รายการแดนสนธยา เสนอสารคดีชุดพิเศษ ตอน มหาสมุทรชีวิต (OCEANS) วันที่ 14 - 16 เมษายน 2552

ข่าวบันเทิง Friday April 10, 2009 10:56 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 เม.ย.--แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์ รายการแดนสนธยา เสนอสารคดีชุดพิเศษ ตอน มหาสมุทรชีวิต (OCEANS) วันที่ 14 - 16 เมษายน 2552 ตั้งแต่เวลา 18.00 — 18.30 น. ทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี พบกับสุดยอดสารคดีฟอร์มยักษ์ชุดใหม่ล่าสุดจาก BBC กับผลงานการถ่ายทำระดับมืออาชีพของทีมสุดยอดนักประดาน้ำ นำโดย พอล โรส พร้อมตากล้อง และทีมงานกว่า 100 ชีวิต... สู่การสำรวจความมหัศจรรย์ใต้ท้องน้ำ ที่ใช้เวลาถ่ายทำใต้น้ำนานถึง 3,825 นาที และเหนือน้ำ 22,800 นาที... ในกว่า 50 สถานที่ทั่วโลกของมหาสมุทรทั้ง 7 แห่ง ร่วมสัมผัสความสวยงาม อย่างประทับใจในการดำดิ่งสู่ห้วงมหาสมุทรลึกที่ไม่เคยมีใครได้สัมผัสมาก่อน สัตว์น้ำ ยุคอดีตกาลที่เชื่อมโยงกับสิ่งมีชีวิตปัจจุบัน สัตว์ลึกลับที่ไม่เคยมีปรากฏให้ผู้ใดพบเห็น โดยเริ่มผจญภัยกันที่ ทะเลคอร์เตซในมหาสมุทรแปซิฟิก วันอังคารที่ 14 เม.ย. 52 ร่วมทีมดำน้ำไปกับนักสำรวจ พอล โรส และทีมผู้เชี่ยวชาญทำการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ใต้ท้องสมุทร ดำดิ่งสู่ ทะเลคอร์เตซในมหาสมุทรแปซิฟิก สำรวจผลกระทบขั้นรุนแรง ที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ทำให้สมดุลของระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ร่วมเผชิญหน้ากับ สิงโตทะเล สัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ที่นักชีววิทยาทางทะเล และนักสมุทรศาสตร์ ทูนี่ มาโต้ ทำการศึกษาตรวจสอบความสมบูรณ์ของนิคมสิงโตทะเล พบการค้นหาสาเหตุถึงการขยายพันธุ์ได้มากของสิงโตทะเล เมื่อตรวจอุจจาระสิงโตทะเล และพบเศษกระดูกหูปลา ที่เป็นปลาในเขตน้ำลึก พร้อมค้นหาหลักฐานการขยายตัวของเปลือกโลกบน รอยแยก ซาน แอนเดรียส ที่สร้างทะเลคอร์เตซ ที่มีการแยกตัวของแผ่นดินทั้ง 2 มาตลอดเวลา 5 ล้านปี ติดตามผลกระทบที่รุนแรง เมื่อฉลามลดจำนวนลงไปมากในทะเล คอร์เตซ และการแพร่พันธุ์เป็นจำนวนมากของ หมึกฮัมโบลด์ ในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งมีมากกว่า 20 ล้านตัว พบการรุมโจมตีล่าเหยื่ออันแสนโหดเหี้ยมของ หมึกฮัมโบลด์ ที่ใช้การกระพริบสีสัน เพื่อรวมตัวกันออกล่าเป็นฝูง วันพุธที่ 15 เม.ย. 52 ติดตามนักโบราณคดีทางทะเล ดอกเตอร์ ลูซี่ บลู ในการสำรวจซากเรืออับปาง ซากเรือฟานหมิง ที่ในอดีตเคยบรรทุกคนงานอพยพชาวจีนในการพาไปสำรวจทุกซอกมุม และ แหล่งที่ซ่อนคนงานชาวจีนภายในเรือ ติดตามวิถีชีวิตของ อินเดียนแดงเผ่าเซริ ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้พิทักษ์ทะเล ร่วมเจาะลึกวิธีการดูแลท้องทะเลของ ชาโป และไรมอนโด ชาวเผ่าอินเดียนแดง ในการออกหาหอยแครง ที่พวกเขายังคงอนุรักษ์ ดูแลทรัพยากรทางทะเล โดยวิธีการเก็บเกี่ยวแบบยั่งยืน ที่ทำให้เห็นถึงวิธีสร้างสมดุลระหว่างความต้องการของมนุษย์กับความสมบูรณ์ของท้องทะเล ร่วมค้นหา วาฬหัวทุย ไปกับ ดอกเตอร์ คอริน่า และดอกเตอร์ ไดแอน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องวาฬ ในการตรวจสภาพความสมบูรณ์ของ วาฬหัวทุย ด้วยวิธีการเก็บตัวอย่างเชื้อโรคในลมหายใจของวาฬในธรรมชาติ เพื่อตรวจสภาพว่าพวกมันติดเชื้อในปอดหรือไม่ วันพฤหัสบดีที่ 16 เม.ย. 52 พบเฮลิคอปเตอร์ติดตั้งจานเก็บตัวอย่าง เพื่อเก็บเชื้อโรคจาก ลมหายใจของวาฬ ที่สามารถบินอยู่เหนือช่องหายใจของวาฬได้ ทำให้ ดอกเตอร์ คอริน่า สามารถตรวจเช็คสุขภาพของวาฬหัวทุย โดยไม่เป็นการรบกวนมัน ซึ่งผลจากการเก็บตัวอย่างบ่งชี้ว่า พวกวาฬอาจได้รับ เชื้อแบคทีเรียจากมนุษย์ ที่มาจากกิจกรรมจากการชมวาฬ ร่วมสังเกตการณ์ใต้น้ำในทะเลคอร์เตซของ ฟิลิป คูสโต และทูนี่ มาโต้ ในการสำรวจความสมบูรณ์ของทะเลคอร์เตซ ในการเป็นแหล่งผสมพันธุ์ของวาฬหัวทุย สำรวจน่านน้ำแห่งใหม่ในมหาสมุทรขั้วโลกใต้ ที่เย็นเฉียบ กับภารกิจการสำรวจผลกระทบจากการที่ทะเล อุ่นขึ้น ใน เกาะแทสมาเนีย ติดตามหาสาเหตุที่ทำให้ป่าต้นเคลป์ลดจำนวนลงอย่างมาก ซึ่งนักสิ่งแวดล้อม ฟิลิป คูสโต ได้ทำการตรวจวัดอุณหภูมิน้ำทะเล และพบว่าอุณหภูมิในน้ำทะเลมีความอุ่นมากถึง 14 องศาเซลเซียส ทำให้เม่นทะเลเจริญเติบโตได้ดี และสามารถอพยพมาทำลายต้นเคลป์อ่อนๆ ได้ ติดตามชม “มหาสมุทรชีวิต” ในรายการแดนสนธยา วันที่ 14 - 16 เมษายน 2552 ตั้งแต่เวลา 18.00 — 18.30 น.ทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ บริษัท แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์ จำกัด โทร. 0-2434-8300 คุณสุจินดา, คุณแสงนภา และคุณวิภาวัลย์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ