แพทย์เตือนโลกเปลี่ยนแกน ส่งผลต่อสุขภาพผิวพรรณ แนะเตรียมรับมืออย่างถูกวิธี

ข่าวทั่วไป Friday October 24, 2008 11:45 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 ต.ค.--แพน ราชเทวี กรุ๊ป ปรากฏการณ์โลกเปลี่ยนแกน การเอียงของโลกทำให้โลกหันด้านที่แตกต่างกันเข้าหาดวงอาทิตย์ บริเวณต่างๆ บนโลกจึงได้รับพลังงานความร้อนที่ไม่เท่ากัน เกิดเป็นฤดูกาล ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย. มีการเปลี่ยนแปลงที่แกนโลกจะ”หันข้าง”เข้าหาดวงอาทิตย์ อยู่ในระนาบตั้งฉากกับรัศมีจากดวงอาทิตย์ กลางวันจะเท่ากับกลางคืน หลังจากนั้นแกนโลกจะค่อยๆ ชี้ออกจากดวงอาทิตย์ ในซีกโลกเหนือกลางวันจะสั้นขึ้นเรื่อยๆ และจะสั้นที่สุดในวันที่ 21 ธันวาคม หรือ ทักษิณายัน (Vernal solstice) ดวงอาทิตย์จะขึ้นค่อนไปทางใต้มากที่สุด ดวงอาทิตย์จะเริ่มตกเร็วขึ้น กลางวันยาวกว่ากลางคืน และมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนเริ่มพัดเข้ามา ลมนี้จะนำมวลอากาศเย็นภาคพื้นทวีปเข้ามา ทำให้สภาพอากาศแห้งและเย็น เป็นการเริ่มต้นของฤดูหนาว ส่งผลให้สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิลดลง อากาศเย็น ความชื้นในอากาศลดน้อยลง กอปรกับเป็นช่วงที่มีฝุ่นละอองมาก เพราะเป็นช่วงที่โลกมีความกดอากาศสูง อากาศจะเย็น แห้งและมีฝุ่นฟุ้งกระจายทั่วไป ปรากฏการณ์เช่นนี้จึงมีผลโดยตรงต่อผิวพรรณ โดยเฉพาะผู้ที่มีผิวไวและมีความเสี่ยงของการเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ชนิดผิวไว (Atopic Dermatitis) และผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคผื่นอักเสบบริเวณผิวมัน (Seborrhic Dermatitis) ซึ่งเป็นโรคผิวหนังที่คนทั่วไปเป็นกันมาก แต่มักไม่รู้ตัวว่าตนเองมีความเสี่ยงของโรคหรือเป็นๆ หายๆ จึงไม่ทราบวิธีดูแลรักษาและเตรียมป้องกันมิให้อาการโรคลุกลาม (Proactive and Preventive ) รวมถึงการหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่เป็นต้นเหตุและตัวกระตุ้นอาการโรคได้อย่างเหมาะสม โรคผื่นภูมิแพ้ชนิดผิวไว (Atopic dermatitis) เป็นภาวะของผิวที่มีความไวต่ออากาศ ความชื้น สารเคมี เชื้อโรค และฝุ่นละออง ทำให้ผิวอ่อนแอ ขาดความชุ่มชื้น มีอาการแห้ง คัน ลอกเป็นขุยหรือเป็นสะเก็ด และมีผื่นตามข้อพับ เช่น แขน ขา และคอ มักจะเป็นๆ หายๆ หรือเกาจนเป็นปื้นดำ หนา ลุกลามไปทั่วร่างกาย และหากมีการอักเสบ อาจมีตุ่มน้ำใสๆ มีน้ำเหลืองซึม หรือมีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังร่วมด้วยได้ โรคผื่นผิวหนังชนิดนี้มักจะมีประวัติในครอบครัวหรือตนเองมีอาการภูมิแพ้อย่างใดอย่างหนึ่งร่วมด้วย เช่น แพ้อากาศมีน้ำมูกไหลหรือจามเป็นประจำโดยเฉพาะในตอนเช้า มีอาการหอบหืด หรือเป็นผื่นที่ข้อพับเป็นๆ หายๆ ปัจจัยที่มากระตุ้นได้แก่ แสงแดด ฝุ่นละออง มลภาวะ เชื้อโรค การใช้สารเคมีและการดูแลผิวอย่างไม่ถูกวิธี เช่น อาบน้ำอุ่น การล้างหน้าแรงๆ รวมถึงการมีความเครียด วิตกกังวล จะกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคมากขึ้น การดูแลรักษา หากมีผิวแห้ง ลอก ให้ทาครีมบำรุงผิว (Moisturizer) หลีกเลี่ยงสบู่ที่มีฟองและไม่รบกวนผิว เช่น การถู การเกา ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ช่วยผลัดเซลล์ผิว เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดวิตามินเอ, AHA, BHA หรือบำรุงให้ผิวชุ่มชื้นก่อนการใช้ ในช่วงอากาศเย็นให้งดการใช้น้ำอุ่นควรใช้ออยล์ (Oil)ทาก่อนและหลังอาบน้ำเพื่อให้ผิวชุ่มชื้นและลดอาการคัน ในกรณีที่คันมากแพทย์จะให้แอนตี้ฮีสตามีนเพื่อช่วยลดอาการหรือให้ยาทาผื่น เช่น สเตียรอยด์ครีม จะช่วย ให้ผื่นยุบเร็วขึ้น หากมีอาการติดเชื้อมีน้ำเหลืองซึม แพทย์อาจให้ประคบเปียก โดยใช้ผ้าก๊อสชุบน้ำปิดหมาดๆ วางบริเวณที่เป็นประมาณ 10-15 นาที เพื่อลดอาการคัน นอกจากโรคผื่นภูมิแพ้ชนิดผิวไวแล้ว ช่วงปลายฝนต้นหนาว คือตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ เราจะพบปัญหาผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณที่มีต่อมไขมันหนาแน่น (Seborrhic Area) หรือบริเวณทีโซน (T- zone) ซึ่งเรียกว่า โรคผื่นอักเสบบริเวณผิวมัน (Seborrhic Dermatitis) ซึ่งพบบ่อยๆ มักเป็นเรื้อรัง พบได้ที่ใบหน้า บริเวณหัวคิ้ว สองข้างจมูก ไรผม คาง อาจพบได้ที่ทรวงอกและแผ่นหลัง รวมถึงที่บริเวณศีรษะ ลักษณะเป็นรังแค (Dandruff) ซึ่งมีลักษณะเป็นสะเก็ดบางๆ ลอกเป็นขุยสีขาว มีอาการคันร่วมด้วย หากเป็นมากจะทำให้หนังศีรษะลอกเป็นขุย แสบ แดง คัน ข้างบนมี สะเก็ดขาวหรือเหลืองเป็นมันทั่วศีรษะ การเกิดผื่นอักเสบชนิดนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่พบว่าเซลล์ผิวหนังบริเวณที่เป็นจะมีการแบ่งตัวเร็วกว่าปกติ ทำให้เซลล์ผิวหนังที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่เคลื่อนตัวขึ้นมาทดแทนเซลล์หนังกำพร้าชั้นบนเร็วขึ้น และถูกรบกวนจากยีสต์ (P.Ovale) และกรดไขมัน ซึ่งเชื้อ P.Ovale เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่คล้ายเชื้อราและชอบไขมัน (Lipophilic Yeast) ซึ่งปกติพบได้ในรูขุมขนและเป็นตัวการปล่อยสารที่รบกวนผิว ทำให้ผิวอักเสบ นอกจากนี้กรดไขมัน (Fatty Acid) เป็นสารที่เปลี่ยนแปลงมาจากไขมันธรรมชาติที่สร้างจากต่อมไขมันระบายสู่รูขุมขนบริเวณผิวมัน กลายเป็นกรดไขมันมารบกวนผิว ทำให้เกิดผื่นอักเสบยิ่งขึ้น นพ.พรเลิศ ตรีทศเดช แพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านผิวพรรณจากแพนคลินิก กล่าวว่า “โชคดีหน่อยที่โรคผื่นอักเสบบริเวณผิวมัน (Seborrhic Dermatitis) นี้นั้นไม่ใช่อยู่ๆก็จะอักเสบขึ้นมาเลยทีเดียว โดยไม่สามารถรู้ล่วงหน้า ในวงการของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว แพทย์สามารถจะทำนายได้ค่อนข้างแม่นยำว่า ลักษณะผิวแบบใดที่มีโอกาสจะเป็นโรคผื่นอักเสบบริเวณผิวมัน (Seborrhic Dermatitis) ได้สูง และลักษณะผิวที่จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้สูงก็คือ ลักษณะผิวแบบ seborrhea skin ลักษณะของผิวแบบ seborrhea skin นั้น ระยะแรกๆ จะมีอาการหน้ามัน T-Zone มีอาการคันศีรษะเป็นครั้งคราว หากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาการก็จะมากขึ้น โดยหน้าจะมันเยิ้มแต่หลังล้างหน้าจะมีอาการผิวแห้ง หน้าตึงเกินกว่า 3 ชั่วโมง เกิดสิวเทียม และมีรังแคร่วมกับอาการคันศีรษะมาก ถ้าไม่ทำการรักษาก็จะเข้าสู่โรคผื่นอักเสบบริเวณผิวมัน (Seborrhic Dermatitis)ในที่สุด การบำบัดอาการ Seborrhea skin ได้ยิ่งเร็วเท่าไรและดีเท่าไรก็จะลดโอกาสที่จะดำเนินไปสู่ โรคผื่นอักเสบบริเวณผิวมัน (Seborrhic Dermatitis) ได้มากเท่านั้น โดยหลักการบำบัดจะทำดังนี้ *** ในกรณีของคนที่มีกำลังมีอาการของ seborrhea skin เต็มที่ เช่น มีสิวเทียม มีรังแค หน้ามันมากแต่ล้างแล้วแห้ง หน้าตึงเกินกว่า 3 ชั่วโมงหลังล้าง ต้องทำการรักษาแบบ active โดยรักษาสิวเทียม รักษารังแค ใช้เจลล้างหน้า ใช้ moisturizer ที่เหมาะสม ****ในกรณีของคนที่มีประวัติ เคยเป็น seborrhea skin มาแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่มีอาการเด่นชัด จะต้องใช้การ Preventive ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ควบคุมความมัน เจลล้างหน้า moisturize และการ skin care ****ในกรณีของคนที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเลย แต่มีแนวโน้มที่จะเป็น เช่น มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ คนที่มีผิวผสม หน้ามัน T-Zone ซึ่งคนเหล่านี้หากปล่อยไว้ก็มีโอกาสที่จะเป็น Seborrhea skin แน่ ก็จะต้องทำการ proactive ซึ่งก็คือป้องกันล่วงหน้า ทำได้โดยคล้ายๆกับการ preventive นั่นเอง การบำบัดอาการ seborrhea skin นั้นสามารถลดโอกาสเป็นโรคผื่นอักเสบบริเวณผิวมัน (Seborrhic Dermatitis) ได้เป็นอย่างมาก” โรคนี้เป็นกันมากถึง 3-5% ของประชากรโลก พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ปัจจุบันพบโรคนี้บ่อยขึ้น อัตราของผู้ที่เป็นโรคนี้เพิ่มขึ้น โรคนี้พบได้ทั้งปีทุกฤดูกาล แต่ช่วงที่อากาศเย็นและแห้งพบได้มากขึ้น ทั้งนี้มีปัจจัยที่เป็นสิ่งกระตุ้น ได้แก่ รังสีอุลตร้าไวโอเลต มลภาวะเป็นพิษ สารเคมีที่อยู่รอบตัวเรา ทำให้เซลล์ผิวหนังอ่อนแอและถูกรบกวนจากเชื้อยีสต์ได้ง่ายขึ้น การดูแลรักษาในระยะมีผื่นอักเสบ บวมแดง ควรปรึกษาแพทย์ โดยแพทย์จะให้ยาที่ช่วยลดผื่นอักเสบด้วย สารสเตียรอยด์ (Topical Steroid) อ่อนๆ ทาติดต่อกัน 5-6 วัน ผื่นอักเสบก็จะหาย หรือให้ยาพวกแอนตี้ฮีสตามีน(Antihistamine) เพื่อลดอาการคัน เมื่อหายแล้วให้ทาคีโตโคนาโซนครีม (Ketoconazol) ต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อป้องกันการเห่อของโรคและควบคุมเชื้อยีสต์ หากมีรังแคควรใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของซิลิเนียมซัลไฟด์ และซิงค์ ไพริไทนอล (Selenium sulfide and Zinc pyrithione) หรือใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของยาต้านเชื้อรา ชนิดคีโตโคนาโซนสระทุกวันหรือวันเว้นวัน การใช้แชมพูประเภทนี้ควรทิ้งไว้ 5-10 นาทีจึงล้างออก เมื่อดีขึ้นแล้วลดการใช้ลงเป็น 2 ครั้งต่อสัปดาห์ไปสักระยะหนึ่ง โรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมันนี้ สามารถป้องกันได้ (Preventive) โดยการหลีกเลี่ยงการรบกวนผิว หลีกเลี่ยงแสงแดด ใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดเป็นประจำร่วมกับการทาครีมบำรุงผิว (Moisturizer) หรือรับประทานอีฟนิ่ง พริมโรส ออยล์(Evening Primrose Oil) หรืออีพีโอ (EPO)เพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงของผิว ซึ่งมีกรดไขมันชนิดแกมม่า ไลโนเลนิก แอสิด (Gamma Linolenic Acid) หรือ จีแอลเอ (GLA) ซึ่งมีรายงานว่า GLA ช่วยรักษาสมดุลธรรมชาติของเซลล์ผิวหนังและช่วยป้องกันการทำลายของโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) อย่างไรก็ตาม หากมีการดูแลสุขภาพที่ดี ผิวแข็งแรง หลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนผิว ทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่เครียด ก็จะเป็นการป้องกันการเกิดผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมันได้อีกทางหนึ่ง ข้อมูลจาก ฝ่ายสนับสนุนงานพัฒนาสุขภาพ แพน ราชเทวี กรุ๊ป สอบถามเพิ่มเติม พิมพ์ประภา ฝ่ายสื่อสารองค์กร แพน ราชเทวี กรุ๊ป โทร. 02-252-9250 # 1957 , 089-926-2456 E-mail: phimprapa@panrcgroup.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ