ประเด็นชี้แจงกรณีการแก้ไขสัญญาโครงการเจาะตลาดเป้าหมาย

ข่าวทั่วไป Thursday June 22, 2006 15:47 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 มิ.ย.--เจเอสแอลความเป็นมา โครงการเจาะตลาดเป้าหมาย (Bangkok Fashion City Roadshow 2005/6) คือ หนึ่งในโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น ดำเนินกิจกรรมโดยนำผู้ประกอบการธุรกิจแฟชั่นไทย 3 อุตสาหกรรมคือ อุตสาหกรรมเครื่องหนัง อุตสาหกรรมเครื่องนุ่มห่ม และอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไปจัดกิจกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอุปสรรคในการทำตลาดสินค้าของ 3 ภาคอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย รวมถึงการสร้างช่องทางการตลาดใหม่ๆให้กับสินค้าแฟชั่นไทยในระยะยาว โดยมีเป้าหมายจัดกิจกรรมใน 8 ประเทศ 4 ภูมิภาคคือ สวิตเซอร์แลนด์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ฝรั่งเศส อิตาลี ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอเมริกาและเขตปกครองพิเศษฮ่องกงกิจกรรมที่จัดขึ้นภายใต้โครงการเจาะตลาดเป้าหมาย มี 3 รูปแบบ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมในแต่ละประเทศ คือ - การจัดแฟชั่นโชว์อิสระ (Independent Show) - การร่วมงานแสดงสินค้าระดับโลก (Trade Show) - การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าแฟชั่นไทยในห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์การค้าชั้นนำในประเทศเป้าหมาย (In — Store Promotion)กิจกรรมของโครงการเจาะตลาดเป้าหมายที่ดำเนินการไปแล้วโครงการเจาะตลาดเป้าหมายได้ดำเนินกิจกรรมไปแล้วใน 5 ประเทศ รวม 8 กิจกรรมคือ Trade Show : BaselWorld ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้านาฬิกาและอัญมณีระดับโลก ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม —7, เมษายน 2548 - Independent Show ณ มหาศาลาประชาชน (Great Hall of the People) กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2548 - In-Store Promotion ณ ห้าง Oriental Plaza กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 8 — 12 กรกฎาคม 2548 - การจัดกิจกรรม Independent Show ณ Palais Brongniart กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสวันที่ 2 กันยายน 2548 Trade Show : Pr?t ? Porter ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในวันที่ 2-5 กันยายน 2548 - Mipel ครั้งที่ 89 ซึ่งเป็น Trade Show เครื่องหนังระดับโลก ณ เมืองมิลาน อิตาลี ระหว่างวันที่ 16 — 19 มีนาคม 2549 - Mercedes Australian Fashion Week Spring/Summer 06-07 ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 26 — 30 เมษายน 2549 - In-Store Promotion ในรูปแบบ Retail Shop ณ Oxford Street นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 28 เมษายน — 2 พฤษภาคม 2549และยังได้จัด Exhibition Showcase ในห้างสรรพสินค้า Westfield Mall , Bondi Junction ในระหว่างวันที่ 1-5 พฤษภาคม 2549 อีกด้วย ยังคงเหลือกิจกรรมที่ต้องดำเนินการอีก 3 ประเทศคือ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ , นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และเขตปกครองพิเศษฮ่องกงสัญญาเดิม JSL ต้องดำเนินกิจกรรมในอีก 3 ประเทศ คือ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ , นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ในรูปแบบIn-Store Promotion ภายใต้งบประมาณ 38 ล้านบาทสิ่งที่ขอแก้ไข 1. ดำเนินกิจกรรมใน 3 ประเทศเมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ , นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ภายใต้งบประมาณ 38ล้านบาทเช่นเดิม โดยเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินกิจกรรมจาก In-Store Promotion เป็น Trade Fair 2. ขยายเวลาในสัญญาให้สอดคล้องกับกิจกรรม Trade Fair ที่เกิดขึ้นเหตุผลการขอปรับเปลี่ยนกิจกรรม บริษัท เจ เอส แอล จำกัดมิได้เป็นผู้ริเริ่มการขอปรับเปลี่ยนกิจกรรมในทางกลับกัน ได้ดำเนินการต่างๆ ตามแผนงานภายใต้การรายงานความคืบหน้าของโครงการต่อคณะกรรมการตรวจรับงานจ้างฯ และผู้บริหารโครงการฯอย่างสม่ำเสมอ แต่สาเหตุที่เสนอขอปรับเปลี่ยนกิจกรรม In-Store Promotion ใน 3ประเทศที่เหลือเป็นการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าแฟชั่น (Trade Fair) แทน โดยยังคง เมือง ประเทศ และงบประมาณเดิมทุกประการ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ด้วยเหตุผลและความจำเป็นต่างๆดังต่อไปนี้ 1. เป็นไปตามความประสงค์ของผู้ประกอบการในทั้ง 3 ภาคอุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมเครื่องหนัง และอุตสาหกรรมเครื่องประดับและอัญมณีต่างเห็นพ้อง และได้มีหนังสือถึง บริษัท เจ เอส แอล จำกัดในฐานะผู้ดำเนินงานขอปรับเปลี่ยนกิจกรรม In-Store Promotion ใน 3ประเทศที่เหลือ เป็นการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า (Trade Fair) ที่ตรงกับกลุ่มสินค้าในแต่ละภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ 2. ปัญหาในเรื่องการตลาด กล่าวคือ กิจกรรม In-Store Promotion ไม่สามารถทำให้ผู้ประกอบการในทั้ง 3 ภาคอุตสาหกรรมประสบความสำเร็จในกิจกรรมคราวเดียวกัน กล่าวคือ ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ผ่านมาภายใต้โครงการเจาะตลาดเป้าหมายได้รับความสำเร็จด้วยดี โดยเฉพาะกิจกรรมประเภทการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า (Trade Fair) และกิจกรรมประเภท Independent Show ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ซื้อนานาชาติ (International Buyers) และผู้สื่อข่าวระหว่างประเทศ (International Medias) ดังปรากฏจากยอดจำหน่ายสินค้าและข่าวเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในหนังสือพิมพ์ และหนังสือในแวดวงแฟชั่นในต่างประเทศจำนวนมาก ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของโครงการที่จะสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ และการแสวงหาตลาดแฟชั่นเป้าหมายใหม่ๆ ที่ผู้ประกอบการยังไปไม่ถึง หรือตลาดที่ผู้ประกอบการสนใจ แต่พบกับอุปสรรค ตลอดจนตลาดที่ผู้ประกอบการรู้จักอยู่ก่อนแล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งโครงการฯภายใต้การดำเนินงานของ เจ เอส แอล สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ทุกประการ จะมีก็แต่เฉพาะกิจกรรมที่เรียกว่า In-Store Promotion ที่พบปัญหาในเรื่องการตลาดและการจัดการต่อทั้งผู้ประกอบการ ที่ไม่สามารถสร้างยอดขายจำนวนมากและต่อเนื่องระยะยาว ผลเสียต่อภาครัฐที่ไม่สามารถสร้างภาพลักษณ์และการจดจำในฐานะเป็นเมืองแฟชั่น และการสรรหาสถานที่ที่เหมาะสมและสามารถดำเนินกิจกรรมค้าปลีกได้ตามเป้าหมาย เจ เอส แอล ได้ใช้ความสามารถและทุ่มเทในการสรรหาสถานที่ตามเมืองและประเทศที่กำหนดไว้ตามแผนงาน เช่น การจัดกิจกรรม In-Store Promotion ที่มหานครปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน กิจกรรม In-Store Promotion ที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียโดยทั้งสองประเทศได้รับผลตอบรับไม่ดีนัก ผลจากความพยายามดังกล่าวผู้ประกอบการ ใน 3 ภาคอุตสาหกรรมจึงตระหนักว่า กิจกรรม In-Store Promotion ไม่น่าจะเหมาะสมกับโครงการฯ ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการจัดกิจกรรมเพียงสั้นๆ จึงเสนอขอเปลี่ยนแปลงเป็นกิจกรรมการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า (Trade Fair) แทนสาระสำคัญของการขอปรับเปลี่ยนกิจกรรม ด้วยเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าวข้างต้นผู้ประกอบการใน 3 ภาคอุตสาหกรรม จึงมีหนังสือถึง บริษัท เจ เอส แอล จำกัด ในฐานะผู้ดำเนินโครงการฯ ให้เสนอต่อสำนักงานโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อขอปรับเปลี่ยนการจัดกิจกรรม In-StorePromotion เฉพาะใน 3 ประเทศที่เหลือ คือ เมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรต์ และเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ดังนี้ 1. เสนอขอปรับเปลี่ยนกิจกรรม In-Store Promotion เป็นการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า (Trade Fair) แทน 2. คงเมืองและประเทศตามแผนงานเดิม (นิวยอร์ค ดูไบและฮ่องกง) 3. งบประมาณตามแผนเดิม 4. รายละเอียดของแผน บริษัท เจ เอส แอล จำกัดในฐานะผู้ดำเนินงานจะทำรายละเอียดของแผนงานและงบประมาณ (งบประมาณเท่าเดิม) เสนอต่อภาครัฐเพื่อพิจารณาอนุมัติอีกครั้ง 5. เนื่องจากสัญญาจ้างที่ทำไว้กับโครงการฯของ บริษัท เจ เอส แอล จำกัดจะสิ้นสุดลงในเดือนกรกฎาคม 2549 จึงเสนอขอขยายระยะเวลาสิ้นสุดสัญญาจ้างเป็นเดือนเมษายน 2550 กำหนด 1 เดือนหลังกิจกรรมการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ Hong Kong International Jewelry Showซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-10 มีนาคม 2549 ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนตารางเปรียบเทียบการจัดกิจกรรม In-Store Promotion กับการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า Trade Fairการจัดกิจกรรม In-Store Promotion การเข้าร่วมงานแสดงสินค้า Trade Fair 1. กิจกรรมเดียวกันไม่สามารถตอบสนองปัญหาการตลาดของทั้งสามภาคอุตสาหกรรมในคราวเดียวกัน กล่าวคือ งานเดียวกันอาจจะเหมาะสมกับสินค้าหนึ่งแต่ไม่เหมาะกับสินค้าอีกประเภทหนึ่ง 1. งานแสดงสินค้าหนึ่งๆจะมีความชัดเจนในเรื่องการตลาดในแต่ละภาคอุตสาหกรรม กล่าวคือ ถ้าเลือกงานแสดงสินค้าที่ถูกต้องตรงกับอุตสาหกรรมนั้นๆก็จะไม่พบปัญหาในเรื่องลูกค้า 2. ลูกค้าเป็นประชาชนในเมืองและประเทศที่ไปจัดกิจกรรม 2. ลูกค้าเป็นผู้ค้าส่งนานาชาติ 3. เป็นการทดสอบตลาดและหาข้อมูลจากผู้บริโภคโดยตรง 3. เป็นการจำหน่ายสินค้าโดยตรงกับผู้สั่งซื้อ (Buyers) ทั้งในประเทศที่มีงานแสดงสินค้าและประเทศใกล้เคียง ตลอดจนระดับนานาชาติขึ้นอยู่กับความมีชื่อเสียงและการยอมรับจากผู้ซื้อ ตลอดจนอายุของงานแสดงสินค้า 4. รายได้ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม คือ ยอดการซื้อปลีกของประชาชนเป็นหลัก 4. รายได้ของผู้ประกอบการที่ร่วมงานแสดงสินค้า คือ ยอดสั่งซื้อแบบซื้อส่ง จำนวนเม็ดเงินมากกว่าและระยะเวลาการสั่งซื้อยาวนานกว่า 5. รายได้ครั้งเดียวจากการเข้าร่วมกิจกรรม 5. รายได้ระยะยาวกว่าและต่อเนื่อง มีโอกาสของการซื้อซ้ำและสร้างรายได้ในระยะยาว 6. มีความเสี่ยงในเรื่องของจำนวนผู้ซื้อและ ยอดสั่งซื้อปลีกว่าจะคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศของผู้ประกอบการหรือไม่ 6. มีความแน่นอนด้านรายได้และความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการร่วมงานแสดงสินค้า 7. ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เมื่อเปรียบเทียบงบประมาณที่ภาครัฐต้องใช้ในการจัดกิจกรรมกับรายได้ที่เอกชนได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม 7. มีความคุ้มค่าทางการลงทุนมากกว่า 8. ระยะเวลาการจัดกิจกรรมมีผลต่อยอดขาย 8. ระยะเวลาการร่วมงานแสดงสินค้าไม่มีสาระสำคัญต่อยอดขาย 9. งบประมาณที่ภาครัฐต้องใช้ในการโฆษณาเชิญชวนให้ได้จำนวนผู้เข้าชมงานต้องใช้งบประมาณสูง 9. งบประมาณในการประชาสัมพันธ์ใช้น้อยกว่าและได้จำนวนผู้เข้าชมงานมากกว่า 10. งบประมาณที่ใช้ในการเช่าสถานที่อาจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเมือง ประเทศ และความมีชื่อเสียงของห้างนั้นๆ แต่ไม่ได้เป็นหลักประกันในเรื่องความคุ้มค่าของการลงทุน 10. งบประมาณที่ใช้ในการเช่าสถานที่อาจสูงหากเป็นงานแสดงสินค้าที่ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อ แต่ก็คุ้มค่ากับการลงทุนเพราะจำนวนผู้ซื้อที่มากและมีคุณภาพมากกว่า 11. เป็นเครื่องมือหนึ่งในการหาข้อมูลทางการตลาด คล้ายการวิจัยทางการตลาด 11. เป็นช่องทางในการขายสินค้าที่เป็นที่ยอมรับ เป็นสากล และมีประสิทธิภาพ 12. ไม่ได้มีส่วนเสริมสร้างภาพลักษณ์โครงการในระยะยาว 12. มีส่วนอย่างมากกับการสร้างภาพลักษณ์โครงการในระยะยาว 13. ใช้งบประมาณในโครงการจำนวนมากแต่ได้ผลในระยะสั้นและจำนวนเม็ดเงินที่ได้กลับคืนน้อยกว่า 13. ใช้งบประมาณในโครงการเหมาะสมและคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจ ต่อเนื่องระยะยาวและนำรายได้เข้าสู่ประเทศจำนวนมากกว่า 14. เป้าหมายหนึ่งเพื่อให้ตัวแทนห้างเห็นว่าสินค้าแฟชั่นไทยที่ไปร่วมกิจกรรมเป็นที่ต้องการของประชาชนในประเทศนั้นๆ เพื่อให้เกิดโอกาสการติดต่อนำไปขายในห้างต่อไป 14. งานแสดงสินค้าดีๆ กลุ่มเป้าหมายจะรวมถึงผู้ดูแลการจัดซื้อของห้างสรรพสินค้าอยู่แล้วโดยไม่ต้องเสี่ยงเมื่อเปรียบเทียบกับ อีกวิธีหนึ่ง 15. เป็นวิธีการค้าขายปลีกแบบหนึ่งแต่ไม่เป็นที่นิยมกรณีค้าส่ง 15. เป็นวิธีและช่องทางการค้าส่งที่ยอมรับและมีประสิทธิภาพ กล่าวโดยสรุป คือ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้า (Trade Fair) มีความสะดวกและคุ้มค่ากับการลงทุนทั้งในเรื่องของงบประมาณ เวลามากกว่าการจัดกิจกรรม In-Store Promotion ซึ่งต้องใช้งบประมาณสูง โดยเฉพาะในเรื่องของการโฆษณาประชาสัมพันธ์ อีกทั้งรายได้ก็มีจำนวนน้อยและมีระยะเวลาสั้น คือเมื่อสิ้นสุดกิจกรรมก็ไม่มีรายได้ต่อเนื่อง การร่วมงานแสดงสินค้าสามารถสร้างรายได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ในงบประมาณที่ใกล้เคียงกันจึงเป็นกิจกรรมที่มีความคุ้มค่ากับการลงทุนมากกว่า เพียงแต่ต้องคัดสรรงานแสดงสินค้าที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมนั้นๆ และเป็นงานแสดงสินค้าที่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับของผู้ซื้อและมีความชัดเจนในเรื่องของสินค้าที่ไปจัดแสดง ดังเช่น กรณีงานแสดงสินค้าแฟชั่นเครื่องหนัง MIPEL ที่เมืองมิลานประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าแฟชั่นเครื่องหนังที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของผู้ซื้อในระดับนานาชาติงานหนึ่งของโลก การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าจะมีความยุ่งยากในเรื่องการคัดสรรสินค้า โดยคณะกรรมการคัดเลือกต่างประเทศ แต่เมื่อเข้าไปแล้วมีโอกาสูงมากที่จะประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายงานแสดงสินค้าที่ เจ เอส แอล ได้ดำเนินการ และเจรจาจนสินค้าแฟชั่นไทยสามารถเข้าร่วมงานดังกล่าวได้ ซึ่งหลายงานสินค้าแฟชั่นไทยไม่สามารถเข้าถึง เช่น งานแสดงสินค้า Pret-A-Porter เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส หรืองานแสดงสินค้าในสัปดาห์แฟชั่น The MercedesAustralian Fashion Week ที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เป็นต้นตารางเปรียบเทียบแผนงานการปรับเปลี่ยนกิจกรรมในประเทศที่เหลือแผนกิจกรรมเดิม แผนกิจกรรมที่ขอปรับเปลี่ยน 1. กิจกรรม In-Store Promotion ที่ห้าง Deira City Center เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตท์ 1. กิจกรรมร่วมงานแสดงสินค้าแฟชั่น PRESTIGE ที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับ เอมิเรตท์ ระหว่างวันที่ 17-19 กันยายน 2549 ณ Dubai International Exhibition Center 2. กิจกรรม In-Store Promotion ที่ศูนย์การค้า Time Warner Center เมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา 2. กิจกรรมร่วมงานแสดงสินค้าแฟชั่น FASHION COTERIE ที่เมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 19-21 กันยายน 2549 ณ Pier 94 3. กิจกรรม In-Store Promotion ที่ Time Square เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน 3. กิจกรรมร่วมงานแสดงสินค้าแฟชั่นอัญมณี Hong Kong International Jewelry Show ที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 5-10 มีนาคม 2550 ณ Hong Kong Convention and Exhibition Centerบทสรุป - หลังจากที่ JSL ได้ข้อสรุปจากทั้ง 3 สมาคม จึงได้ทำหนังสือเพื่อขอปรับเปลี่ยนสัญญาไปตามขั้นตอน โดยมีหนังสือยืนยันจาก 3 สมาคมเป็นเอกสารอ้างอิง ตลอดจนเอกสารรายละเอียดเกี่ยวกับ Trade Show ที่ขอเปลี่ยน เพื่อประกอบการพิจารณา และเสนอให้คณะกรรมการโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นได้พิจารณา ข่าวที่นำเสนอไปแล้วจึงเป็นความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง ดังชี้แจงข้างต้น - JSL ขอยืนยันว่า การปรับเปลี่ยน/แก้ไขสัญญาข้างต้นนั้น JSL มิได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นในทางกลับกัน การยืดเวลาโครงการออกไป กลับทำให้ค่าใช้จ่ายในการทำงานที่สูงขึ้น หากแต่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับผู้ประกอบการ และโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น JSL จึงพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และไม่มีเงื่อนไขในการดำเนินงานทุกประการ สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ