SOLAR ขยายฐานลูกค้าเจาะตลาดพืชพลังงาน หนุนเกษตรกรรายใหญ่ใช้เทคโนฯเพิ่มผลผลิต/ไร่

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 29, 2008 09:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 ก.ย.--ออนไลน์ แอสเซ็ท
SOLAR สบช่องตลาดพืชพลังงานกำลังบูม วางแผนขยายฐานลูกค้าเจาะกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชพลังงานรายใหญ่ สนับสนุนให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตต่อไร่ หลังงานวิจัยชี้การลงทุนด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะเรื่องระบบน้ำทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเท่าตัวในพื้นที่เดียวกัน ชูเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์นำร่องโชว์ศักยภาพแปรพลังงานจากธรรมชาติมาเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้ในระบบการเกษตรอย่างยั่งยืน มั่นใจได้รับความสนใจจากเกษตรกรรายใหญ่เป็นอย่างดี เหตุคุ้มค่ากับการลงทุน
นางปัทมา วงษ์ถ้วยทอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) (SOLAR) กล่าวว่า บริษัทฯ มีนโยบายจะขยายฐานตลาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module) สำหรับตลาดในประเทศให้ขยายตัวกว้างขวางยิ่งขึ้น จากปัจจุบันที่กลุ่มลูกค้าหลักเป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และครัวเรือน โดยจะขยายเข้าสู่ลูกค้าที่เป็นเกษตรกรเพาะปลูกพืชพลังงานรายใหญ่เพิ่มขึ้น หลังจากพบว่าตลาดพืชพลังงานกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านความต้องการสินค้าและราคาผลิตผล จากความต้องการใช้พลังงานทดแทนในประเทศและการส่งเป็นสินค้าออกสู่ตลาดต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าการผลิตกลับไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด ดังนั้นเกษตรกรจึงจำเป็นต้องหันมาใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้าไปเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยในพื้นที่ (Productivity) จึงเป็นโอกาสที่ SOLAR จะเข้าไปสนับสนุนเรื่องเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการเพิ่มผลผลิตดังกล่าว
"จากการสำรวจพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศในปี 2550 พบว่าประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกจริงๆ เพียง 130 ล้านไร่เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ 67 ล้านไร่เป็นการเพาะปลูกพื้นในอุตสาหกรรมหลักเพื่อการส่งออก และบริโภคในประเทศ เช่นข้าว ส่วนยางพารามีประมาณ 15 ล้านไร่ และที่เหลือเป็นพืชอื่นๆ รวมทั้งพืชพลังงานประเภทมันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพดด้วย ซึ่งจะเห็นว่าปัจจุบันพืชพลังงงานกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดพลังงงานทดแทนเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ราคาผลผลิตขยับตัวสูงขึ้น เนื่องจากการผลิตไม่เพียงพอ ซึ่งจากการทำงานวิจัย พบว่า พืชเหล่านี้หากให้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้าไปพัฒนาการผลิตจะทำให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นได้ถึงเท่าตัว จากพื้นที่เท่าเดิม โดยฉพาะการเข้าไปพัฒนาในเรื่องระบบน้ำ จึงถือเป็นโอกาสที่เราจะได้เข้าไปร่วมสนับสนุนการพัฒนาเรื่องเทคโนโลยีในการผลิต"
นางปัทมา กล่าวว่า ปัจจุบัน SOLAR มีสินค้าที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในภาคเกษตรโดยเฉพาะ คือ เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ได้รับการออกแบบให้สามารถใช้งานได้ง่ายทั้งไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าอื่นๆ ทั้ง ลม เครื่องปั่นไฟ หรือแม้กระทั้งไฟฟ้าปกติ ซึ่งบริษัทฯในฐานะผู้นำระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และ บริษัท กรุนด์ฟอส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านเทคโนโลยีเครื่องสูบน้ำชั้นนำระดับโลกจากประเทศเดนมาร์ค ได้ร่วมพัฒนาขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้ โดยมีเป้าหมายให้นำพลังงานสะอาดและไม่มีต้นทุนจากธรรมชาติ เข้ามาใช้งานในภาคเกษตรได้อย่างคล่องตัว ซึ่งการทำตลาดสินค้ากลุ่มนี้ SOLAR จะเน้นเจาะลูกค้าที่เป็นเกษตรกรรายใหญ่เป็นหลัก มีขนาดพื้นที่การเพาะปลูก 1 พันไร่ขึ้นไป ซึ่งเชื่อว่าหากเกษตรกรลงทุนใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้าไปเพิ่มผลผลิต จะสามารถสร้างรายได้และกำไรคุ้มค่ากับการลงทุนภายในเวลาไม่นานนัก
แหล่งข่าวรายเดิมกล่าวอีกว่า การขยายฐานลูกค้าในประเทศ เป็นเพียงโครงการหนึ่งในแผนขยายธุรกิจของ SOLAR เท่านั้น โดยธุรกิจหลักของบริษัทยังคงเน้นการส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ เนื่องจากความต้องการสินค้าแผงโซลาร์เซลล์มีค่อนข้างสูง สามารถสร้างการเติบโตที่ดีให้กับทั้งรายได้และผลกำไรของบริษัทฯ โดยพบว่าในไตรมาสที่ 2/2551 บริษัทฯ มีรายได้จำนวน 257.84 ล้านบาท เปรียบเทียบ กับรายได้รวมในไตรมาสที่ 2/2550 จำนวน 43.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน214.57 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 495.89 เนื่องจากบริษัทฯ สามารถขยายตลาดเพื่อขายแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไปยังตลาดต่างประเทศได้ ส่งผลให้ผลการดำเนินงานพลิกมามีกำไร 16.50 ลบ. จากที่ขาดทุนถึง 42.11 ลบ.ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
ข้อมูล บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) (SOLAR)
บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) (SOLAR) ประกอบธุรกิจสำรวจ ออกแบบและติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยระบบที่บริษัทให้บริการประกอบด้วย (1) ระบบสูบน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์ (2) ระบบประจุแบตเตอรี่พลังงานแสงอาทิตย์ (3) ระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาเพื่อจำหน่าย (4) ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อบ้านพักอาศัย (5) ระบบไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะพลังงานแสงอาทิตย์ (6) ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในระบบสื่อสารโทรคมนาคม (7) ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานแหล่งพลังงาน
ในปัจจุบันบริษัทกำลังขยายธุรกิจโดยการสร้างศูนย์เทคโนโลยีโซลาร์ตรอนซึ่งประกอบด้วย ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์สาธิตระบบพลังงานแสงอาทิตย์ สวนพลังงานสะอาด และโรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิกอน ซึ่งเริ่มดำเนินการผลิตในเดือนเมษายน 2547 มีกำลังการผลิตประมาณ 30 เมกะวัตต์ต่อปี
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : จุฬารัตน์ เจริญภักดี (ฟ้า) 02-5549395 , 08

แท็ก เกษตรกร  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ