รายงานสภาวะอากาศ สถานการณ์อุทกภัย ปริมาณน้ำฝน วันที่ 25 กันยายน 2549 เวลา 7.00 น.

ข่าวทั่วไป Monday September 25, 2006 10:17 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 ก.ย.--ปภ.
1. ระหว่างวันที่ 27-31 สิงหาคม 2549 วันที่ 9-12 กันยายน 2549 และวันที่ 18-21 กันยายน 2549 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ทำให้มีฝนตกหนักมากในพื้นที่ เป็นเหตุทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำมีปริมาณน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเอ่อล้นตลิ่ง เข้าท่วม ในพื้นที่ลุ่มริมฝั่งของลำน้ำหลายพื้นที่
พื้นที่ประสบภัย รวม 23 จังหวัด 87 อำเภอ 5 กิ่งอำเภอ 369 ตำบล 1,535 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 61,179 คน 16,602 ครัวเรือน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน สุโขทัย พิษณุโลก แพร่ กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ ลำพูน ลำปาง ตาก พิจิตร พะเยา เพชรบูรณ์ จันทบุรี พังงา นครสวรรค์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ชัยภูมิ และเชียงราย
ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 12 คน จังหวัดลำปาง 2 คน (อำเภอแม่เมาะ 1 อำเภองาว 1) จังหวัดสุโขทัย 3 คน (อำเภอเมือง 1 อำเภอสวรรคโลก 2) จังหวัดพิษณุโลก 5 คน (อำเภอบางระกำ) จังหวัดเพชรบูรณ์ 1 คน (อำเภอเมือง) และจังหวัดชัยภูมิ 1 คน (อำเภอจัตุรัส)
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 22 หลัง เสียหายบางส่วน 450 หลัง ถนน 280 สาย สะพาน 28 แห่ง ท่อระบายน้ำ 22 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 81 แห่ง พื้นที่ทางการเกษตร 254,305 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 2,666 บ่อ วัด/โรงเรียน 52 แห่ง ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ
2. จากการตรวจสอบไปยังจังหวัดที่ประสบภัยเมื่อเวลา 06.00 น. ของวันนี้ (25 ก.ย.49) พื้นที่ ที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 9 จังหวัด เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านพื้นที่สูงกว่าตลิ่ง ได้แก่ จังหวัดแพร่ ลำปาง ชัยภูมิ พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา ดังนี้
2.1 จังหวัดแพร่ น้ำในแม่น้ำยมเอ่อล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ ตำบลวังชิ้น (หมู่ที่ 1-11) อำเภอวังชิ้น ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม. ระดับน้ำลดลง
2.2 จังหวัดลำปาง น้ำในแม่น้ำวังเอ่อล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรพื้นที่การเกษตร ใน 4 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง น้ำที่ท่วมบริเวณตลาดจีน สะพานเสตุวารี ชุมชนบ้านท่ามะโอ ศาลเจ้าแม่สุชาดา หลังค่ายสุรศักดิ์มนตรี มทบ.32 ไปจนถึงสะพานช้างเผือก ตั้งแต่หัวสะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี (ชุมชน วัดเกาะ) และถนนเลียบแม่น้ำวังสองฝั่ง ระดับน้ำลดลงเกือบเข้าสู่ภาวะปกติ ยังคงมีน้ำขังในที่ลุ่มต่ำ ซึ่งได้เร่งสูบน้ำสูงออกจากพื้นที่แล้ว (วันที่ 25 ก.ย.49 เวลา 06.00 น. เขื่อนกิ่วลมได้ระบายน้ำออกจากเขื่อน 273 ลบ.ม./วินาที)
2) อำเภอสบปราบ น้ำได้เอ่อล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรใน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลแม่กัว ตำบลนายาง และตำบลสมัย ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
3) อำเภอเถิน มีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลแม่วะ และตำบลเถินบุรี ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
4) อำเภอแม่พริก มีน้ำท่วมขัง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลแม่พริก ตำบลพระบาทวังตวง และตำบลแม่ปุ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
2.3 จังหวัดชัยภูมิ น้ำในแม่น้ำชีหนุนเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 2 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง มีน้ำท่วมขัง 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองนาแซง ตำบลชีลอง ตำบลโคกสูง ตำบลบุ่งคล้า ตำบลหนองไผ่ และตำบลบ้านค่าย ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.40 ม. ระดับน้ำลดลง
2) อำเภอบ้านเขว้า มีน้ำท่วมขัง 1 ตำบลได้แก่ ตำบลลุ่มลำชี (หมู่ที่ 2, 4, 5, 9, 10, 14, 16, 17, 22) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม. ระดับน้ำลดลง
2.4 สำหรับจังหวัดในลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่าน รวม 4 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ริมแม่น้ำ และพื้นที่การเกษตรในที่ลุ่มที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ได้แก่
- จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางระกำ 6 ตำบล (ต.บางระกำ ต.ชุมแสงสงคราม ต.คุยม่วง ต.ท่านางงาม ต.นิคมพัฒนา และต.วังอิทก) อำเภอพรหมพิราม 3 ตำบล (ต.ท่าช้าง ต.หนองแขม และต.พรหมพิราม) ระดับน้ำทรงตัว
- จังหวัดสุโขทัย จำนวน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 9 ตำบล (ต.ยางซ้าย ต.ปากพระ ต.เมืองเก่า ต.บ้านสวน ต.บ้านหลุม ต.ตาลเตี้ย ต.วังทองแดง ต.ปากแคว และต.บ้านกล้วย) อำเภอกงไกรลาศ 11 ตำบล 1 เทศบาล (ต.ท่าฉนวน ต.บ้านกร่าง ต.กง ต.ป่าแฝก ต.หนองตูม ต.ไกรกลาง ต.ไกรใน ต.กกแรต ต.บ้านใหม่สุขเกษม ต.ไกรนอก ต.ดงเดือย และเทศบาลตำบลบ้านกร่าง) อำเภอคีรีมาศ 6 ตำบล (ต.บ้านป้อม ต.ทุ่งหลวง ต.หนองจิก ต.สามพวง ต.หนองกระดิ่ง และต.โตนด)
- จังหวัดพิจิตร จำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 8 ตำบล (ต.ในเมือง ต.ฆะมัง ต.บ้านบุ่ง ต.ปากทาง ต.ย่านยาว ต.สายคำโห้ ต.ป่ามะคาบ และต.หัวดง) อำเภอสามง่าม 3 ตำบล (ต.รังนก ต.กำแพงดิน และต.สามง่าม) อำเภอวชิรบารมี 3 ตำบล (ต.วังโมกข์ ต.หนองหลุม และต.บ้านนา) อำเภอโพธิ์ประทับช้าง 1 ตำบล (ต.วังจิก)
- จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 8 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลนครนครสวรรค์ ต.เกรียงไกร ต.พระหลวง ต.บึงเสนาท ต.แควใหญ่ ต.วัดไทรย์ ต.บ้านแก่ง ต.กลางแดด และ ต.สวรรค์ออก) อำเภอชุมแสง 11 ตำบล (ต.โคกหม้อ ต.บางเคียน ต.ท่าไม้ ต.ฆะมัง ต.พิกุล ต.หนองกระเจา ต.พันลาน ต.เกยไชย ต.ทับกฤชใต้ ต.ทับกฤช และต.ไผ่สิงห์) อำเภอหนองบัว 2 ตำบล (ต.ห้วยร่วม และต.ห้วยถั่วเหนือ) อำเภอเก้าเลี้ยว 1 ตำบล (ต.หนองเต่า) อำเภอโกรกพระ 4 ตำบล (ต.ยางตาล ต.โกรกพระ ต.บางมะฝ่อ ต.บางประมุง อำเภอพยุหะคีรี 3 ตำบล (ต.ยางขาว ต.น้ำทรง และต.ย่านมัทรี) ระดับน้ำสูงเฉลี่ยประมาณ 0.50-0.80 ม. มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนการให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ นั้น ทุกหน่วยงานยังคงปฏิบัติงานการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง
๏ ระดับน้ำในแม่น้ำยม ที่ฝายบางบ้า อำเภอบางระกำ เมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 25 ก.ย.49 ระดับน้ำสูง 42.73 ม. (ระดับตลิ่ง 40.50 ม.) ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 2.23 ม.
๏ ระดับน้ำในแม่น้ำยม เมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 25 ก.ย.49 ที่สถานี Y.33 อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 10.94 ม. (ระดับตลิ่ง 10.00 ม.) สูงกว่าตลิ่ง 0.94 ม. ที่สถานี Y.4 อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 6.63 ม. (ระดับตลิ่ง 7.45 ม.) ต่ำกว่าตลิ่ง 0.82 ม. และที่ฝายยางบ้านกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 10.31 ม. (ระดับตลิ่ง 9.00 ม.) สูงกว่าตลิ่ง 1.31 ม.
2.5 จังหวัดอ่างทอง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรพื้นที่การเกษตร ที่อยู่ติดริมน้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง เกิดน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรพื้นที่การเกษตร 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลจำปาหล่อ (หมู่ที่ 1-6) ตำบลบ้านอิฐ (หมู่ที่ 10 ) และตำบลย่างซื่อ (หมู่ที่ 1,3,4) ตำบลบ้านแห (หมู่ที่ 6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
2) อำเภอป่าโมก มีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลโผงเผง (หมู่ที่ 1-8) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.20 ม. ตำบลบางปลากด (หมู่ที่ 6) และตำบลบางเสด็จ (หมู่ที่ 2,3,5,6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
3) อำเภอไชโย มีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร 6 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ตำบลซะไว (หมู่ที่ 1-3) ตำบลตรีณรงค์ (หมู่ที่ 1-3) เทศบาลตำบลจระเข้ร้อง หมู่ที่ 2,4,7) ตำบลชัยฤทธิ์ (หมู่ที่ 1) ตำบลหลักฟ้า (หมู่ที่ 1,2) ตำบลไชยภูมิ (หมู่ที่ 6) ตำบลเทวราช (หมู่ที่ 1-7) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
4) อำเภอแสวงหา มีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร 1 ตำบล ได้แก่ตำบลบ้านพราน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
2.6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อยมีระดับสูงขึ้นเอ่อล้น เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่มริมฝั่งบางจุดใน 4 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอบางบาล น้ำในแม่น้ำน้อยได้เอ่อท่วมในพื้นที่บ้านเรือนราษฎรริมน้ำ และพื้นที่การเกษตร 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลน้ำเต้า (หมู่ที่ 1-4) ตำบลทางช้าง (หมู่ที่ 1-6) ตำบลวัดตะกู (หมู่ที่ 1-9) และตำบลบางหลวง (หมู่ที่ 1-5) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.60 ม.
2) อำเภอบางไทร น้ำในแม่น้ำน้อยได้เอ่อท่วมในพื้นที่บ้านเรือนราษฎรริมน้ำ และพื้นที่การเกษตร 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลกระแชง (หมู่ที่ 1,2,3,5) และตำบลช้างน้อย (หมู่ที่ 1-5) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.70-0.80 ม.
3) อำเภอผักไห่ ระดับน้ำในแม่น้ำน้อยเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ตำบลท่าแดง (หมู่ที่ 3,5,6,8) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
4) อำเภอเสนา น้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมพื้นการเกษตรใน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลรางจระเข้ ตำบลบ้านกระทุ่ม ตำบลสามกอ และตำบลหัวเวียง
3. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 01.00 น วันที่ 24 ก.ย.49 ถึง 01.00 น วันที่ 25 ก.ย.49 วัดได้ ดังนี้
จังหวัดนครสวรรค์ (อ.ตากฟ้า) 32.0 มม.
จังหวัดพังงา (อ.ตะกั่วป่า) 26.7 มม.
จังหวัดอุบลราชธานี (อ.เมือง) 25.1 มม.
จังหวัดจันทบุรี (อ.ขลุง) 13.3 มม.
จังหวัดปัตตานี (ท่าอากาศยานปัตตานี) 9.4 มม.
4. กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 11(147/2549) เรื่อง พายุดีเปรสชั่นในทะเลจีนใต้ ออกประกาศเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2549 เวลา 04.00 น. ดังนี้
พายุดีเปรสชั่นในทะเลจีนใต้ เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (25 กันยายน 2549 ) มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 350 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดนครพนม หรือ ที่ละติจูด 17.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 107.8 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกค่อนทางเหนือด้วยความเร็ว 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเล อันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ด้านตะวันตกของประเทศ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนเพิ่มมากขึ้น ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณพื้นที่ลุ่ม พื้นที่ลาดเชิงเขา และใกล้ทางน้ำไหลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และหนองบัวลำภู ภาคใต้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และพังงา ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก สำหรับคลื่นลมในอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือในระยะ 1-2 วันนี้ อนึ่ง ประชาชนที่มีบ้านเรือนอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำสายต่างๆ ในภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน ซึ่งได้แก่บริเวณจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท และอุทัยธานี ยังคงต้องระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วม และน้ำล้นตลิ่งต่อไปอีกระยะหนึ่งเนื่องจาก มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น
5. สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประกาศแจ้งเตือนให้ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1-12 รวมทั้งจังหวัดในพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดภัย ให้เตรียมพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และโคลนถล่ม ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานงานกับ อำเภอ กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นในจังหวัดใด ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ฯ ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนั้นจัดเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลเข้าสนับสนุนทันที
6. ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตาม และรายงานให้ทราบต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ