กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิคเพิ่มสิทธิประโยชน์จูงใจในการวิจัย และพัฒนา เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

ข่าวทั่วไป Friday August 29, 2008 14:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 ส.ค.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์
เคพีเอ็มจี ประเทศไทย ได้มีการนำที่ปรึกษาด้านการวิจัย และพัฒนา ของ เคพีเอ็มจี จากทั่วภูมิภาคเอเชีย — แปซิฟิค (ASPAC) มานำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และเสริมสร้างกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าของ เคพีเอ็มจีได้รับประโยชน์สูงสุดจากโอกาสอันดีนี้
จากการที่รัฐบาลต่างๆ ในภูมิภาคดังกล่าว ได้ตระหนักถึงประโยชน์ในระยะยาวในการดึงดูดความสนใจให้มีการลงทุนในด้านการวิจัย และพัฒนา ทำให้การแข่งขันระหว่างประเทศร้อนแรงมากยิ่งขึ้น โดยมีการให้สิทธิประโยชน์จูงใจ และผลประโยชน์ต่างๆ มากมายแก่บริษัททั้งหลาย
ด้วยเหตุดังกล่าว เคพีเอ็มจี จึงได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีของบริษัทฯ จากทั่วภูมิภาคเอเชีย — แปซิฟิค (ASPAC) มาเพื่อเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อเรื่อง “สิทธิประโยชน์จูงใจ และการให้บริการต่างๆ ในด้านการวิจัย และพัฒนา ที่จะเพิ่มมูลค่าในภูมิภาคเอเชีย — แปซิฟิค” โดยได้จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นเวลา 3 วัน โดยผู้เข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าวได้ร่วมกันอภิปรายถึงเรื่องสิทธิประโยชน์จูงใจ ที่มีเฉพาะภายในประเทศของตน รวมทั้งการประยุกต์ใช้ในเรื่องดังกล่าว สำหรับบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในด้านการวิจัย และพัฒนา
นายเดวิด เกลบ์ หุ้นส่วนกรรมการ ด้านการวิจัย และพัฒนา ในภูมิภาคเอเชีย — แปซิฟิค ของ เคพีเอ็มจี ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นผู้นำในการสัมมนาได้แสดงความคิดเห็นว่า “การเคลื่อนไหวของรัฐบาลต่างๆ ทั่วภูมิภาคเอเชีย — แปซิฟิค เป็นไปอย่างชัดเจน ในการที่จะเสนอสิทธิประโยชน์จูงใจให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะกระตุ้น และดึงดูดความสนใจให้เกิดการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา โดยส่วนมากแล้ว ประเภทของสิทธิประโยชน์จะอยู่ในรูปแบบของการลดหย่อนทางภาษี ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีระดับของสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับแตกต่างกันออกไป”
แต่เดิมนั้น มีความเชื่อกันว่า กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการวิจัย และพัฒนาจะเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เฉพาะกับอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง หรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเภสัชกรรมเท่านั้น อย่างไรก็ดี ความเชื่อดังกล่าวได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีหลายประเทศ และหลายภาคส่วนของธุรกิจ ที่ได้เริ่มตระหนักถึงผลประโยชน์ต่างๆ ในระยะยาวในการลงทุนด้านการวิจัย และพัฒนาเพิ่มมากขึ้น
นายเดวิด เกลบ์ กล่าวเสริมว่า “มีปัจจัยที่สำคัญอีกหลายประการ ซึ่งผู้นำทางธุรกิจระหว่างประเทศกำลังหาคำตอบ เมื่อต้องพิจารณาว่า จะตั้งฐานการลงทุนทางด้านการวิจัย และพัฒนาที่ประเทศใด นอกจากเรื่องสิทธิประโยชน์ต่างๆ ทางด้านการเงิน ที่โดดเด่นแล้ว บรรดาบริษัทต่างๆ ก็กำลังให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นในเรื่องนโยบาย, ความสอดคล้องกัน และเสถียรภาพของรัฐบาล ควบคู่ไปพร้อมกันกับเรื่องของการเข้าถึงแรงงานที่มีฝีมือ และค่าบริหารจัดการที่มีต้นทุนต่ำ”
“ก่อนที่บริษัทเหล่านี้จะตัดสินใจลงทุนในด้านการวิจัย และพัฒนาในประเทศใดประเทศหนึ่ง เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง พวกเขาจะต้องมั่นใจได้ว่า เงื่อนไขต่างๆ ที่ใช้ในการตัดสินใจทำการลงทุนไปนั้นจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงในอีกหลายปีต่อไปข้างหน้า เคพีเอ็มจี มีความเข้าใจในเรื่องกฎหมาย และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ทางด้านการวิจัย และพัฒนา ของทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย — แปซิฟิค นี้เป็นอย่างดี ซึ่งจะสามารถช่วยเพิ่มผลประโยชน์ให้แก่บริษัทได้มากขึ้น ด้วยการเสนอแนะกลยุทธ์เป็นการเฉพาะให้สอดคล้องกับความต้องการโดยอาศัยเครือข่ายของ เคพีเอ็มจี” นาย เดวิด เกลบ์ กล่าว
ในหลายๆ ประเทศ การปฏิบัติตามนโยบายในการสร้างโอกาสต่างๆ ในการลงทุนในด้านการวิจัย และพัฒนา ก่อให้เกิดการการพัฒนา ทั้งทางตรง และทางอ้อมต่อประเทศนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศอินเดีย การดึงดูดความสนใจต่ออุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เห็นได้ว่า ภาคส่วนนี้ส่งผลต่อการเติบโต และความเจริญรุ่งเรืองของประเทศนี้อย่างมาก
ในส่วนของประเทศไทยนั้น กรมสรรพากร และคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ก็มีการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ในด้านการวิจัย และพัฒนา อยู่มากเช่นกัน ซึ่งในจำนวนนั้น ก็มีอยู่หลายประการ ที่เป็นสิทธิประโยชน์ และผลประโยชน์ต่างๆ ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจได้มากเช่นเดียวกับที่อื่นๆ ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิค
ตัวอย่างของผลประโยชน์ต่างๆ ที่ให้แก่บรรดาบริษัท ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดและเงื่อนไข อาทิเช่น การยกเว้นภาษีของกำไรสุทธิ จากกิจกรรมต่างๆ ทางด้านการวิจัย และพัฒนา, การยกเว้นอากรขาเข้า, การหักค่าเสื่อมราคาแบบอัตราเร่งของเครื่องจักรที่นำเข้าสำหรับการวิจัยและพัฒนา และการหักค่าใช้จ่ายสำหรับการวิจัย และการพัฒนา ได้เป็นสองเท่า เป็นต้น
นายวิรัตน์ ศิริขจรกิจ หุ้นส่วนกรรมการ ของ บริษัท สำนักภาษี เคพีเอ็มจี ภูมิไชย จำกัด ได้ให้ทัศนะว่า “ประเทศไทยได้ให้สิทธิประโยชน์ และผลประโยชน์ต่างๆ สำหรับการลงทุนด้านการวิจัย และพัฒนาไว้แล้ว อย่างไรก็ดี ยังมีอีกหลายบริษัท ทั้งในประเทศไทย และทั่วภูมิภาคเอเชีย — แปซิฟิค ที่มิได้ใช้สิทธิประโยชน์จูงใจที่มีให้ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด จากแผนการการลงทุนทางด้านการวิจัย และพัฒนา บริษัทเหล่านี้จึงควรทำความเข้าใจว่า จะใช้สิทธิประโยชน์จูงใจในแต่ละประเทศดังกล่าวกับธุรกิจของบริษัทได้อย่างไร เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ และนี่ก็คือสิ่งที่ เคพีเอ็มจี สามารถเข้ามาให้ความช่วยเหลือได้”
นายวิรัตน์ ศิริขจรกิจ กล่าวเสริมว่า “เคพีเอ็มจี มีความเข้าใจในเชิงลึกในเรื่องสิทธิประโยชน์ที่มี และกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ทั้งในประเทศไทย และทั่วภูมิภาคเอเชีย — แปซิฟิค จึงสามารถให้ข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง แก่ลูกค้า และเครือข่ายของเคพีเอ็มจี สามารถให้คำปรึกษาที่ทันการ ท่ามกลางสภาพการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
นอกจากการปฏิบัติงานร่วมกับบรรดาบริษัทต่างๆ เพื่อให้การลงทุนด้านการวิจัย และพัฒนาได้รับประโยชน์สูงสุดแล้ว ที่ปรึกษาด้านภาษีของบริษัทฯ สามารถประสานกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ควบคู่ไปกับบริการด้านอื่นๆ ของบริษัทฯ ได้ด้วยเช่นกัน เช่น การกำหนดราคาโอน, ภาษีทรัพย์สินทางปัญญา, การคำนวณค่าใช้จ่ายสุทธิในการวิจัย และพัฒนา, การเปรียบเทียบผลประโยชน์ของภาษีในแต่ละประเทศ และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อให้เป็นการนำเสนอที่เป็นการเฉพาะสำหรับลูกค้าแต่ละราย”
ภาพประกอบ:
นายเดวิด เกลบ์ (ซ้าย) หุ้นส่วนกรรมการ ด้านการวิจัย และพัฒนา ในภูมิภาคเอเชีย — แปซิฟิค ของ เคพีเอ็มจี ประเทศออสเตรเลีย
นายวิรัตน์ ศิริขจรกิจ (ขวา) หุ้นส่วนกรรมการ ของ บริษัท สำนักภาษี เคพีเอ็มจี ภูมิไชย จำกัด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์
วรางคณา พวงศิริ
Account Manager
โทรศัพท์: 0-2653-2717-9 โทรสาร: 0-2653-2720
เกี่ยวกับ เคพีเอ็มจี
เคพีเอ็มจี เป็นเครือข่ายระดับโลก ที่ให้บริการในด้านการสอบบัญชี, การภาษี และการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ บรรดาบริษัทที่เป็นสมาชิกอิสระของเครือข่าย เคพีเอ็มจี เป็นบริษัทซึ่งอยู่ในเครือของบริษัท เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เคพีเอ็มจี แต่ละบริษัท เป็นองค์กรที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจนทางด้านกฎหมายตามที่แต่ละบริษัทเป็น
เกี่ยวกับ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย
เคพีเอ็มจี ในประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายระดับโลก ที่ให้บริการในด้านการสอบบัญชี, การภาษี และการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ บริษัทที่เป็นสมาชิกอิสระของเครือข่าย เคพีเอ็มจี ดำเนินธุรกิจอยู่ใน 145 ประเทศ และมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพต่างๆ มากกว่า 123,000 คน ทั่วโลก

แท็ก เอเชีย   Spa  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ