แพทย์โรคติดเชื้อทั่วโลก ร่วมประชุมนานาชาติ ISAAR 2009 เฟ้นหาแนวทางร่วมป้องกันการคุกคามรูปแบบใหม่ของเชื้อดื้อยา

ข่าวทั่วไป Monday March 23, 2009 15:39 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 มี.ค.--คอมมูนิเคชั่นส์ แอนด์ มอร์ ปัญหาการรุกล้ำ และการดื้อยาของเชื้อต่างๆ ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกที่แพทย์ และกุมารแพทย์โรคติดเชื้อทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เพราะหากเชื้อดื้อยาจะทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากขึ้น และส่งผลให้ผู้ป่วยมีอัตราการเสียชีวิตและพิการสูงขึ้น อีกทั้งยังทำให้โรคติดเชื้อรุนแรงในอดีตมีโอกาสฟื้นกลับมาแพร่ระบาดได้มากขึ้น ดังนั้นปัญหาเชื้อโรคดื้อยาจึงกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขของคนทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย จากงานประชุมวิชาการทางการแพทย์โรคติดเชื้อนานาชาติ “National Symposium on Antimicrobial Agent & Resistance 2009 หรือ ISAAR 2009” เรื่อง “ข้อมูลเชิงลึก และแนวทางการป้องกันการคุกคามรูปแบบใหม่ของเชื้อดื้อยา” ณ ประเทศไทย ซึ่งองค์กรด้านสุขภาพระดับโลกอย่าง Asian-Pacific research foundation for infectious diseases (ARFID) และ Asian Surveillance of resistant pathogens (ANSORP) เป็นองค์กรหลักได้จัดขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของวิทยาการทางการแพทย์ และความรู้ใหม่ๆ ตลอดจนหาแนวทางร่วมกันในการป้องกันการดื้อยาของโรคติดเชื้อในระดับนานาชาติ โดยมีแพทย์โรคติดเชื้อเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้กว่า 2,000 คน จาก 54 ประเทศ อาทิเช่น เกาหลี ฮ่องกง ไต้หวัน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร และไทย เป็นต้น ในงานประชุมดังกล่าวแพทย์ได้เปิดเผยว่ามีเชื้อหลายตัวที่พบว่ามีอัตราการดื้อยาสูงขึ้นจนน่าเป็นห่วง ซึ่งหนึ่งในเชื้อที่พบว่ามีอัตราการดื้อยาสูง ได้แก่ เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อรุนแรง (โรคไอพีดี) เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสเลือด โรคปอดบวมซึ่งคร่าชีวิตเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบทั่วโลกกว่าปีละ 2 ล้านคน รวมทั้งโรคหูน้ำหนวก และโรคไซนัสอักเสบอีกด้วย ซึ่งเชื้อนิวโมคอคคัสจะอาศัยอยู่ในคอหอยของเด็กมากถึงร้อยละ 20-50 และในผู้ใหญ่ร้อยละ 8-30 นอกจากนี้ยังได้มีการเปิดเผยผลการศึกษาล่าสุดของปักกิ่ง ประเทศจีน โดยศึกษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส 860 ราย เกี่ยวกับการรุกล้ำ และการดื้อยาของเชื้อนิวโมคอคคัส ซึ่งถือเป็นเชื้อตัวหลักที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อรุนแรง อาทิ โรค ไอพีดี ที่เยื่อหุ้มสมองอักเสบและในกระแสเลือด รวมทั้งโรคปอดบวมซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบทั่วโลกกว่าปีละ 2 ล้านคน นอกจากนี้เชื้อนิวโมคอคคัส ยังก่อให้เกิดโรคหูน้ำหนวก โรคไซนัสอักเสบ โดยทำการเก็บข้อมูลในปี 1997 เปรียบเทียบกับช่วงปี 2000 — 2007 พบว่าเชื้อนิวโมคอคคัส ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจมีการดื้อยาเพิ่มสูงขึ้นเป็น 100% อันน่าจะเป็นผลมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะอิริโทรมัยซิน และเพนนิซิลลิน (Erythromycin and Penicillin) ที่ไม่เหมาะสม “เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสกำลังพัฒนาตัวเองให้รอดจากยาปฏิชีวินะ โดยเชื้อนิวโมคอคคัสสายพันธุ์ที่พบได้บ่อยในอดีต กลับพบน้อยลงในปัจจุบัน แต่ขณะเดียวกันยาปฏิชีวินะก็สามารถรักษาผู้ป่วยได้ผลน้อยลงด้วยช่นกัน” ดร.หยาง โรงพยาบาลเด็กปักกิ่งกล่าว “การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อนิวโมคอคคัสในสายพันธุ์หลักๆ ที่ก่อให้เกิดโรค และการใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม จะช่วยให้แพทย์ปรับวิธีการในการจัดการกับโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสได้ดียิ่งขึ้น” ข้อมูลจากสหรัฐอเมริกาพบว่าหลังจากบรรจุ วัคซีนไอพีดี ในแผนสาธารณสุขแห่งชาติที่เด็กเล็กทุกคนต้องได้รับ ส่งผลให้อุบัติการของโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส ที่รู้จักกันในชื่อ โรคไอพีดี ในเด็กเล็กลดลงกว่า 98% และยังส่งผลให้เกิดการลดลงของโรค ไอพีดี ในผู้สูงอายุที่ไม่ได้การฉีดวัคซีนได้อีก 55% รวมทั้งทำให้การดื้อยาเพนนิซิลลินของเชื้อนิวโมคอคคัสลดลงกว่า 80% สำหรับอุบัติการณ์โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นทางการครั้งแรก พบว่า อุบัติการณ์โรคติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสในกระแสเลือดของเด็กเล็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ มีอัตรา 10.6 -28.6 ราย ต่อแสนประชากร ซึ่งในปัจจุบันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสเป็นโรคร้ายแรงที่ทุกคนตระหนัก และให้ความสำคัญมากขึ้นกว่าแต่ก่อน เนื่องจากพบว่าเชื้อนิวโมคอคคัสมีอัตราการดื้อยาสูงขึ้นถึงร้อยละ 61 ซึ่งอุบัติการณ์ดังกล่าวมีอัตราใกล้เคียงกับอุบัติการณ์โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสในสหรัฐอเมริกาก่อนที่จะมีการบรรจุวัคซีนไอพีดีเข้าในแผนสาธารณสุขแห่งชาติที่เด็กเล็กทุกคนต้องได้รับ ซึ่งการศึกษานี้จะเป็นข้อมูลที่สำคัญในการพิจารณาถึงนโยบายการนำวัคซีนไอพีดีบรรจุเป็นวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กไทยทุกคน รวมทั้งเด็กๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป สื่อมวลชนต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ บุษบา (บุษ) / พิธิมา (ก้อย) โทร. 0-2718-3800 ต่อ 315 / 318

แท็ก สาธารณสุข  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ