ผู้บริหารการเงินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 65% เผชิญปัญหาขานรับนโยบายสร้างการเติบโตทางธุรกิจของซีอีโอ

ข่าวทั่วไป Wednesday June 7, 2006 15:06 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 มิ.ย.--ไอบีเอ็ม ประเทศไทย
นอกจากภาระงานบริหารและการปฏิบัติงานตรวจสอบด้านการเงินแล้ว หัวหน้าฝ่ายการเงินต้องเผชิญกับหน้าที่ท้าทายในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการขยายตัว การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และความสามารถในการแข่งขันอีกด้วย
บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารทางการเงินอาวุโส (ซีเอฟโอ) ที่ไอบีเอ็มได้จัดทำขึ้น โดยการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารจำนวน 900 ท่านทั่วโลก ระบุว่ามีเพียง 35% เท่านั้นที่เปิดเผยว่า ตนเองสามารถให้การสนับสนุนความพยายามของซีอีโอที่ต้องการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับบริษัทได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
การศึกษานี้ซึ่งพัฒนาขึ้นร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐศาสตร์ พบว่าเกือบ 42% ของพนักงานฝ่ายการเงินยุ่งอยู่กับการดำเนินธุรกรรมต่างๆ เช่น การประมวลผลทางบัญชีและการจัดการด้านภาษี มีเพียง 25% ของพนักงานเท่านั้นที่มีส่วนให้การสนับสนุนด้านการตัดสินใจ อาทิเช่น การดำเนินกิจกรรมที่ให้ความสำคัญเรื่องของผลประกอบการและการขยายตัวของกิจการ นอกจากนั้นผู้ที่ตอบแบบสอบถามชี้ว่า เกือบ 56% ของบริษัททางการเงินไม่มีขั้นตอนที่แข็งขันและไม่มีกิจกรรมที่จะสนับสนุนความเจริญก้าวหน้าของบริษัท
“ความเจริญรุ่งเรืองของธุรกิจและความสามารถในการสร้างกำไรเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดในการประชุมของซีอีโอซึ่งทั้งผู้ถือหุ้นและนักวิเคราะห์ทางการเงินต่างจับตามองเรื่องนี้ โดยซีเอฟโอกำลังประสบปัญหาการแสดงข้อมูลเชิงคาดการณ์จากข้อมูลจำนวนมหาศาลที่รวบรวมไว้” มร. สตีเฟ่น ไวส์ ผู้บริหารระดับสูง หน่วยงาน Global Business Services บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าว “ซีเอฟโอเหล่านี้มีศักยภาพพอที่จะสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับบริษัทได้ง่ายๆ ด้วยการยกเลิกขั้นตอนและระบบที่มีความสลับซับซ้อน ประยุกต์ใช้วิธีการใหม่ๆ เพื่อเผยแพร่ข้อมูล แสดงวิสัยทัศน์ที่อิงอยู่กับข้อเท็จจริง ควบคู่กับการสร้างข้อได้เปรียบเชิงการแข่งขันสำหรับบริษัทของพวกเขาเอง”
ผู้บริหารด้านการเงินกล่าวถึงบทบาทที่สำคัญที่สุดสำหรับองค์กรในแง่การส่งมอบผลการดำเนินงานและภาวะขององค์กรโดยละเอียดถึง 69% โดย 62% สามารถแสดงข้อมูลเพื่อก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าของบริษัท และ 59% มองว่า บทบาทที่สำคัญของพวกเขาคือ การแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงทางการเงิน อย่างไรก็ดี แม้ทั้งสามข้อข้างต้นคือเป้าประสงค์ของผู้บริหารทางการเงินส่วนใหญ่ แต่ผลการสำรวจพบว่าเพียง 13 % ของผู้บริหารการเงินเท่านั้นที่มองว่า ตนเองมีประสิทธิภาพมากในสองบทบาทหรือมากกว่านั้น และที่น่าตกใจคือ มากกว่าครึ่งไม่คิดว่า พวกเขามีประสิทธิภาพเลยในทั้งสามบทบาทข้างต้น ช่องว่างของการแสดงความสามารถในลักษณะนี้สอดคล้องโดยตรงกับขั้นตอนทางธุรกิจที่ต่างฝ่ายต่างดำเนินการอย่างเป็นเอกเทศ และกิจกรรมการจัดการที่สิ้นเปลืองเวลา ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้ทำให้ไม่สามารถรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์ผลทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเด็นสำคัญจากการศึกษาความคิดเห็นซีเอฟโอ
การหยุดชะงักของฝ่ายการเงิน
- ฝ่ายการเงินมีงานประจำที่เน้นเรื่องการทำธุรกรรมประเภทต่างๆ คิดเป็น 42 % ของปริมาณงานทั้งหมดที่ทำในปี 2005
- เนื้องานที่เกี่ยวข้องกับการขยายตัวของบริษัท ทั้งการสนับสนุนด้านการตัดสินใจและการบริหารจัดการผลประกอบการ คิดเป็น 30% ของงานทั้งหมดในปี 2005
การแสดงข้อมูลที่อิงกับข้อเท็จจริง และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้
- เกือบ 40 % ขององค์กรยังใช้ระบบการรวบรวมข้อมูลที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ มีผลต่อความเสี่ยงและโอกาสในการเติบโตขององค์กร
- ระบบที่ยังแบ่งย่อยเป็นเอกเทศนี้ทำให้ยากต่อการรวบรวมข้อมูลเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ส่งผลให้การตัดสินใจกลายเป็นการตัดสินใจโดยสัญชาติญาณ เกือบ 60 % ของผู้ตอบแบบสอบถามยังไม่ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้ การนำมาตรฐานของกระบวนการและข้อมูลมาใช้ การพยายามลดขั้นตอนลดความยุ่งยากของการทำงาน การลดจำนวนของรูปแบบการดำเนินการที่ไม่เหมือนกัน การใช้เครื่องมือการคาดการณ์และการจัดงบประมาณอย่างสมเหตุสมผล และ การลดจำนวนระบบบริหารทรัพยากรภายใน (ERP)
เผชิญปัญหาเมื่อต้องสนับสนุนนโยบายสร้างความเติบโตให้กับองค์กร
- ประมาณ 2/3 ของผู้ที่ตอบแบบสำรวจชี้ให้เห็นว่าการค้นหาและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้วยทักษะทางธุรกิจและทางการเงินที่เหมาะสมเพื่อผลักดันให้ธุรกิจขยายตัว คือ ความท้าทาย
- มากกว่า 60 % ของผู้ที่ตอบแบบสำรวจแสดงให้เห็นว่าพวกเขาพบความยากลำบากในการวิเคราะห์แผน คาดการณ์และประเมินโอกาสทางธุรกิจอันก่อให้เกิดการขยายตัวของรายได้ที่เป็นผลกำไร
ข้อเสนอแนะที่สำคัญ
สามารถแสดงข้อมูลที่ลึกซึ้ง สร้างความเป็นมาตรฐาน ลดความยุ่งยาก และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- ผู้บริหารด้านการเงินจะต้องเป็นผู้นำในกระบวนการสร้างความเป็นมาตรฐาน การลดความยุ่งยาก และสร้างกระบวนการทั่วไปที่มีการจัดเทคโนโลยีทางการเงินที่มีอยู่มากมายและเครื่องมือที่ใช้อยู่ในทุกวันนี้ให้ถูกต้องตามหลักแห่งเหตุผล พยายามปรับปรุงวิธีการรวบรวมข้อมูลให้ดีขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้น
- สามารถให้ข้อมูลเพื่อการบริการจากแบบรับ เป็นแบบรุก เพื่อเกื้อหนุนการขับเคลื่อนของโดยองค์กร
เพิ่มความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เป็นที่ปรึกษาเพื่อเกื้อหนุนการเติบโตและขับเคลื่อนวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม
- ผู้บริหารด้านการเงินจำเป็นจะต้องพิจารณาการเพิ่มกลยุทธ์เพื่อพัฒนาความชาญฉลาดทางธุรกิจ เช่น เครื่องมือเพื่อแสดงผลการดำเนินงานอย่างฉับไว เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลทางการเงินมาใช้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ในส่วนของตลาดที่อิ่มตัวแล้วที่จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมทางธุรกิจเพื่อผลักดันให้เกิดการขยายตัวทางธุรกิจในรูปแบบใหม่แข่งขันกับบริษัทที่ใช้กลยุทธ์อันชาญฉลาดนั้น ทั้งการวิเคราะห์และข้อมูลในเชิงการคาดการณ์ล้วนมีความสำคัญต่อการสร้างรูปแบบธุรกิจแนวใหม่
- การแสดงผลแบบฉับไว ซึ่งต้องได้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูล ณ เวลาจริง ช่วยเอื้อประโยชน์ในเรื่องของการตัดสินใจและการร่วมแสดงความคิดเห็น ด้วยการเปิดโอกาสให้พนักงานที่เกี่ยวข้องในองค์กรเห็นข้อมูลทางการเงินชุดเดียวกับซีอีโอเมื่อเรียกใช้ วิธีการนี้จะทำให้เกิดกระบวนการตัดสินใจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ซึ่งมีความสำคัญในการช่วยปรับปรุงผลประกอบการทางธุรกิจ
จากความร่วมกับกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐศาสตร์ (Economist Intelligence Unit) ไอบีเอ็มได้ทำการศึกษาซีเอฟโอจากทั่วโลกและผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินอาวุโสที่เกี่ยวข้องกับภาคการสื่อสาร ภาคการกระจายสินค้า ภาคการเงิน ภาคอุตสาหกรรม และภาครัฐบาลใน 74 ประเทศรวม 889 ท่านในปี 2005 การศึกษาดังกล่าวครอบคลุมถึงการสัมภาษณ์ซีเอฟโอจำนวน 267 ท่านที่อยู่ในเอเชียแปซิฟิก ยุโรป อเมริกาเหนือ และละตินอเมริกา รวมถึงการทำแบบสำรวจทางออนไลน์จำนวน 622 ท่าน ทั้งนี้แบบสำรวจทางออนไลน์ถือเป็นความร่วมมือระหว่าง ไอบีเอ็มและกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐศาสตร์ บริษัทที่เข้าร่วมในการศึกษาดังกล่าวมีตั้งแต่ที่มีรายได้ประจำปีน้อยกว่า 1,000 ล้านเหรียญ ไปจนถึงมากกว่า 10,000 ล้านเหรียญ และมากกว่าครึ่งหนึ่งของบริษัทในแบบสอบถามนี้มีรายได้มากกว่าหรือเท่ากับ 5,000 ล้านเหรียญ อนึ่ง สถาบันไอบีเอ็มเพื่อคุณค่าทางธุรกิจ (The IBM Institute for Business Value) และหน่วยงานบริการด้านธุรกิจของไอบีเอ็ม เป็นผู้ออกแบบ ดำเนินการ และวิเคราะห์การศึกษาดังกล่าว
เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์โดย: บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
คุณกฤษณา ศิลประเสริฐ โทรศัพท์: 0-2273-4639 อีเมล์: krisana@th.ibm.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ