551 แสดงให้เห็นว่าจำนวนการใช้งานบรอดแบนด์ไร้สาย HSPA ในอินโดนีเชีย มีการใช้งานถึงประมาณ315,000 รายซึ่งมีมากกว่าการใช้งานโทรศัพท์พื้นฐาน ซึ่งมีประมาณ 300,000 ราย ด้วยการเริ่มต้นให้บริการของ Excelcomindo และ MLW Telecom’s “HSPA ZONE” ทำให้การเข้าถึงบรอดแบนด์ไร้สายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น
ดังนั้น เห็นได้ชัดว่าประเทศไทย ที่ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่าย และผู้กำหนดกฎเกณฑ์การให้บริการมีความต้องการให้เครือข่ายมีความครอบคลุมทุกพื้นที่ ตลอดจนผู้ใช้งานที่กำลังรอบริการบอร์ดแบนด์อยู่อย่างมาก ด้วยบริการประสิทธิภาพสูงในราคาประหยัด บริการ 3G จะทำให้ผู้ใช้บริการมีความคล่องตัวสูง และรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังให้บริการได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งความรวดเร็วในการรับส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้นจะช่วยประหยัดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพ รวมทั้งราคาค่าบริการก็สามารถต่ำกว่าบริการเดิมในปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้น ความเร็วในการรับส่งข้อมูลและราคาที่ต่ำลงทำให้เกิดบริการข้อมูลใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อตลาดที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย บริการบางอย่างได้รวมถึงความสามารถในการดำเนินงานด้านการแพทย์ทางไกล การศึกษาทางไกล การทำธุรกรรมด้านการเงินการโฆษณาสินค้าและบริการ การสนับสนุน และเปิดเว็บไซต์ที่ให้ประชาชนในเมืองต่างๆ สามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารแหละเหตุการณ์ได้ทันท่วงที
การอนุญาตให้ประชาชนทั่วประเทศเข้าถึงบริการนี้ได้ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติต่อไปในอนาคต ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจะคุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ:
คุณวรพรรณ เอื้ออาภรณ์ (coco)
GM of Farh Agency
Tel: 0 2616 0991-2, Fax: 0 2616 0993,
MB: 08 9144 4014, 08 1376 5927,
email: voraparn@febi.co.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ