อินเทลเปิดตัวชิป SoC รุ่นแรกที่ใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มประสบการณ์อินเตอร์เน็ตผ่านทีวี

ข่าวเทคโนโลยี Friday August 22, 2008 08:09 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ส.ค.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
ประกาศความร่วมมือกับยาฮู!สร้างอินเตอร์เน็ตบนทีวี เผย แนวโน้มอุปกรณ์โมบายล์อินเทอร์เน็ตรุ่นใหม่ๆ และโอกาสที่มากมายไร้ขอบเขตของนักพัฒนาซอฟต์แวร์
ในงาน อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรัม (ไอดีเอฟ) อินเทล คอร์ปอเรชัน ได้เปิดตัวอินเทล มีเดีย โปรเซสเซอร์ CE 3100 (Intel Media Processor CE 3100) ซึ่งเป็นรุ่นแรกของโปรเซสเซอร์แบบ System on Chips (SoCs) ตระกูลใหม่ที่พัฒนาขึ้นตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานโดยรวมคุณสมบัติทั้งหมดไว้ในชิปเพียงตัวเดียวที่ผลิตขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีอินเทลเพื่อใช้กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
นอกจากนั้น ผู้บริหารของอินเทลยังพูดถึงความคืบหน้าของอุปกรณ์โมบายล์อินเทอร์เน็ต (Mobile Internet Devices - MID) และ อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ รวมถึงการเปิดตัว แบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่อินเทลได้ร่วมงานกับบริษัท DreamWorks Animation SKG Inc เนื่องจากมีแนวโน้มของการสร้างภาพยนตร์สามมิติกันมากขึ้น รวมทั้งเปิดตัวโครงการหลายโครงการที่ช่วยให้การออกแบบซอฟต์แวร์เพื่อใช้กับโปรเซสเซอร์มัลติคอร์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม
โปรเซสเซอร์ CE 3100 ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ อาทิ เครื่องเล่น ออพติคอลมีเดียเพลเยอร์ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อได้ อุปกรณ์แปลงสัญญาณเคเบิลรุ่นใหม่ และทีวีดิจิตอล เป็นต้น มีเดียโปรเซสเซอร์รุ่นนี้ (ชื่อรหัสเดิมคือ Canmore) เป็นรุ่นที่รวมคุณสมบัติชั้นยอดมากมายสำหรับการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิเช่น วิดีโอความละเอียดสูง ระบบเสียงคุณภาพระดับโฮมเธียเตอร์ และระบบกราฟิกสามมิติที่ทันสมัยมากขึ้น เข้ากับประสิทธิภาพ ความคล่องตัวในการใช้งาน และความสามารถในการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีของอินเทล โดยอินเทลจะเริ่มจัดส่งผลิตภัณฑ์ใหม่รุ่นนี้ในราวเดือนหน้า (กันยายน)
อินเทลได้ทำงานร่วมกับลูกค้าหลายราย เพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิดสำหรับตลาดใหม่ๆ ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น อาทิเช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิก อุปกรณ์ MID เน็ตบุ๊ก และคอมพิวเตอร์แบบฝังตัว เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดล้วนผลิตขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีอินเทลเพื่อช่วยให้สามารถเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้น
นายอีริก คิม รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มดิจิตอลโฮม ของอินเทล กล่าวว่า "ผู้บริโภคต้องการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและเพลิดเพลินกับกิจกรรมเพื่อความบันเทิงได้ทุกที่และตลอดเวลา ไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์ใดก็ตาม อินเทอร์เน็ตยังคงมีผลต่อการดำเนินชีวิตของเราต่อไปในรูปแบบใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกำลังขยายขอบเขตการทำงานไปยังทีวีอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากการที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รุ่นใหม่ๆ สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้นั่นเอง"
นายคิมกล่าวต่อไปว่า "หลังจากที่เราได้พัฒนาชิป SoC ที่ใช้สถาปัตยกรรมของอินเทลรุ่นแรกที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความสามารถในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เท่ากับว่าเราได้วางรากฐานด้านเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้งานได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมนำไปต่อยอดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว รากฐานด้านเทคโนโลยีดังกล่าวยังช่วยให้อุตสาหกรรมสินค้าไฮเทคสามารถพัฒนาอุปกรณ์ของตนออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น กระตุ้นให้เกิดการออกแบบใหม่ๆ และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดบริการใหม่ๆ ตามมา เช่น การเชื่อมทีวีเข้ากับอินเทอร์เน็ต เป็นต้น”
"ฉันรักทีวี" อินเทลนำพลังของชิปอินเทลไปสู่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
อินเทล มีเดีย โปรเซสเซอร์ CE 3100 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งในตระกูล SoC คือ โซลูชั่นที่ครบชุดที่จับคู่การทำงานของเทคโนโลยีแกนประมวลผลในโปรเซสเซอร์ของอินเทลที่มีประสิทธิภาพสูง เข้ากับฮาร์ดแวร์ประมวลผลและเทคโนโลยีการถอดรหัสวิดีโอแบบมัลติสตรีมชั้นยอด นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วย เมมโมรีคอนโทรลเลอร์ 800 MHz DDR2 แบบ 3 แชนแนล ชิป DSP ระบบเสียงคู่มัลติแชนแนลในตัว เอ็นจิ้นกราฟิกสามมิติประสิทธิภาพสูงเพื่อรองรับการทำงานของ UIs และ EPGs รุ่นใหม่ และยังสนับสนุนการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ต่อพ่วงหลายชนิดได้อีกด้วย เช่น อุปกรณ์ USB 2.0 และ PCI Express
นอกจากนั้น อินเทล มีเดีย โปรเซสเซอร์ CE 3100 ยังมี อินเทล มีเดีย เพลย์ เทคโนโลยี (Intel? Media Play Technology) ซึ่งมีฮาร์ดแวร์ถอดรหัสสัญญาณทีวีสำหรับการรับชมทีวีและออพติคอลมีเดียเพลย์แบ็ค ด้วยการถอดรัหสโดยใช้ซอฟต์แวร์สำหรับคอนเทนท์บนอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้บริโภคชมการถ่ายทอดทีวี หรือ คอนเทนท์บนออพติคอลมีเดียเพลเยอร์ สัญญาณวิดีโอจะถูกถอดรหัสเป็นฟอร์แมทมาตรฐาน อาทิเช่น MPEG-2, H.264 หรือ VC-1 เป็นต้น ซอฟต์แวร์ของเทคโนโลยี อินเทล มีเดีย เพลย์ จะโอนสัญญาณวิดีโอไปยังตัวถอดรหัสฮาร์ดแวร์ที่อยู่ในชิป ถ้าหากพบคอนเทนท์จากอินเทอร์เน็ต ซอฟต์แวร์จะโอนวิดีโอและเสียงที่อยู่ในฟอร์แมทที่เหมาะสมไปยังซอฟต์แวร์ codec ที่ทำงานอยู่ในแกนประมวลผลบนโปรเซสเซอร์ของอินเทล การที่อินเทอร์เน็ตมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ความสามารถในการถอดรหัสสัญญาณวิดีโอและเสียงหลายชนิดจะช่วยให้อุตสาหกรรมมีความคล่องตัวมากขึ้นที่และปรับปรุงมาตรฐานและเทคโนโลยีต่างๆ ให้ดีขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคก็จะได้ประสิทธิภาพในการรับชมที่ดีกว่าเดิมตามไปด้วย
อินเทล มีเดีย โปรเซสเซอร์ CE 3100 ได้เตรียมจัดส่งไปยังผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หลายราย เช่น บริษัท ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ จำกัด* และ โตชิบา* เป็นต้น ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.intel.com/go/celink
นอกจากนี้ อินเทลและยาฮู อิงค์ ยังได้ร่วมกันเปิดตัวแอพพลิเคชันเฟรมเวิร์กเพื่อใช้กับโทรทัศน์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สถาปัตยกรรมอินเทล ซึ่งผสานรูปแบบที่เปิดกว้าง มีลักษณะเฉพาะตัว และมีการรวมตัวเป็นชุมชนของอินเทอร์เน็ต เข้ากับจุดแข็งของทีวีในด้านรูปแบบที่เรียบง่ายและความบันเทิงเอาไว้เหมือนเดิม แอพพลิเคชันเฟรมเวิร์กนี้มีชื่อว่า Widget Channel ถือเป็นวิธีใหม่ในการดูข้อมูลจากเว็บไปพร้อมๆ กับการรับชมรายการทีวี Widget Channel มีYahoo! Widget Engine เป็นตัวขับเคลื่อน โดยใช้คุณสมบัติและพลังสมรรถนะที่มีประสิทธิภาพสูงจาก อินเทล มีเดีย โปรเซสเซอร์ CE 3100 (ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมจากข่าวประชาสัมพันธ์ของ Widget Channel และ Yahoo! Widget Engine ได้ที่ www.intel.com/pressroom/idf หรือ connectedtv.yahoo.com/newsroom)
นอกจากนี้ อินเทลยังได้ประกาศการก่อตั้ง The Intel? Consumer Electronics Network ซึ่งเป็นชุมชนของสมาชิกที่เป็นทั้งผู้ค้าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และผู้ให้บริการ ที่ต้องการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้ SoCs ของอินเทลที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อทำให้อุปกรณ์ชนิดนี้ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น เครือข่ายดังกล่าวประกอบด้วยบริษัทต่างๆ ได้แก่ Alticast Inc*, Futarque A/S*, Giga-Byte Technology Co., Ltd*, Tatung Co., Unihan Corporation, Videon Central Inc* และ VividLogic Inc* เป็นต้น โดยบริษัทที่เป็นสมาชิกจะสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์ม Intel CEรวมทั้งจะทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาและทำตลาดแพลตฟอร์มอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประสิทธิภาพสูง เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกเพิ่มขึ้น
อุปกรณ์โมบายล์อินเทอร์เน็ต "แพลตฟอร์สำหรับนวัตกรรม"
นายอนันด์ จันทราเซเคอร์ รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มอัลตร้า โมบิลิตี้ ของอินเทล พูดถึงอุปกรณ์ MID ที่ใช้อินเทล? อะตอม? โปรเซสเซอร์ ตระกูล Z5xx ว่า จะกลายเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้กับชุมชนผู้ใช้อุปกรณ์โมบายล์ โดยเขาได้กล่าวเสริมว่า การปฏิวัติไปสู่ยุคอินเทอร์เน็ตจะเฟื่องฟูมากขึ้น เมื่อรวมเข้ากับการเติบโตอย่างรวดเร็วของนิวมีเดียต่างๆ เช่น social networking การสร้างคอนเทนท์โดยผู้ใช้งาน และบริการต่างๆ ที่มีให้ ณ จุดที่ผู้บริโภคต้องการ แนวโน้มต่างๆ เหล่านี้ถือว่ามีความสำคัญต่อผู้ใช้อุปกรณ์โมบายล์ที่ต้องการอุปกรณ์ที่เหมาะสมเพื่อให้ตนได้มีโอกาสสัมผัสกับประสบการณ์เหล่านั้นได้ตามต้องการ
หลังจากการเปิดตัว อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ สำหรับอุปกรณ์ MID เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา จันทราเซเคอร์ ยืนยันว่าตลาดมีความต้องการมากขึ้นสำหรับเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูง เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ใช้งานซอฟต์แวร์ต่างๆ ได้เต็มที่ และเชื่อมต่อระบบบอร์ดแบนด์ไร้สายได้ เพื่อคิดค้นนวัตกรรมอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีขนาดกระทัดรัดพกพาได้สะดวก ในงานดังกล่าว เขาได้นำอุปกรณ์ MID ทุกรูปแบบที่เตรีมออกสู่ตลาดมาแสดงให้ผู้ร่วมงานได้ชม โดยอุปกรณ์เหล่านี้มุ่งเจาะกลุ่มผู้ใช้เป้าหมายทุกประเภท ท้ายสุดเขาได้กล่าวต้อนรับผู้บริหารของบริษัท Clarion* และ Panasonic* ที่มาเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของตนในตลาดอเมริกาด้วย
นายจันทราเซเคอร์ ยังได้สาธิตการแสดงผลวิดีโอความละเอียดสูงระดับ 1080p เต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกในอุปกรณ์มือถือรุ่น OQO* MID และอุปกรณ์ MID ของบริษัท Fujitsu* และ Lenovo*
อีกด้วย
อุปกรณ์ MID ชนิดต่างๆ ซึ่งนำมาแสดงในงานไอดีเอฟครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนนักพัฒนาซอฟต์แวร์จำนวนมากที่สามารถนำมาใช้งานในระบบปฏิบัติการ Moblin ได้ บริษัทซอฟต์แวร์มากกว่าสิบรายที่ได้มาประกาศแผนงานของตนเองในงานนี้ ได้แก่ GyPSii* ที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับ social networking บริษัท Fuel Games* ที่จะพัฒนาเกมออนไลน์ บริษัท Move Networks* ที่จะพัฒนารายการทีวีผ่านอินเทอร์เน็ต และบริษัท Neusoft* ที่จะพัฒนา UI และแอพพลิเคชันต่างๆ โดยบริษัทเหล่านี้ล้วนใช้โอเอส Moblin ในการพัฒนาแอพพลิเคชันของตน
นอกจากนั้น นายจันทราเซเคอร์ ยังยืนยันว่าอินเทลจะยังคงพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น แพลตฟอร์มรุ่นถัดไปที่มีชื่อหรัสว่า Moorestown ของอินเทล ซึ่งคาดว่าจะพัฒนาเสร็จตามกำหนดในช่วงปี พ.ศ. 2552 - 2553 โดยเขากล่าวว่าชิปรุ่นนี้จะเป็นชิปรุ่นแรกที่ช่วยทำให้อุปกรณ์ MID มีระบบสื่อสารข้อมูลและเสียงในตัวด้วย
การพัฒนาสำหรับระบบประมวลผลในอนาคต
นางเรเน เจมส์ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มซอฟต์แวร์และโซลูชัน ของอินเทล กล่าวว่า การพัฒนาซอฟต์แวร์มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ และประโยชน์ต่างๆ ของอินเทอร์เน็ตมาสู่ไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิตของคนทั่วไป ประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์และการก้าวไปสู่ยุคของมัลติคอร์โปรเซสเซอร์ของอินเทล เมื่อผสานกับการใช้ซอฟต์แวร์มัลติ-เธรด จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในทุกมิติของระบบประมวลผลแบบเสมือนจริง เพื่อช่วยให้เรามีระบบแสดงผลที่สมบูรณ์แบบและสมจริงมากขึ้น
นางเจมส์ และ นายเจฟฟรี คาทเซนเบิร์ก ซีอีโอของบริษัท Dream Works Animation* ได้ร่วมกันเปิดตัวแบรนด์ใหม่ คือ InTtru? 3D ซึ่งเป็นตัวแทนของการสร้างภาพยนตร์ยุคใหม่ และประสบการณ์ในการชมภาพยนตร์สามมิติที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น InTtru 3D เป็นตัวแทนของภาพสามมิติที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ได้อย่างน่าทึ่ง ซึ่งเป็นการผสานจุดแข็งของเทคโนโลยีจากอินเทลและผลงานการสร้างสรรค์ของ DreamWorks อินเทลและ DreamWorks จะนำโลโก้ใหม่นี้ไปใช้ในการโปรโมตภาพยนตร์สามมิติทุกเรื่องของ DreamWorks โดยเริ่มจาก “Monsters vs. Aliens”
นอกจากนี้ อินเทลยังได้ประกาศโครงการใหม่สำหรับนักพัฒนาระบบประมวลผลแบบเสมือนจริง โดยใช้ชื่อว่า Visual Adrenaline โครงการนี้ได้จัดสรรทรัพยากรเพื่อช่วยนักพัฒนา ผู้พิมพ์ ศิลปิน แอนิเมเตอร์ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างและใช้เกมและสื่อข้อมูลดิจิตอลต่างๆโดยเฉพาะ พวกเขาสามารถนำเอาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีต่างๆ ของอินเทลไปใช้สร้างระบบแสดงผลชั้นยอดสำหรับใช้งานในอนาคตได้ ผู้สนใจที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Visual Adrenaline สามารถดูได้ที่ www.intel.com/software/visualadrenaline
อินเทลยังได้มีการเปิดตัวเครื่องมือเขียนโปรแกรมคู่ขนานรุ่นใหม่ เพื่อเพิ่มทางเลือกใหม่สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับทำงานกับโปรเซสเซอร์แบบมัลติคอร์ สำหรับแอพพลิเคชันที่ใช้งานกับเครื่องลูกข่ายที่เป็นที่นิยมทั่วไปอีกด้วย เครื่องมือดังกล่าว ที่ชื่อ Intel? Parallel Studio ประกอบด้วยคุณสมบัติต่างๆ ที่ช่วยในการออกแบบ เขียนโค้ด ดีบั๊ก และปรับแต่งแอพพลิเคชันให้ใช้ประโยชน์จากโปรเซสเซอร์แบบมัลติคอร์ได้อย่างเต็มที่ผ่านทางการเขียนโปรแกรมแบบคู่ขนาน Intel Parallel Studio จะช่วยให้การพัฒนาแอพพลิเคชันแบบคู่ขนานทำได้ง่ายขึ้นสำหรับนักพัฒนาที่ใช้ Microsoft Visual Studio อยู่ ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.intel.com/go/parallel
เกี่ยวกับอินเทล
อินเทล (NASDAQ:INTC) เป็นผู้นำระดับโลกในด้านนวัตกรรมซิลิกอน สร้างสรรค์เทคโนโลยี สินค้า รวมทั้งการริเริ่มต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการทำงานของผู้คนอย่างต่อเนื่อง ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทลได้ที่ www.intel.com/pressroom และ blogs.intel.com
หมายเหตุ: สื่อมวลชนสามารถดาวน์โหลดรูป วิดีโอ และค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.intel.com/pressroom/kits/events/idffall_2008/index.htm
Intel, Intel Atom, และ Intel logo เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ อินเทล คอร์ปอเรชั่น หรือสำนักงานสาขาในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ขอสงวนสิทธิ์
* ชื่อและยี่ห้ออื่นอาจถูกอ้างอิงถึงโดยถือเป็นทรัพย์สินของชื่อยี่ห้อนั้นๆ
Intel Microelectronics (Thailand) Ltd.
87 M. Thai Tower, 9th Floor
All Seasons Place, Wireless Road, Lumpini Tel: (662) 648-6000
Patumwan, Bangkok 10330 Fax: (662) 654-0666
Thailand
ติดต่อ:
คุณนฑาห์ บุญประสิทธิ์ คุณอรวรรณ ชื่นวิรัชสกุล
บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
โทรศัพท์: (66 2) 648-6000 โทรศัพท์: (66 2) 627-3501
e-Mail: natha.boonprasit@intel.com e-Mail: orawan@carlbyoir.com.hk

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ