รายงานเหตุ ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง วันที่ 18 กันยายน 2549 เวลา 07.00 น.

ข่าวทั่วไป Monday September 18, 2006 11:44 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ก.ย.--ปภ.
1. ระหว่างวันที่ 27-31 สิงหาคม 2549 และวันที่ 9-12 กันยายน 2549 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ทำให้มีฝนตกหนักมากในพื้นที่ เป็นเหตุทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำมีปริมาณน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มริมฝั่งของลำน้ำหลายพื้นที่
พื้นที่ประสบภัย รวม 21 จังหวัด 78 อำเภอ 5 กิ่งอำเภอ 314 ตำบล 1,249 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 48,765 คน 13,263 ครัวเรือน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน สุโขทัย พิษณุโลก แพร่ กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ ลำพูน ลำปาง ตาก พิจิตร พะเยา เพชรบูรณ์ จันทบุรี พังงา นครสวรรค์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี อ่างทอง สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา
ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 7 คน จังหวัดลำปาง 2 คน (อำเภอแม่เมาะ 1 อำเภองาว 1) จังหวัดสุโขทัย 3 คน (อำเภอเมือง 1 อำเภอสวรรคโลก 2) จังหวัดพิษณุโลก 1 คน (อำเภอบางระกำ) และจังหวัดเพชรบูรณ์ 1 คน (อำเภอเมือง )
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 22 หลัง เสียหายบางส่วน 424 หลัง ถนน 255 สาย สะพาน 28 แห่ง ท่อระบายน้ำ 22 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 81 แห่ง พื้นที่ทางการเกษตร 192,123 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 1,831 บ่อ วัด/โรงเรียน 50 แห่ง ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ
2. จากการตรวจสอบไปยังจังหวัดที่ประสบภัยเมื่อเวลา 06.00 น. ของวันนี้ (18 ก.ย.49) ยังคงมีพื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 7 จังหวัด เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านพื้นที่สูงกว่าตลิ่ง ได้แก่ จังหวัดอ่างทอง พิษณุโลก นครสวรรค์ กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร และพระนครศรีอยุธยา ดังนี้
2.1 จังหวัดอ่างทอง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรที่อยู่ติดริมน้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มในพื้นที่ หมู่ที่ 4-6 ตำบลโผงเผง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
2.2 จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอบางระกำ น้ำในแม่น้ำยมจากอำเภอกงไกรลาศไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตร 6 ตำบล ได้แก่ตำบลชุมแสงสงคราม (หมู่ที่ 1-9) ตำบลคุยม่วง (หมู่ที่ 6,8,9) ตำบลท่านางงาม (หมู่ที่ 1,2,3,5) ตำบลนิคมพัฒนา ตำบลบางระกำ (หมู่ที่ 2,7,15) และตำบลวังอีทก (หมู่ 1,4,6,9,10) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม. แนวโน้มสถานการณ์ปริมาณน้ำในอำเภอบางระกำ ยังมีน้ำจากอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย และจากจังหวัดกำแพงเพชรไหลเข้าพื้นที่ ซึ่งทำให้สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่อำเภอบางระกำขยายวงกว้าง
2) อำเภอพรหมพิราม ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตร 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าช้าง (หมูที่ 2,5,7-9) ตำบลหนองแขม (หมู่ที่ 2,4,8,10) ตำบลพรหมพิราม (หมู่ที่ 5,11,12) และ ตำบลวังวน (หมู่ที่ 1,2,4,8,10) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม. ระดับน้ำทรงตัว
- ระดับน้ำในแม่น้ำยม ที่ฝายบางบ้า อำเภอบางระกำ เมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 18 ก.ย. 49 ระดับน้ำสูง 42.13 ม. (ระดับตลิ่ง 40.50 ม.) สูงกว่าตลิ่ง 1.63 ม.
2.3 จังหวัดนครสวรรค์ น้ำจากแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านได้ไหลเอ่อเข้าท่วมขังในพื้นที่ลุ่มริมน้ำ 7 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง เขตเทศบาลนครนครสวรรค์มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำริมฝังแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำปิงบางแห่งของพื้นที่ ชุมชนรณชัย และชุมชนวัดเขา ส่วนนอกเขตเทศบาลยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร 8 ตำบล ได้แก่ ตำบลเกรียงไกร ตำบลบางพระหลวง ตำบลบึงเสนาท ตำบลแควใหญ่ ตำบลวัดไทร ตำบลบ้านแก่ง ตำบลกลางแดด และ ตำบลสวรรค์ออก ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม. ระดับน้ำสูงขึ้น
2) อำเภอบรรพตพิสัย ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองกรด (หมู่ที่ 1,7,10,13,15) ตำบลตาขีด (หมู่ที่ 1) และตำบลตาสัง (หมู่ที่ 1,2,9) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.40 ม. ระดับน้ำสูงขึ้น
3) อำเภอชุมแสง ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มการเกษตรริมน้ำ 10 ตำบล ได้แก่ ตำบลโคกหม้อ ตำบลบางเคียน ตำบลท่าไม้ ตำบลฆะมัง ตำบลพิกุล ตำบลหนองกระเจา ตำบลพันลาน ตำบลเกยไชย ตำบลทับกฤชใต้ และตำบลทับกฤช ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.60 ม. ระดับน้ำสูงขึ้นเล็กน้อย
4) อำเภอหนองบัว ได้แก่ตำบลห้วยร่วม และตำบลห้วยถั่วเหนือ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม. ระดับน้ำทรงตัว
5) อำเภอเก้าเลี้ยว มีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 1 ตำบล ได้แก่ตำบลหนองเต่า (หมู่ที่ 1,2,7-10) ระดับสูงประมาณ 0.30-0.50 ม. ระดับน้ำสูงขึ้น
6) อำเภอโกรกพระ มีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 3 ตำบล ได้แก่ตำบลยางตาล หมู่ที่ 6 ตำบลโกรกพระ และตำบลบางมะฝ่อ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
7) อำเภอพยุหะคีรี มีน้ำท่วมขังในพื้นที่การกษตรของตำบลยางขาว ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-0.60 ม.
2.4 จังหวัดสุโขทัย มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตร 9 ตำบล ได้แก่ ตำบลยางซ้าย (หมู่ที่ 2,3,5,7-12) ตำบลปากพระ (หมู่ที่ 1-6) ตำบลเมืองเก่า (หมู่ที่ 1-5,7,10,11) ตำบลบ้านสวน (หมู่ที่ 1-13) ตำบลบ้านหลุม (หมู่ที่ 1,2,4-6,9) ตำบลตาลเตี้ย (หมู่ที่ 1-4) ตำบลวังทองแดง (หมู่ที่ 1,3,5,6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม. ส่วนที่ตำบลปากแคว (หมู่ที่ 1-9) และตำบลบ้านกล้วย (หมู่ที่ 1-14) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50 ม. เนื่องจากเป็นที่ลุ่มแอ่งกะทะ ซึ่งเป็นจุดรวมน้ำ
2) อำเภอกงไกรลาศ น้ำจากแม่น้ำยมได้ไหลเอ่อเข้าท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 11 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ ตำบลท่าฉนวน (หมู่ที่ 1-12) ตำบลบ้านกร่าง (หมู่ที่ 1-5) ตำบลกง (หมู่ที่ 1-13) ตำบลป่าแฝก (หมู่ที่ 1-9) ตำบลหนองตูม (หมู่ที่ 1-8) ตำบลไกรกลาง (หมู่ที่ 1-8) ตำบลไกรใน (หมู่ที่ 1-15) ตำบลกกแรต (หมู่ที่1-12) ตำบลบ้านใหม่สุขเกษม (หมู่ที่ 1-8) ตำบลไกรนอก (หมู่ที่ 1-8) ตำบลดงเดือย (หมู่ที่ 1-11) และ เทศบาลตำบลบ้านกร่าง (5 ชุมชน) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม. ระดับน้ำสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเป็นที่ลุ่ม แอ่งกะทะ
3) อำเภอคีรีมาศ ได้เกิดฝนตกหนักในวันที่ 12-13 ก.ย.49 ทำให้เกิดน้ำป่าไหลมาจากอุทยานแห่งชาติรามคำแหง (เขาหลวง) เข้าท่วมพื้นที่การเกษตรใน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านป้อม (หมู่ที่ 1-5,8) ตำบลทุ่งหลวง (หมู่ที่ 9-11,13) ตำบลนาเชิงคีรี (หมู่ที่ 1,2,6,8) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 ม.
- ระดับน้ำในแม่น้ำยม เมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 18 ก.ย. 49 ที่สถานี Y.33 อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 6.55 ม. (ระดับตลิ่ง 10.00 ม.) ต่ำกว่าตลิ่ง 3.45 ม. ที่สถานี Y.4 อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 5.00 ม. (ระดับตลิ่ง 7.45 ม.) ต่ำกว่าตลิ่ง 2.45 ม. และที่ฝายยางบ้านกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 10.23 ม. (ระดับตลิ่ง 9.00 ม.) สูงกว่าตลิ่ง 1.23 ม.
2.5 จังหวัดพิจิตร น้ำในแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านมีระดับสูงขึ้น ทำให้มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มริมน้ำ และพื้นที่การเกษตร 4 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง น้ำท่วมในพื้นที่ 8 ตำบล ได้แก่ ตำบลในเมือง ตำบลฆะมัง (หมู่ที่ 3,9) ตำบลบ้านบุ่ง (หมู่ที่ 2,3,5,6) ตำบลปากทาง (หมู่ที่ 3,6,7) ตำบลย่านยาว (หมู่ที่ 2,6) ตำบลสายคำโห้ (หมู่ที่ 1-5) ตำบลป่ามะคาบ (หมู่ที่ 1,2,7,13) และตำบลหัวดง (หมู่ที่ 6,9) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม. ระดับน้ำทรงตัว
2) อำเภอสามง่าม น้ำท่วมในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลรังนก (หมู่ที่ 1,2,9) ตำบลกำแพงดิน และตำบลสามง่าม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-0.60 ม. เนื่องจากมีพื้นที่เป็นที่ลุ่มแอ่งกะทะ ระดับน้ำทรงตัว
3) อำเภอวชิรบารมี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นการเกษตร 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลวังโมกข์ (หมู่ที่ 1,3,7,9) ตำบลหนองหลุม (หมู่ 2,10) และตำบลบ้านนา (หมู่ที่ 1,13) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 ม. ระดับน้ำทรงตัว
4) อำเภอโพธิ์ประทับช้าง น้ำในแม่น้ำยมเอ่อล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร ของตำบลวังจิก ทำให้มีการปิดโรงเรียนวัดวังจิก จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00 ม.
2.6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงขึ้น เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร 2 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอบางบาล น้ำท่วมในพื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลน้ำเต้า (หมู่ที่ 1-8) ตำบลทางช้าง (หมู่ที่ 1-6) ตำบลวัดตะกู (หมู่ที่ 1-9) และตำบลบางหลวง (หมู่ที่ 1-5) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.40 ม.
2) อำเภอบางไทร น้ำท่วมในพื้นที่ 1 ตำบล ได้แก่ ตำบลกระแชง (หมู่ที่ 1,2,3,5) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.70 ม.
2.7 จังหวัดกำแพงเพชร ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 1 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง น้ำจากอำเภอคลองลานไหลลงมาตามคลองสวนหมากเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรของตำบลบ่อคำ ตำบลท่าขุนราม ตำบลนครชุม และบริเวณเทศบาลตำบลนครชุม มีน้ำท่วมขังเพียงเล็กน้อย จะเข้าสู่ภาวะปกติในบ่ายวันนี้
2) กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลเพชรชมพู (หมู่ที่ 1-9) และตำบลลานดอกไม้ (หมู่ที่ 1-9) มีน้ำท่วมขังเพียงเล็กน้อย จะเข้าสู่ภาวะปกติในบ่ายวันนี้
3. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 01.00 น วันที่ 17 ก.ย.49 ถึง 01.00 น วันที่ 18 ก.ย.49 วัดได้ ดังนี้
จังหวัดร้อยเอ็ด (อ.เมือง) 110.4 มม.
จังหวัดจันทบุรี (อ.เมือง) 51.5 มม.
จังหวัดสมุทรปราการ (อ.บางพลี) 36.0 มม.
จังหวัดนครศรีธรรมราช (อ.เมือง) 29.6 มม.
จังหวัดกระบี่ (อ.เกาะลันตา) 28.7 มม.
จังหวัดตาก (อ.สามเงา) 22.9 มม.
4. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2549 เวลา 06.00 น.
ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่ง
5. ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตาม และรายงาน ให้ทราบต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ