กรมทรัพย์สินทางปัญญาเปิดสุดยอดผลงานเดือนตุลาคม ทรัพย์สินทางปัญญาสู่ภูมิภาคปีแรก

ข่าวทั่วไป Monday November 24, 2008 13:49 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 พ.ย.--124 คอมมิวนิเคชั่นส กรมทรัพย์สินทางปัญญาเปิดสุดยอดผลงานเดือนตุลาคม ทรัพย์สินทางปัญญาสู่ภูมิภาคปีแรก ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม คนแห่ยื่นคำขอจดทะเบียนและแจ้งข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา 245 คำขอ เดินหน้าประสานความร่วมมือกับสหภาพยุโรปในการพัฒนาระบบและส่งเสริมการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ระหว่างกัน ล่าสุดนำข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ไปจดทะเบียน ที่สหภาพยุโรป ขณะที่ GI ต่างประเทศมาจดทะเบียนในไทยแล้ว 4 รายการ ประกาศเดินหน้าปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจังและต่อเนือง ส่งหน่วยจรยุทธ์ออกปฏิบัติการ 62 ครั้ง พบผู้จำหน่ายสินค้าที่ต้องสงสัยละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา 193 ราย นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา สรุปผลการดำเนินงานของกรมทรัพย์สินทางปัญญาเดือนตุลาคมที่ผ่านมาว่ากรมฯได้ดำเนินกิจกรรมหลักๆ ได้แก่ การจัดงานตลาดนัดทรัพย์สินทางปัญญาสู่ภูมิภาค การพัฒนาความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญากับต่างประเทศ การดำเนินงานด้านลิขสิทธิ์ การระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญา และการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ โดยในส่วนของงานตลาดนัดทรัพย์สินทางปัญญาสู่ภูมิภาคที่จัดไป 3 ครั้งในจังหวัดอุบลราชธานี นครปฐม และนครสวรรค์ นั้นมีผู้เข้าร่วมชมงานทั้งสิ้น 14,587 คน มีผู้มารับคำขอปรึกษา จากหน่วยบริการทรัพย์สินทางปัญญาเคลื่อนที่ 248 ราย และยื่นคำขอจดทะเบียนและแจ้งข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม 245 คำขอ แบ่งเป็นสิทธิบัตร 18 คำขอ เครื่องหมายการค้า 209 คำขอ และลิขสิทธิ์ 18 คำขอ “ในส่วนความร่วมมือกับต่างประเทศนั้นกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะร่วมกับสหภาพยุโรปในการพัฒนาระบบ และส่งเสริมการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ระหว่างกัน โดยสหภาพยุโรปได้ปรับปรุงระบบการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้รวดเร็วขึ้น โดยเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ และปรับแก้ไขระยะเวลา ในขั้นตอนการคัดค้านจาก 6 เดือนให้เหลือ 2 เดือน สำหรับการยื่นขดจดทะเบียน GI ในประเทศไทย โดยปัจจุบันนี้กรม ฯ ได้รับขึ้นทะเบียน GI ต่างประเทศจำนวน 4 รายการ ได้แก่ Pisco ของประเทศเปรู Champagne และ Cognac ของประเทศฝรั่งเศส และ Brunello Di Montalcino ของประเทศอิตาลี และมีบางรายการที่อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณา เช่น Parma Ham ที่อยู่ในขั้นตอนเตรียมการประกาศโฆษณา และ Scotch Whisky ของสก็อตแลนด์ที่ต้องขอข้อมูลประกอบการพิจารณาเพิ่มเติมเรื่องกระบวนการควบคุม คุณภาพ เป็นต้น และที่น่ายินดีคือในส่วนของ GI ไทยนั้นกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้นำ ข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้ ไปจดทะเบียน GI ที่สหภาพยุโรป” นางพวงรัตน์กล่าว นางพวงรัตน์กล่าวต่อไปว่า “สำหรับเรื่องลิขสิทธิ์นั้นกรม ฯ ได้จัดประชุมคณะทำงานด้านลิขสิทธิ์งาน วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับจิตรกร และได้พิจารณาร่างข้อแนะนำการใช้ตัวอย่างสัญญาอนุญาตให้ใช้ ลิขสิทธิ์งานจิตรกรรม (ภาพวาด/ภาพประกอบ) ในงานวรรณกรรม และร่างข้อแนะนำการใช้ตัวอย่าง สัญญาสร้างภาพประกอบงานวรรณกรรม นอกจากนี้ได้มีการสัมมนาเรื่อง สัญญาและกฎหมายลิขสิทธิ์ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภาพประกอบในงานวรรณกรรม เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความจำเป็น ในการคุ้มครองงานด้านลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง ก่อให้เกิดแรงจูงใจ มีความมั่นใจในการสร้างสรรค์ผลงาน ทรัพย์สินทางปัญญา อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการแจ้งข้อมูล ลิขสิทธิ์เพิ่มมากขึ้น ขณะที่การระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาโดยวิธีไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้น กรมฯ ได้ดำเนินการไปเป็นจำนวน 4 เรื่อง คือ ข้อพิพาทด้านสิทธิบัตร 2 เรื่อง และที่เหลือเป็นข้อพิพาทด้านเครื่องหมายการค้า” นางพวงรัตน์กล่าวเพิ่มเติมว่า“ในเรื่องการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา กรมฯ ได้ขอความร่วมมือให้เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาเข้ามาร่วมปฏิบัติงานกับภาครัฐเพิ่มขึ้นโดยได้มีการ ประสานการป้องปรามกับภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องรวม 17 เรื่อง อีกทั้งยังได้ดำเนินการสำรวจ ตลาดสินค้าที่น่าสงสัยว่าจะละเมิดทรัพย์สินทางปัญญารวม 12 ครั้ง พบผู้จำหน่ายสินค้าที่น่าสงสัยว่าจะ ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา 193ราย ในสถานที่ต่างๆ ได้แก่ ศูนย์การค้าฟอร์จูนทาว ตลาดใหม่ดอนเมือง ย่านการค้าถนนข้าวสาร ย่านการค้าสะพานพุทธ ตลาดนัด อ.ส.ม.ท. ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ รามคำแหง ตลาดหลังกระทรวงการคลัง ศูนย์การค้าเซ็นเตอร์วัน ศูนย์การค้าบิ๊กซี บางใหญ่ ย่านการค้าบางลำพู ศูนย์การค้าเดอะมอลล์บางกะปิ และย่านการค้าน้อมจิตต์ลาดพร้าว เป็นต้น นอกจากนี้มีการตรวจสอบโรงงานผลิตซีดี โดยชุดปฏิบัติการคณะทำงานไตรภาคี 32 ครั้ง มีการส่งชุดจรยุทธ์ออกปฏิบัติงาน 62 ครั้ง และรับแจ้งข้อมูลตามพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี 322 ครั้ง ซึ่งการปราบปรามการละเมิดทรัพย์ สินทางปัญญาอย่างจริงจังและต่อเนื่องของกรม ฯ ทำให้การจำหน่ายสินค้าละเมิดลดลง ซึ่งเป็นมาตรการ ในการคุ้มครองผู้สร้างสรรค์ที่คิดค้นผลงานที่เป็นของตนเอง เพื่อให้มีความสามารถแข่งขันทางการค้ากับต่างประเทศได้ และเพื่อจะได้ไม่ถูกกีดกันทางการค้ากับนานาประเทศ” รายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ อินทิรา ใจอ่อนน้อม กลุ่มงานประชาสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ เอกภพ พันธุรัตน์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ บริษัท 124 คอมมิวนิเคชั่นส จำกัด (มหาชน) โทร. 0-2547-4696 โทร. 0-2662-2266

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ