ไอดีซี คาดการณ์ 10 อันดับแนวโน้มตลาดโทรคมนาคม ปี พ.ศ. 2552 คาดว่า ยังเห็นการลงทุนอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมนี้ แม้เศรษฐกิจจะ ซบเซา

ข่าวทั่วไป Tuesday February 10, 2009 16:45 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 ก.พ.--ไอดีซี ปี พ.ศ. 2552 ธุรกิจบริการโทรคมนาคม และ ธุรกิจอุปกรณ์เครือข่ายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไม่รวมญี่ปุ่น มีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหา เศรษฐกิจที่ซบเซาซึ่งจะกินเวลาเกือบทศวรรษ อย่างไรก็ดีไอดีซีเชื่อว่าผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ ทั่วทั้งภูมิภาคจะปรับตัวให้อยู่รอดในช่วงเศรษฐกิจขาลงต่ำสุดเช่นนี้ เนื่องจากบริษัทโทรคมนาคมและ องค์กรขนาดใหญ่มุ่งเน้นลงทุนในโครงการต่างๆ เชิงกลยุทธ์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างนวัตกรรมการ ให้บริการและสินค้าใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้องค์กรดังกล่าวล้ำหน้าคู่แข่งได้เสมอ เป็นการเพิ่มส่วน แบ่งรายได้จากการใช้จ่ายของลูกค้าให้กับตนเอง และ การรองรับความเร็วในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็น เหตุผลทำให้ต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนในปัจจุบัน และ ลดค่าใช้จ่ายของไอทีโดยรวมลง “ในระยะยาว ภาพรวมของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ยังคงอยู่ในระดับที่ยังฝากความหวังไว้ได้ ตัวอย่างเช่น ไอดีซีไม่มีการคาดการณ์ว่า บริษัทโทรคมนาคม และ องค์กรขนาดใหญ่ จะมีการสั่งให้หยุดการลงทุน” กล่าวโดย นายเอเดรียน โฮ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยด้านบริการบริหารจัดการระบบและกลุ่มอุปกรณ์เครือข่าย ประจำไอดีซี เอเชียแปซิฟิก “ในเวลาที่เศรษฐกิจซบเซาเช่นนี้ เราคาดว่าบริษัทโทรคมนาคมยังคง ลงทุนต่อเนื่องในเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใหม่ๆ และ โครงสร้างการติดต่อสื่อสารบนเทคโนโลยีไอพี และ ขณะที่องค์กรธุรกิจต่างๆ มุ่งเน้นลงทุน เทคโนโลยี ที่ช่วยทำให้เขาให้ประโยชน์ได้สูงสุดจากไอทีและทำให้การบริหารต้นทุนมีประสิทธิภาพขึ้น จากการใช้ เครื่องมือต่างๆ ร่วมกัน การใช้ซอฟท์แวร์ในการให้บริการ (SaaS) หรือ การใช้เครือข่ายดาต้าเซนเตอร์” การตอบรับทันทีต่อสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัวในปัจจุบัน ยังคงมุ่งเน้นที่ด้านบริหารจัดการต้นทุน ไม่ ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่หรือเล็กจะมีความระมัดระวังมากขึ้น ในเรื่องการควบคุมค่าใช้จ่ายทั่วไป รวมถึง ด้านไอซีที การบริหารต้นทุนเป็นเรื่องสำคัญในการต่อสู้กับพายุเศรษฐกิจในขณะนี้ แต่จะเป็นโอกาสที่ ช่วยสร้างความแข็งแกร่งและเติบโตในระยะยาวของภูมิภาคนี้ โดยการลงทุนก็ยังคงมีอยู่ต่อไป ไอดีซีคาดว่า ตลาดบริการโทรคมนาคมในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่น จะมีมูลค่าสูงถึง 253 พัน ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2552 โดยมีอัตราการเติบโตที่ 8.9% การใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์ เครือข่ายสำหรับองค์กรคาดว่าจะมีอัตราการเติบโต 9% ในปี พ.ศ. 2552 มีมูลค่าถึง 10.3 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ ปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตนี้ส่วนหนึ่งมาจากการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องในเรื่องของเครือ ข่ายดาต้าเซ็นเตอร์ และ การเปลี่ยนระบบการติดสื่อสารทั้งหมดไปใช้งานบนเทคโนโลยีไอพี ด้านการ ใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์การสื่อสารสำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคม คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตในระดับ ปานกลางที่ 3.9% คิดเป็นมูลค่าโดยรวมที่ 52.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ “ผู้นำของอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีผู้ชำนาญงานช่วยสร้างแผนการดำเนินธุรกิจตลอดปี พ.ศ. 2009” นายเอเดรียน โฮ กล่าวเสริม “เราคาดว่าจะมีการเติบโตในส่วนที่เป็นการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน และบริการโทรคมนาคม ซึ่งจะพบว่าค่าใช้จ่ายจากการที่ไม่ทำอะไรเลยจะกลายเป็นต้นทุนที่สูงที่สุด ทุกๆ ฝ่ายควรที่จะลงมือทำและวางแผนฟื้นฟูเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้” จากนี้จะเป็นการคาดการณ์ 10 อันดับสำคัญ ที่่ไอดีซีเชื่อว่าจะเป็นรูปแบบของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี สารสนเทศ ในปี พ.ศ. 2552 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไม่รวมญี่ปุ่น การคาดการณ์นี้ได้แสดงผลจาก กระแสหลักไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อผลกระทบทางด้านการเงิน หรือ ในแง่ผลกระทบระยะยาว ต่อตลาดทั่วภูมิภาค 1. การทบทวนกลยุทธ์ของผู้ให้บริการในสถานการณ์ที่ตกต่ำและการวางแผนที่จะฟื้นตัว การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมต่างๆ ในมุมที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับส่วนแบ่งทางการตลาดและความมั่นคงทางการเงิน การคาดการณ์อย่างแรกนี้ วิเคราะห์ถึงผล กระทบจากภาวะที่เลวร้ายในภาคการเงินที่มีต่อผู้ให้บริการโทรคมนาคม ผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่าย และ การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุกต์ใช้งาน ภายใต้สถานการณ์จำลองสองรูปแบบ ได้แก่ สถานการณ์ เศรษฐกิจถดถอย และ สถานการณ์เศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงในระดับเศรษฐกิจถดถอย ไอดีซีคาดว่า ผู้บริโภคจะระมัดระวังในการสมัครสมาชิกกับบริการใหม่ๆ กลุ่มบริษัทขนาดเล็ก และ องค์กรธุรกิจขนาด ใหญ่จะลดงบประมาณของค่าใช้จ่ายลง ในเรื่องของการมีแบนด์วิธใหม่ และ เรื่องโครงสร้างเครือข่าย สำหรับระดับการเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงนั้น ตลาดจะมีลักษณะของการมีผู้ว่างงานสูงมาก มีการล้ม ละลายในกลุ่มบริษัทขนาดเล็ก และ ในระดับองค์กรธุรกิจ สิ่งเหล่านี้จะส่งผลถึงการหดตัวของการใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการใช้แบนด์วิธและอุปกรณ์เครือข่าย ซึ่งจะทำให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมชะลอ การนำเสนอเทคโนโลยีใหม่เนื่องจากผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อออกไป 2. การทำ Virtual Collaboration จะเกิดขึ้นในช่วง ปี พ.ศ. 2552 การเพิ่มของการกระจายตัวขององค์กรและการทำงาน งบประมาณที่จำกัดในค่าเดินทางและการตัดงบ ประมาณสำหรับการรับสมัครพนักงาน ล้วนเป็นเรื่องที่ท้าท้ายต่อการดำเนินงานและความร่วมมือที่จะทำ ให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้บีบบังคับให้องค์กรต้องพึ่งพาเทคโนโลยีที่สามารถ สร้างให้เกิดการผสานร่วมมือกันได้ จากผลของการสำรวจของไอดีซี เรื่อง Unified Communications และ X.0 in Enterprise ประจำปี พ.ศ. 2551 ชี้ให้เห็นว่า มีความต้องการการทำงานร่วมกัน ของเครื่องมือต่างๆ ที่มีอยู่ในองค์กรอย่างมาก และเป็นตัวสำคัญที่จะทำให้การวมการสื่อสารให้เป็นหนึ่ง ภายในองค์กรสามารถทำได้จริงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่น 3. ทุกสิ่งทุกอย่างจะพูดถึงกันแต่ Virtualization และ Optimization สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ ขององค์กรยุคต่อไป องค์กรแทบทุกองค์กรจะมีต้นทุน จากระบบปฎิบัติงานของดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นส่วนหนี่งของการใช้ ทรัพยากรและมี่ค่าใช้จ่ายที่สูงมากในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้จัดการด้านไอทีต้องเผชิญกับความท้าทาย ที่จะรักษาความสมดุลระหว่างการทำให้ต้นทุนการปฏิบัติงานที่ต่ำลงและต้องพัฒนาประสิทธิภาพของการทำงานให้สูงขึ้น ไอดีซีเชือว่าองค์กรที่คุ้นเคยกับเซิร์ฟเวอร์และสตอเรจเวอร์ชวลไลเซชั่น จะเริ่มนำเอา เทคโนโลยีนี้ไปใช้กับระบบเครือข่ายการติดต่อสื่อสารของตนเองเพื่อลดต้นทุน โดยเรื่องระบบเครือข่าย จะเป็นประเด็นสำคัญในลำดับถัดไปสำหรับการทำดาต้าเซนเตอร์เวอร์ชวลไลเซชั่น 4. การแก้ปัญหาเรื่องเครือข่ายเต็ม : Femtocells จะช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับผู้ให้บริการ จากการที่ตลาดได้เข้าสู่ยุคเชื่อมต่อ "เมื่อไรก็ได้ ที่ไหนก็ได้" ผู้คนจำนวนมากขึ้นต้องพึ่งพิงกับอุปกรณ์ พกพาประเภทต่างๆ เพื่อทำให้งานของเขาสำเร็จลุล่วง ผู้ให้บริการโทรคมนาคมแทบทั้งหมด ตระหนัก ถึงกระแสนี้ และ พยายามที่จะนำเสนอบริการที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้งาน เพื่อเป็นการสร้างความแตกต่างให้ เกิดขึ้นและเพื่อที่จะเป็นที่สะดุดตาของผู้ใช้งาน ผู้ให้บริการกำลังมองหาทางที่จะพัฒนาการขยายพื้นที่ ให้ครอบคลุม สำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่ได้รับอนุญาตหั้บริการโทรคมนาคมทั้งประเภท ไร้สาย และ มีสาย รวมถึงมีแหล่งเงินทุนเพียงพอที่จะอัพเกรดเครือข่ายของตนเอง ไอดีซี เชื่อว่า Femtocells (เฟมโตเซล) จะเป็นโซลูชั่นทางเลือกในเรื่องของส่วนต่อขยายเพื่อเพิ่มพื้นที่ของบริการให้ครอบคลุม 5. ยุคของสถานีวิทยุพื้นฐานที่ปรับแต่งได้ โดยใช้ Software-Defined Radios ข้อท้าทายอีกข้อหนึ่ง ที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมสมัยใหม่กำลังเผชิญอยู่ ได้แก่การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่าย สำหรับการขยายพื้นที่ให้บริการไม่ว่าบรอดแบนด์ไร้สาย หรือ มีสาย อุปกรณ์การบริหารจัดการสถานีฐาน หลายแห่งพร้อมกันไม่ว่าจะมาจากผู้ค้ารายเดียวหรือหลายราย เริ่มที่จะไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย ในยุคนี้ที่ผู้ ประกอบการต่างแข่งขันกันเรื่องของพื้นที่การให้บริการที่ครอบคลุม สถานีฐานย่อยต่างๆ กำลังเป็นสิ่งที่ แสดงถึงทรัพย์สินถาวรในบัญชี อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงโอกาสของการสร้างรายได้ให้กับบริษัทอีกด้วย ไอดีซีเชื่อว่า การใช้ซอฟท์แวร์ ดีฟายน์ เรดิโอ (SDR) ซึ่งเป็นซอฟท์แวร์ที่ จะมีความยืดหยุ่น และ ช่วยเสริมหน้าที่การทำงานต่างๆ ได้ดีเมื่อเทียบกับ อุปกรณ์ที่ต้องลากสาย ทั้งยังสามารถช่วยให้ผู้ให้ บริการสามารถบริหารสถานีฐานได้สะดวกมากขึ้น 6. ทางเลือกของ Broadband สำหรับรธุรกิจขนาดเล็ก Broadband ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ เคลื่อนที่ และ Broadband ไร้สาย - WiMax และ HSPA ธุรกิจขนาดเล็กหลายแห่งได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการให้บริการเครือข่าย 3G และ บริการ Broadband ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยใช้เทคโนโลยี HSPA สิ่งนี้จะช่วยทำให้ธุรกิจดำเนินงานง่ายขึ้น เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายของการติดตั้ง Broadband ผ่านสายโทรศัพท์บ้านที่มีราคาแพง ถึงแม้ว่าเครือข่าย WiMax จะสามารถให้บริการได้ดีเช่นเดียว กับ HSPA หรือ HSDPA แต่เทคโนโลยีนี้จะเกิดประโยชน์ สูงสุดเมื่อมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เหมาะสม และพื้นที่ขอบเขตการให้บริการครอบคลุมได้อย่างทั่วถึง เท่านั้น 7. การเปลี่ยนโครงข่ายหลักของโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้เทคโนโลยี IP ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในปัจจุบันกำลังเจอปัญหาท้าทายด้านการติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายยุคหน้า (NGN) ซึ่งสามารถนำเสนอบริการที่มีความยืดหยุ่นขยายตัวได้ ไม่ว่าจะเป็นบริการค่าบริการในอัตราคงที่ หรือคิดค่าบริการตามการใช้งานที่เกิดขึ้นจริง เพื่อที่จะดึงดูดความสนใจผู้ใช้งาน ถ้าไม่มีการปรับเพิ่ม หรือ ลด bandwidth ของการให้บริการแล้ว ผู้ให้บริการโทรคมนาคมจะไม่สามารถบริหารจัดการ OPEX และ CAPEX ได้ และอาจพบว่าผู้ให้บริการฯ จะอยู่ในสถานะที่พร้อมหรือไม่ ที่จะแข่งขันทางด้านการ นำเสนอบริการด้านข้อมูลบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งเต็มไปด้วยมัลติมีเดีย ด้วยข้อจำกัดเรื่อง bandwidth ไอดีซี เชื่อว่าเหตุผลเหล่านี้เพียงพอที่จะทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องเปลี่ยนโครงข่ายของ ตนเองไปสู่เทคโนโลยี IP 8. การบริหารจัดการเครือข่ายต่างๆ จากศูนย์กลาง ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่มีเครือข่ายที่หลากหลายต้องเผชิญกับความ ท้าทายในการค้นหาแนวทางที่จะทำให้การบริหารจัดการเครือข่ายของตนเอง ให้มีรูปแบบการบริหารจาก ศูนย์กลาง ขณะเดียวกันก็ต้องรักษาคุณภาพของการให้บริการ และ ต้องรักษาการเติบโตของฐานลูกค้า ด้วย ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต่างๆ ยังต้องอยู่ภายใต้ความกดดันอย่างมาก ที่ต้องสร้างผลกำไรให้ได้ และต้องสร้างกระบวนการทางธุรกิจและการจัดการเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ สถานการณ์ทั่วไปของผู้ให้ บริการโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีศูนย์บริหารจัดการเครือข่าย (NOC) ที่มีลักษณะกระจัด กระจายแบ่งตามประเภทบริการ ซึ่งถ้ามีการใช้อุปกรณ์มากกว่าหนึ่งยี่ห้อก็จะทำให้ผู้ให้บริการจำเป็นต้อง มี NOC แยกตามยี่ห้อนั้นๆ อีกด้วย จากเหตุผลดังกล่าว ไอดีซี เห็นว่าการใช้การควบรวม NOC ต่างๆ ให้อยู่ภายใต้ศูนย์ปฏิบัติการแห่งเดียวจะเป็นเรื่องสำคัญลำดับต่อไป และ เป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่การ ปฎิวัติการมีโครงสร้างพื้นฐาน และ โครงข่ายยุคใหม่ 9. การคืนชีพอีกครั้งของ Software as a Service (SaaS) Software as a Service ประสบความล้มเหลวจากที่เริ่มต้นผิดตั้งแต่แรก จากการที่ถูก Salesforces.com ทำให้เป็นที่นิยม สิ่งนี้มาจากหลากหลายเหตุผลดังต่อไปนี้ การคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล bandwidth ที่มารองรับสำหรับองค์กรที่มีการใช้งานแอพพลิเคชั่นจำนวนมาก และขาดผู้ให้บริการที่มีชื่อ เสียงเข้ามาผลักดันแนวคิดนี้ให้เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ จากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาทั่วโลกได้ส่งผลกระทบ ต่อผู้ให้บริการในอุตสาหกรรมนี้ต้องมีแผนในการบริหารจัดการต้นทุน นำเสนอกรอบในการเปลี่ยนจาก CAPEX ให้เป็น OPEX สิ่งนี้ได้สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ สำหรับ SaaS ให้กลับมาฟื้นคืนชีพอีกครั้ง ด้วยการใช้ต้นทุนการดำเนินการที่ค่อนข้างต่ำ และ ความง่ายในการปรับเพิ่มหรือลดขนาดของการให้ บริการ SaaS เพื่อดึงความสนใจให้เกิดในหมู่ผู้ใช้งาน ดังนั้น ผู้ให้บริการจำนวนมาก อาทิเช่น Cisco HP และ IBM กำลังเข้ามาในตลาดนี้และกำลังนำเสนอแนวคิดนี้ให้กับลูกค้าของตนเองอีกด้วย 10. ยุคเริ่มต้นของ Optical Multiplexer ที่สามารถปรับลดขนาดหรือปรับแต่งได้ (ROADM) ผู้ให้บริการโทรคมนาคมประเภทสายกำลังพบกับความท้าทาย ด้านความต้องการใช้บริการจากผู้ใช้งาน กลุ่มครัวเรือน และ กลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นองค์กรธุรกิจ อัตราการเติบโตของการใช้ bandwidth กำลังสูงขึ้น มากกว่าที่ผ่านมา การนำเสนอผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องของ Standard Definition TV (SDTV) High Definition TV (HDTV) Video on Demand (VOD) และ Metro Ethernet กำลังบังคับให้ ผู้ให้บริการต้องจัดหาเครือข่ายสำหรับการรับส่งข้อมูลในปริมาณมากๆ สิ่งต่างๆ เหล่านี้กำลังเป็นฝันร้าย ของการบริหารจัดการโครงข่าย ดังนั้นผู้ให้บริการโทรคมนาคมกำลังหาโซลูชั่นที่ชาญฉลาดเพื่อเข้ามา แก้ปัญหานี้ ไอดีซี เชื่อว่า Reconfigurable Optical Add-Drop Multiplexer (ROADM) อาจจะเป็นแนวทางหนึ่งที่ดีกว่าสำหรับการบริหารจัดการโครงข่าย การคาดการณ์ 10 อันดับที่สำคัญด้านโทรคมนาคมประจำปี ของ ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่น เกิดขึ้นมาจากข้อมูลวิจัยล่าสุดของ ไอดีซี และ การประชุมร่วมกันของทีมงานนักวิเคราะห์ทั่วโลกของ ไอดีซี ที่มีมากกว่า 900 คน โดยสิ่งเหล่านี้จะได้รับการคัดกรองจากทีมในแต่ละภูมิภาค โดยให้น้ำหนัก ในเรื่องของ เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม พฤติกรรมผู้ใช้งาน แนวทางการดำเนินธุรกิจของ ผู้ค้า และ ภาวะเศรษฐกิจ นำมาประกอบการพิจารณาเพื่อค้นหาแนวโน้มของเทคโนโลยี ที่จะส่งผล กระทบและช่วยส่งเสริมตลาดโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้น ญี่ปุ่นสำหรับปี พ.ศ. 2552 นี้ เกี่ยวกับ IDC ไอดีซี เป็นบริษัทที่ปรึกษา และวิจัยข้อมูลการตลาดชั้นนำระดับโลก ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ (IT) โทรคมนาคม (Telecommunication) และ คอนซูเมอร์เทคโนโลยี โดยนำเสนอข้อมูลจากการ วิเคราะห์ เจาะลึก แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ผู้บริหาร และ นักลงทุน ให้สามารถนำไปใช้ประกอบ การตัดสินใจจัดซื้อเทคโนโลยีและกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ ปัจจุบัน IDC มี นักวิเคราะห์ กว่า 1,000 คน ใน 100 ประเทศทั่วโลก ทำหน้าที่นำเสนอข้อมูล และ ให้คำปรึกษา เชิงกลยุทธ์อย่างรอบด้านแก่ลูกค้าในเรื่องเทคโนโลยี รวมถึงโอกาสทางธุรกิจ และแนวโน้มของ อุตสาหกรรมต่างๆ ทั้ง ในระดับโลก ระดับภูมิภาค และ ในแต่ละประเทศ ด้วยประสบการณ์ และ ความเชี่ยวชาญที่สั่งสม มากว่า 44 ปี พ.ศ. เพื่อช่วยให้ลูกค้าบรรลุทุก วัตถุประสงค์ ทางธุรกิจ IDC เป็นบริษัทในเครือของ IDG ซึ่งดำเนินธุรกิจสื่อสายเทคโนโลยี วิจัย และ จัดงานสัมมนาชั้นนำระดับโลก ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ www.idc.co.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : คุณศศิธร แซ่เอี้ยว ที่หมายเลข 662-651-5585 ต่อ 113 Email: sasithorn@idc.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ