มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทุ่มงบ 25 ล้านบาท วางระบบเครือข่ายใหม่ ด้วยเทคโนโลยีของซิสโก้ เพื่อขยายศักยภาพการเรียนการสอน

ข่าวเทคโนโลยี Thursday January 12, 2006 13:39 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 ม.ค.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทุ่มงบ 25 ล้านบาท วางระบบเครือข่ายใหม่ด้วยเทคโนโลยีของซิสโก้ เพื่อขยายศักยภาพการเรียนการสอน เลือกดาต้าคร้าฟท์ติดตั้งอุปกรณ์ระบบเครือข่ายไอพี ไฮสปีด ทั้ง 2 วิทยาเขต
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทุ่มงบ 25 ล้านบาท วางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โปรโตคอล ไฮสปีดใหม่ เลือกเทคโนโลยีซิสโก้ โดยให้ดาต้าคร้าฟท์ ติดตั้งอุปกรณ์สวิตซ์ 2 วิทยาเขต ทั้งกล้วยน้ำไทและรังสิต เพื่อรองรับการบริหารจัดการ การใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ และการให้บริการระบบเครือข่ายได้ตลอดเวลา (24x7) เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย “e-University”
ดร.ธนู กุลชล อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยกรุงเทพเล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำไอทีเข้ามาช่วยพัฒนาการเรียนการสอนของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ล่าสุดได้ทุ่มงบประมาณกว่า 25 ล้านบาท เพื่อวางระบบเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยกรุงเทพใหม่ทั้ง 2 วิทยาเขต คือ กล้วยน้ำไท และรังสิต โดยร่วมมือกับบริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ดาต้าคร้าฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ในการติดตั้งระบบในครั้งนี้
การลงทุนวางระบบเครือข่ายครั้งนี้ จะช่วยพัฒนาด้านไอทีของมหาวิทยาลัยกรุงเทพด้วยกัน 4 เรื่องคือ โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) จะได้ระบบเครือข่ายที่มีเสถียรภาพ ให้บริการได้ตลอดเวลา สามารถรองรับปริมาณผู้ใช้ และข้อมูลที่เพิ่มขึ้นในอนาคตได้เป็นอย่างดี, การให้บริการ (Services) พัฒนาให้ระบบงานต่างๆ ทั้งด้านการปฏิบัติงานประจำวัน และการบริหารจัดการทั้งของบุคลากรในมหาวิทยาลัย และนักศึกษา เปลี่ยนมาอยู่ในรูปแบบของบริการออนไลน์ครบวงจร, การจัดการเนื้อหา (Content Management) สามารถจัดสรร และควบคุมการใช้งานของเนื้อหาต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยได้ และรองรับ e-Learning หรือระบบวิดีโอ ออน ดีมานด์ ได้เป็นอย่างดี และระบบรักษาความปลอดภัย สามารถกำกับดูแลการใช้งานของผู้ใช้ตามจุดต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยได้ดียิ่งขึ้น และสามารถตรวจสอบหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นบนระบบเครือข่ายได้ง่ายกว่าเดิม
“ประโยชน์ที่ทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพจะได้รับจากการติดตั้งระบบเครือข่ายครั้งนี้คือ การบริหารและการดำเนินงาน โดยในปัจจุบันเป็นการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด สามารถให้บริการระบบเครือข่ายได้ตลอดเวลา (24x7) และการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่จะพัฒนาเพิ่มขึ้นในอนาคตใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยให้อาจารย์และนักศึกษาสามารถใช้งานผ่านระบบหน้าเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่ได้จัดทำขึ้นเองได้ โดยใช้เทคโนโลยีเครือข่ายแบบ Gigabit Ethernet และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย Bandwidth ขนาด 100 เมกกะบิต โดยในอนาคตมหาวิทยาลัยยังมีแผนที่จะพัฒนาระบบ BI (Business Intelligent ) เพื่อช่วยในด้านการบริหารจัดการสำหรับผู้บริหารระดับต่างๆ อีกด้วย”
สำหรับเป้าหมายและแผนการดำเนินงานด้านไอทีของมหาวิทยาลัยกรุงเทพคือ
1. ระบบ e-Flow เพื่อให้งานเอกสารภายในมหาวิทยาลัยเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) แบบเต็มรูปแบบทั้งระบบ สามารถติดตามเอกสาร และผู้มีอำนาจสามารถเซ็นอนุมัติได้ โดยระบบความปลอดภัยจะศึกษาทั้งการนำลายเซ็นต์อิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) หรือ ใช้ร่วมกับบัตรประจำตัวบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ที่เป็นบัตรสมาร์ทการ์ด
2. ช่วยให้การค้นหาข้อมูลในห้องสมุดของมหาวิทยาลัยที่เป็นห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) ทำได้รวดเร็ว ซึ่งมีทั้งวารสารออนไลน์ หนังสือออนไลน์ และดาต้าเบสออนไลน์ สำหรับนักศึกษาและอาจารย์เพื่อการเรียนการสอน และการทำวิจัย
3. การนำอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) มาเป็นสื่อการเรียนเพื่อให้นักศึกษาศึกษาเพิ่มเติมนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียนตามปกติ ที่มีเนื้อหาเป็นมัลติมีเดีย และวิดิโอออนดีมานด์ ให้นักศึกษาใช้งานได้จากภายในมหาวิทยาลัยที่ได้ติดตั้งระบบเครือข่ายทั้งแบบใช้สาย และไร้สายในสองวิทยาเขต
4. มหาวิทยาลัยมีห้องเรียนที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายทุกห้อง รวมถึง ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องบริการคอมพิวเตอร์สำหรับให้นักศึกษาใช้อินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา ศูนย์เรียนรู้ภาษาด้วยตนเอง (Self-study Language Center) และห้องปฎิบัติการเฉพาะทางด้านคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาทุกสาขา โดยทางมหาวิทยาลัยมีแผนการสร้างห้องปฏิบัติการเฉพาะทางเพิ่มขึ้นคือ Incubation Center หรือศูนย์บ่มเพาะนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งห้องเหล่านี้จะเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายเพื่อให้นักศึกษาใช้งานได้อย่างเต็มที่
นายอัศวิน กังวลกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำระดับโลกด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เปิดเผยว่า ซิสโก้ร่วมมือกับบริษัท ดาต้าคร้าฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายของซิสโก้สวิตซ์ Cisco Catalyst 6500, Cisco Catalyst
3750 และ Cisco Catalyst 2950 ซึ่งสามารถรองรับความต้องการของทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งยังสามารถรองรับการขยายเป็นระบบเครือข่ายแบบ 10 Gigabit Ethernet ได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังมีระบบซอฟต์แวร์อัจฉริยะ Cisco IOS Advanced Security จะช่วยให้มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ประโยชน์จากการทำ IPv6, QoS และ Catalyst ‘s Integrated Security Switch ซึ่งจะช่วยป้องกันการโจมตีจากภายในระบบเครือข่ายเองเช่น การโจมตีระบบเครือข่าย โดยส่งข้อมูลแบบถึงผู้รับทุกๆ คน เข้าสู่ระบบเครือข่ายที่มากกว่าสถานะการปกติ (Broadcast Storm), การบุกรุก หรือการพยายามนำอุปกรณ์ LAN Switch ที่ไม่ได้รับอนุญาติมาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายแบบอินเทอร็เน็ต (Unauthorized STP Attached) , การโจมตีระบบเครือข่ายโดยอาศัยช่องโหว่ของอุปกรณ์ LAN Switch ที่สามารถรองรับจำนวน MAC Address ได้จำกัดประมาณ 8,000-32,000 MAC ซึ่งทำให้ระบบเครือข่ายไม่สามารถให้บริการหรือประสิทธิภาพในการส่งผ่านข้อมูลช้าลง (MAC Address Flooding), ผู้ไม่ประสงค์ดีอาจจะพยายามขโมยข้อมูล ด้วยการใช้วิธีที่เรียกกว่า Man in the Middle โดยพยายามปลอมเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองให้ทำหน้าที่แทน DHCP Server ซึ่งมีหน้าที่ในการแจกจ่าย IP Address ให้กับผู้ใช้งาน เพื่อให้ข้อมูลของผู้ใช้งานต้องส่งมาผ่านที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของแฮกเกอร์ก่อน (DHCP Spoofing), การบุกรุก หรือการพยายามนำอุปกรณ์ DHCP Server ที่ไม่ได้รับอนุญาติมาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายหรือพยายามรบกวนการทำงานของระบบเครือข่ายด้วยโพรโตคอล DHCP (DHCP Rouge Server) และ ผู้ไม่ประสงค์ดีอาจจะพยายามขโมยข้อมูล หรือโจมตีระบบเครือข่าย โดยพยายามปลอมเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองให้ทำหน้าที่แทนเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ในระบบเครือข่ายเช่น เราท์เตอร์, สวิตซ์, พรินเตอร์, เซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น (IP Spoofing และ IP Conflict)
“การติดตั้งระบบเครือข่ายมหาวิทยาลัยกรุงเทพครั้งนี้ จะช่วยทำลายกำแพง และระยะทางของ 2 วิทยาเขตทั้งกล้วยน้ำไทและรังสิตให้กับนักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี เพื่อให้ทุกคนสามารถเชื่อมต่อและสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและไร้ขีดจำกัด”
ด้านนายสมชาติ กัณหา ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ดาต้าคร้าฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ นับเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำ ที่มีวิสัยทัศน์ในการนำสารสนเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียน การสอน และการให้บริการ และเพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขันที่เหนือกว่าและนำหน้าเสมอ ดาต้าคร้าฟท์ได้นำเสนอระบบเครือข่ายบนอินเตอร์เน็ท โปรโตคอลที่สามารถเชื่อมวิทยาเขตทั้งสองแห่งเข้าด้วยกัน เพื่อให้การสื่อสารระหว่างวิทยาเขตเป็นไปอย่าง ไร้ขีดจำกัด รวมถึงความสะดวกในการบริหารระบบจากศูนย์กลางฯ โดยระบบเครือข่ายที่นำเสนอนี้ มาพร้อมกับระบบรักษาความปลอดภัยที่จะช่วยให้การให้บริการต่างๆ เป็นไปอย่างราบรื่นไร้รอยต่อ
ส่วนอุปกรณ์เครือข่ายของซิสโก้ที่ดาต้าคร้าฟท์ได้ทำการติดตั้งประกอบด้วย Backbone Switch จำนวน 4 ตัว โดยติดตั้งไว้ที่วิทยาเขตละ 2 ตัว เพื่อทำการ Load Balance และ Backup ระหว่างกัน ทำให้ช่วยแบ่งเบาการใช้งานระบบเครือข่าย และสามารถให้บริการได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ตามอาคารหรือห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ต่างๆ ในแต่ละวิทยาเขตยังได้ติดตั้งสวิตซ์
(Switch Layer 3) เชื่อมต่อมายัง Backbone Switch ทั้ง 2 ตัว ถ้าการเชื่อมต่อเส้นหนึ่งมีปัญหา จะทำการย้ายการเชื่อมต่อไปยังอีกเส้นทางหนึ่งโดยอัตโนมัติ
เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีชื่อเสียงและเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ อยู่ภายใต้การสนับสนุนของ "มูลนิธิมหาวิทยาลัยกรุงเทพ" โดยได้เปิดดำเนินการสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2505 เป็นต้นมา ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ของอาจารสุรัตน์และอาจารย์ปองทิพย์ โอสถานุเคราะห์ ที่ต้องการก่อตั้งสถาบันการศึกษาของเอกชนที่ไม่หวังค้ากำไร (Non-Profit) เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมความรู้อันจะพัฒนาบัณฑิตยุคใหม่ให้มีคุณภาพพร้อมด้วยความรู้ทางด้านวิชาการและทักษะในการปฏิบัติซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติต่อไปในอนาคต
มหาวิทยาลัยได้จัดการศึกษา โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ประกอบในการเรียนการสอน รวมทั้งได้ค้นคว้าทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติใหม่ๆ ที่เหมาะสมมาสอดแทรกในวิชาเรียนเพื่อให้นักศึกษาได้รับประโยชน์จากการเรียนอย่างเต็มที่ รวมทั้งสามารถนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติได้จริงในชีวิตการทำงาน ความพร้อมของเทคโนโลยีและสื่อการเรียนการสอนที่สมบูรณ์แบบในทุกๆ ด้าน ผนวกกับ
ศักยภาพของคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ส่งผลให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่คงความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ ทั้งยังเป็นแหล่งสั่งสมองค์ความรู้จากการค้นคว้าวิจัยวิทยาการสาขาต่างๆ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพเปิดดำเนินการสอนใน 2 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 119 ซอยสุขุมวิท 40 (ซอยบ้านกล้วยใต้) แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 25 ไร่ 3 งาน 49 ตารางวา เป็นสถานที่เรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 ภาคปกติ นักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติทุกชั้นปี นักศึกษาปริญญาโทและเอก และนักศึกษาภาคพิเศษ สถานที่ทำการของสำนักงานอธิการบดี วิทยาลัยนานาชาติ บัณฑิตวิทยาลัย คณะวิชาต่างๆ ห้องปฏิบัติการ ห้องเรียน ห้องสัมมนา สำนักหอสมุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ ศูนย์กีฬาในร่มและหน่วยงานบริการอื่นๆ
วิทยาเขตรังสิต ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 9/1 หมู่ 5 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ห่างจากท่าอากาศยานกรุงเทพไปทางทิศเหนือประมาณ 14 กิโลเมตร มีพื้นที่ 441 ไร่ 1งาน 67 ตารางวา เป็นสถานที่ดำเนินการสอนนักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 1 และปีที่ 2 และสถานที่ตั้งของสนามกีฬา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ และพิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยเครื่องถ้วยโบราณที่สำคัญและสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001 ทั้งระบบจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ซึ่งนับเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO 14001 ทั้งระบบ (http ://www.bu.ac.th)
เกี่ยวกับซิสโก้ ซีสเต็มส์
บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้นำทางด้านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระดับโลก ผลิตภัณฑ์ด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการต่างๆ ของซิสโก้ ซีสเต็มส์ เอื้อประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์โซลูชั่นอินเทอร์เน็ต ในการส่งข้อมูล ภาพ และเสียง สำหรับผู้ใช้ในระดับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล องค์กร ไปจนถึงระดับประเทศ เพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลแบบไร้พรมแดน อันจะทำให้อุปสรรคด้านเวลาและสถานที่หมดไป โซลูชัน ข้อมูลและข่าวสารความเคลื่อนไหวของบริษัท
ซิสโก้ ซีสเต็มส์ อิงค์ สามารถหาอ่านได้จาก http://www.cisco.com และข้อมูลความเคลื่อนไหวของสาขาในประเทศไทย สามารถอ่านได้ที่ http://www.cisco.co.th
เกี่ยวกับดาต้าคร้าฟท์ (ประเทศไทย)
บริษัท ดาต้าคร้าฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดตั้งขึ้น เมื่อปี 2532 เป็นสำนักงานสาขาของ บริษัท ดาต้าคร้าฟท์ เอเชีย ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวางระบบเครือข่าย และอีบิซิเนสระดับภูมิภาค บริษัทฯ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 จัดอยู่ในธุรกิจของการสร้างและพัฒนาโครงสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตการวางระบบออนไลน์ และการเพิ่มมูลค่าแก่ระบบเครือข่ายให้แก่บรรดาผู้ให้บริการระบบสื่อสารและผู้ใช้ระดับองค์กรทั่วเอเชีย แปซิฟิค บริษัทฯ มีสำนักงานทั่วภูมิภาคกว่า 61 แห่ง ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง จีน อินเดีย ไต้หวัน อินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และเกาหลี ฯลฯ ดาต้าคร้าฟท์ยังเป็นสมาชิกในกลุ่มไดเมนชัน ดาต้า ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านเครือข่ายและผู้ให้บริการ I-Commerce Networkและเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนอีกด้วย ข้อมูลเกี่ยวกับดาต้าคร้าฟท์ เอเชีย สามารถอ่านได้ที่ http://www.datacraft-asia.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ประชาสัมพันธ์ข่าวโดย
สุจิตรา โกวิทวณิชกานนท์ อุษณีย์ เอื้ออริยะทรัพย์
บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง จำกัด
โทร: 0 2263 7055 (สายตรง) โทร: 0 2971 3711
โทรสาร: 0 2253 8440 โทรสาร: 0 2521 9030
อีเมล์: skovitwa@cisco.com อีเมล์: Utsanee@pc-a.co.th--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ