หัวเว่ยคาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยีโทรคมนาคมอนาคต

ข่าวเทคโนโลยี Thursday January 29, 2009 16:16 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 ม.ค.--หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา วงการสื่อสารโทรคมนาคมได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากความต้องการของผู้ใช้งาน การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และรูปแบบการทำธุรกิจ โดยในปี 2552 นี้ วงการโทรคมนาคมทั่วโลกอาจต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งใหม่จากวิกฤติเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากกว่าจะเป็นผู้อยู่รอดในการแข่งขันครั้งนี้ หัวเว่ย เทคโนโลยี่ในฐานะผู้นำในการจัดหาโซลูชั่นล้ำสมัยสำหรับเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมแก่ผู้ประกอบการทั่วโลก ได้คาดการณ์ถึงแนวโน้มของเทคโนโลยีในวงการโทรคมนาคมในปี 2552 เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการเตรียมตัวรับสถานการณ์และชิงความได้เปรียบเหนือคู่แข่งในตลาด - การเปลี่ยนมาใช้เครือข่าย All IP ที่มีความน่าเชื่อถือและมีเสถียรภาพสูงจะเพิ่มความคุ้มทุนและความสามารถในการขยายเครือข่าย โดยสามารถใช้ได้ทั้งกับการให้บริการบนเครือข่ายพื้นฐานและเครือข่ายไร้สาย - โซลูชั่นที่ช่วยลดต้นทุนการให้บริการ เนื่องจากความต้องการค่าบริการราคาถูก (ARPU) จะผลักดันให้ผู้ให้บริการสร้างสรรค์บริการใหม่ๆเพื่อดึงดูดลูกค้าแต่ในขณะเดียวกันตัวผู้ให้บริการเองก็ต้องการคงกำไรต่อเลขหมายไว้ให้เท่าเดิม - บริการโมบายบรอดแบนด์หรือบริการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือสามารถใช้เชื่อมต่อกับข้อมูลได้แล้วโดยการมอบประสบการณ์การเชื่อมต่อกับข้อมูลด้วยความเร็วสูงให้กับผู้ใช้บริการนั้นเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง ผู้ให้บริการควรตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากความซับซ้อนที่เพิ่มมากขึ้นในการเลือกสถานที่ติดตั้ง, การกระจายเครือข่ายเกตเวย์, ระบบจัดการสัญญาณ, และการปฏิบัติการและการบำรุงรักษา ดังนั้นหัวเว่ยจึงมุ่งเน้นพัฒนาสถานีฐานและเกตเวย์ให้มีขนาดเล็กลงรวมถึงการพัฒนาเครือข่ายที่สามารถจัดระบบตัวเองได้ ใช้งานง่ายเพียงแค่เชื่อมต่อก็สามารถใช้งานได้ทันที ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยลดปัญหาสัญญาณครอบคลุมพื้นที่เมืองที่มีประชากรหนาแน่น - ระบบการจัดการข้อมูลแบบเสมือน (Virtual Computer) จากเดิมที่ผู้ใช้บริการต้องเสียเงินจำนวนมหาศาลในการซื้ออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มาใช้ ระบบการจัดการข้อมูลแบบเสมือนจะช่วยให้ผู้ประกอบการประหยัดต้นทุนและประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก เพราะสามารถเข้าถึงบริการผ่านช่องทางออนไลน์ อาทิ บริการเช่าใช้ซอฟท์แวร์ (Software as a service: SaaS) บริการเช่าใช้แพลตฟอร์ม (Platform as a service: Paas) และบริการเช่าใช้โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure as a Service: Ias) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการข้อมูลแบบเสมือน - การเพิ่มมูลค่าบรอดแบนด์ การใช้งานบรอดแบนด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบันส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายในการทำงานและต้นทุนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงอาจต้องขาดทุนเนื่องจากรายได้จากบริการไม่คุ้มกับต้นทุนที่เสียไป เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ผู้ประกอบการต้องมีการบริหารการไหลเข้าออกของข้อมูลที่ชาญฉลาดเพื่อให้การใช้งานแบนด์วิธได้ประโยชน์สูงสุด รวมถึงวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคโดยดูจากการใช้งานเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้เพิ่มเติมให้แก่ บรอดแบนด์ - บริการคอนเทนต์และสื่อ ในปัจจุบันเครือข่ายได้เปลี่ยนจากเครื่องมือสำหรับการสื่อสารเป็นเครือข่ายพื้นฐานที่รวมทุกองค์ประกอบของสังคมเข้าไว้ด้วยกันซึ่งจะนำไปสู่ตลาดมูลค่าหลายล้านล้านเหรียญสหรัฐสำหรับนักธุรกิจที่ให้บริการบนอินเทอร์เน็ต ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้ผู้ให้บริการพยายามที่จะเพิ่มคอนเทนต์และบริการสื่อ แต่การให้บริการเหล่านี้ต้องการการโต้ตอบจากผู้ใช้ซึ่งถือเป็นความท้าทายของผู้ให้บริการแบบเดิมๆ คอนเทนต์ที่ผู้ใช้บริการสร้างเองจะกลายเป็นความต้องการของตลาด ซึ่งการจะให้บริการคอนเทนต์นี้จำเป็นต้องใช้เครือข่ายที่ช่วยลดต้นทุน ทั้งนี้ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแนวโน้มดังกล่าวมาจากคอนเซปท์ของคำว่า “โลกแห่งเครือข่าย” ซึ่งปรกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ การถึงจุดอิ่มตัวของการใช้โทรศัพท์มือถือ ความต้องการใช้บรอดแบนด์ในทุกสถานที่ ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลที่มีความซับซ้อนได้โดยไม่จำเป็นต้องซื้อซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ราคาแพงมาใช้ และการไหลบ่าของข้อมูลดิจิตอล - การถึงจุดอิ่มตัวของการใช้โทรศัพท์มือถือ - ในปลายปี 2551 จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 3,500 ล้านคนและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 5 พันล้านคนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งมากกว่า 1 พันล้านคนนั้นเป็นจำนวนจากผู้ใช้ในตลาดเกิดใหม่ จากจำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้เองจะทำให้ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำในการใช้งานลดน้อยลง - ความต้องการใช้บรอดแบนด์ในทุกสถานที่ — อีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะเห็นการเพิ่มขึ้นของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นอย่างมาก โดยในปี 2556 จะมีจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ใช้สายนั้นเพิ่มขึ้นกว่า 300 ล้านคนซึ่งเป็นสองเท่าของจำนวนผู้ใช้ในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไร้สายจะเพิ่มขึ้นกว่า 1,200 ล้านคนซึ่งเป็นผลมาจากการใช้เทคโนโลยี HSPA บรอดแบนด์จะช่วยให้เกิดการรวมกันของโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์พีซี และอุปกรณ์สื่อสารไร้สายต่างๆ - ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลที่มีความซับซ้อนได้โดยไม่จำเป็นต้องซื้อซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ราคาแพงมาใช้ หรือที่รู้จักกันในชื่อของเทคโนโลยีCloud computing เนื่องจากการเชื่อมต่อข้อมูลกลายเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับผู้ใช้บริการ cloud computing จะทำให้กำแพงระหว่างสังคมที่มีข้อมูลกับสังคมที่ไม่มีข้อมูลทลายลง - การไหลบ่าของข้อมูลดิจิตอล — ปริมาณของข้อมูลดิจิตอลในแต่ละปีจะเพิ่มขึ้นถึง 1,000 เอ็กซาไบต์ (exabyte) โดย 1 เอ็กซาไบต์ เท่ากับ 1018 ไบต์ โครงสร้างของข้อมูลจะเต็มไปด้วยการไหลเข้าออกของข้อมูลซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าหรืออาจเป็น 100 เท่า ทั้งหมดนี้เป็นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในวงการโทรคมนาคมที่ผู้ประกอบการทั่วโลกต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดเพื่อพัฒนาบริการและผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในอนาคต เกี่ยวกับหัวเว่ย เทคโนโลยี่ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ จำกัด เป็นผู้นำทางด้านโซลูชั่นเครือข่ายโทรคมนาคมที่ทันสมัย โดยให้บริการแก่ผู้ประกอบการ 36 แห่งจาก 50 บริษัทชั้นนำของโลก และมีผู้ใช้บริการมากกว่า 1 พันล้านคน บริษัทได้ทุ่มเทเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์นวัตกรรม บริการ พร้อมเสนอโซลูชั่นที่ช่วยเพิ่มมูลค่าและประสิทธิภาพในระยะยาวให้แก่ลูกค้า สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.huawei.com สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ คุณบุศยรินทร์ เสตะจันทน์ปิติ คุณธิดา ดำรงสุทธิศิลป์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด โทร: 0 2695 7400 ต่อ 5241, 5203 โทรสาร: 0 2 654 3300 อีเมล: bussayarins@huawei.com, thida@huawei.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ