กรุงเทพฯ--19 ธ.ค.--คอร์ แอนด์ พีค
ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทฯ เมื่อ พ.ศ. 2531 นับเป็นเวลา 20 ปีแล้วที่บริษัท เทรนด์ ไมโคร ถือเป็นผู้บุกเบิก และผู้นำในอุตสาหกรรมที่มีนวัตกรรมด้านการจัดการภัยคุกคามอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนตัว และสินทรัพย์จากภัยร้ายมัลแวร์ สแปม การรั่วไหลของข้อมูล และภัยคุกคามรูปแบบต่างๆ และล่าสุดเมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทฯ ยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูล ด้วยการเปิดตัวเทคโนโลยีเครือข่ายการป้องกันอัจฉริยะหรือสมาร์ท โพรเท็คชั่น เน็ตเวิร์ค ที่สามารถปกป้องผู้ใช้งานจากการโจมตีของภัยคุกคามข้อมูลได้ทันที
และในโอกาสครบ 20 ปีในปีนี้ บริษัท เทรนด์ ไมโคร จึงจัดทำบทความเรื่อง “สุดยอดเคล็ดลับ 20 ข้อ ช่วยปกป้องผู้ใช้งานขณะออนไลน์” โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
เคล็บลับความปลอดภัยทั่วไป
1. เปิดใช้งานและปรับปรุงซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยของคุณให้ทันสมัยเสมอ โดยเฉพาะถ้าคุณใช้งานแล็ปท็อปที่ต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่ไม่มีการป้องกันใดๆ ในบริเวณสนามบิน ร้านกาแฟ และสถานที่ต่างๆ
2. ติดตั้งผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่ปกป้องคุณในทุกกรณีไม่ว่าจะท่องอินเทอร์เน็ตหรือดาวน์โหลดไฟล์ลงในคอมพิวเตอร์ของคุณโดยตรง
3. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ป้องกันภัยบนเว็บครอบคลุมการป้องกันอีเมลรวมถึงเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์และแอพพลิเคชั่นการประมวลผลที่ใช้ภายในบ้านทั้งหมดด้วย และงสามารถแจ้งเตือนเกี่ยวกับปริมาณการส่งผ่านข้อมูลทั้งเข้าและออกจากคอมพิวเตอร์ของคุณในเวลาจริง
4. ปรับใช้เทคโนโลยีล่าสุด เช่น การป้องกันโดยการตรวจสอบประวัติเว็บ (Web Reputation) ซึ่งสามารถวัดระดับความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ก่อนที่คุณจะเข้าเยี่ยมชมได้ ให้ใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบประวัติเว็บร่วมกับเทคโนโลยีการกรองยูอาร์แอล (URL) และการสแกนเนื้อหา
5. ใช้เว็บบราวเซอร์รุ่นล่าสุดและติดตั้งโปรแกรมปรับปรุงความปลอดภัยเมื่อพร้อมใช้งาน
6. ใช้เว็บบราวเซอร์ที่มีปลั๊กอินป้องกันสคริปต์
7. ตรวจสอบกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตว่าเครือข่ายของผู้ให้บริการใช้การป้องกันชนิดใด
8. ถ้าคุณใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows ให้เปิดใช้งานคุณลักษณะ “ปรับปรุงอัตโนมัติ” (Automatic Update) และติดตั้งโปรแกรมปรับปรุงใหม่ๆ ทันทีที่พร้อมใช้งาน
9. ติดตั้ง ปรับปรุง และดูแลไฟร์วอลล์ รวมทั้งซอฟต์แวร์ป้องกันการบุกรุกเสมอ ซึ่งครอบคลุมถึงการป้องกันมัลแวร์หรือสปายแวร์ด้วย
10. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าโซลูชั่นซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยของคุณเป็นรุ่นล่าสุด สำหรับอีเมล
11. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณกำลังใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันสแปมที่ครอบคลุมรายชื่ออีเมลทั้งหมดที่คุณมีเสมอ
12. ระวังอีเมลที่ดูน่าสงสัยหรือแปลกๆ ไม่ว่าจะส่งมาจากผู้ใดก็ตาม อย่าเปิดสิ่งที่แนบมากับอีเมลหรือคลิกลิงก์ในอีเมลดังกล่าว
13. รายงานอีเมลน่าสงสัยให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบทราบ
14. ถ้าคุณไว้ใจคนส่งอีเมล ให้สแกนสิ่งที่แนบมาของอีเมลนั้นโดยใช้โซลูชั่นรักษาความปลอดภัยก่อนที่จะเปิดออก ถ้ามีการส่งยูอาร์แอลมาให้ด้วย และเป็นยูอาร์แอลที่ไม่ยาวเกินไป ให้พิมพ์ยูอาร์แอลนั้นในเว็บบราวเซอร์ของคุณแทนที่จะคลิกโดยตรงจากอีเมล
15. จงระวังเมื่อได้รับอีเมลที่ร้องขอรายละเอียดเกี่ยวกับบัญชีธนาคาร (สถาบันการเงินส่วนใหญ่ไม่เคยร้องขอรายละเอียดทางการเงินผ่านทางอีเมล)
16. อย่าส่งอีเมลข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใด สำหรับการท่องเว็บ และดาวน์โหลดโปรแกรมทางออนไลน์
17. ใช้บริการตรวจสอบประวัติเว็บ (Wep reputation) เพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ที่คุณกำลังจะเข้าไปเยี่ยมชมนั้นปลอดภัยจากภัยคุกคามบนเว็บ
18. จงระวังเว็บเพจที่ต้องการให้คุณติดตั้งซอฟต์แวร์ลงในคอมพิวเตอร์ ให้สแกนโปรแกรมทั้งหมดที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ตโดยใช้โซลูชั่นรักษาความปลอดภัยรุ่นล่าสุด
19. อ่านข้อตกลงสิทธิ์การใช้งานสำหรับผู้ใช้เสมอ และยกเลิกกระบวนการติดตั้งถ้าจะมีการติดตั้ง “โปรแกรม” อื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากโปรแกรมที่ต้องการ
20. อย่าให้ข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อมีการร้องขอข้อมูลอย่างน่าสงสัย จงให้ข้อมูลส่วนบุคคลกับไซต์ที่แสดง ไอคอนเป็นรูปกุญแจล็อคที่ด้านล่างของบราวเซอร์
20 เคล็บลับความปลอดภัยสำหรับผู้ปกครอง
1. วางคอมพิวเตอร์ในบริเวณที่มองเห็นได้ชัดเจน
2. กำหนดเวลาการใช้อินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์สื่อสารกับสังคมอื่นๆ ทั้งหมด
3. ปรับปรุงซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยให้ทันสมัยอยู่เสมอ
4. กำหนดเว็บไซต์ที่บุตรหลานของคุณสามารถเยี่ยมชมได้ (สำหรับเด็กเล็ก)
5. ใช้การกรองยูอาร์แอล
6. ดาว์โหลดบริการตรวจสอบชื่อเสียงและประวัติเว็บไซต์ รวมทั้งตรวจสอบเว็บไซต์ที่เด็กเยี่ยมชม
7. ตรวจสอบเนื้อหาและนโยบายความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของไซต์ที่เด็กเข้าเยี่ยมชมบ่อยคร้ง
8. พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับการป้อนข้อมูลส่วนบุคคลทางออนไลน์
9. ห้ามไม่ให้บุตรหลานรับการติดต่อจากบุคคลที่พวกเขาไม่เคยพบมาก่อน
10. เรียกใช้การแสกนเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยของคุณ และตรวจเช็คประวัติการท่องเว็บในบราวเซอร์
11. ใช้บริการแชร์ไฟล์ร่วมกันที่ถูกกฎหมายเท่านั้น
12. กำหนดโปรไฟล์เกี่ยวกับชุมชนเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เป็นส่วนตัว
13. ให้ใช้นามแฝง จงอย่าใช้ชื่อจริงเพื่อแสดงตัวตนของคุณเอง
14. ระวังและโพสต์ข้อมูลอย่างชาญฉลาด
15. สนับสนุนให้เด็กให้ความเคารพต่อผู้อื่น
16. ตรวจสอบเว็บไซต์ก่อนที่จะอนุญาตให้เด็กซื้อสิ่งใดบนอินเทอร์เน็ต
17. สอนเด็กให้ใช้รหัสผ่านหลายชุดที่จะไม่เกี่ยวโยงถึงชื่อ ชื่อเล่น หรือข้อมูลที่พบได้ทั่วไปบนอินเทอร์เน็ต
18. ตรวจสอบชุมชนเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นระยะๆ
19. ใช้เครื่องมือรักษาความปลอดภัยฟรีให้เป็นประโยชน์เพื่อสแกนเครื่องคอมพิวเตอร์ของครอบครัว
20. ที่สำคัญที่สุดคือ ให้หมั่นบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัส และอันตรายล่าสุดบนอินเทอร์เน็ตให้บุตรหลานของคุณรับรู้
สื่อมวลชนสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
คุณบุษกร สนธิกร และคุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น
บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด โทร. 02-439-4600 ต่อ 8202, 8300
อีเมล์: busakorns@corepeak, [email protected]