ผลสำรวจมาสเตอร์การ์ดล่าสุด พบคนไทย 80% เล่นเน็ททุกวัน และ เป็นนักช้อปออนไลน์ถึง 43%

ข่าวเทคโนโลยี Monday June 8, 2009 10:36 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 มิ.ย.--124 คอมมิวนิเคชั่นส ผลสำรวจล่าสุดโดยมาสเตอร์การ์ด เวิลด์วายด์ พบคนไทย 80% เล่นอินเตอร์เน็ททุกวัน จากจำนวนดังกล่าว มีจำนวนถึง 92% บอกว่า เล่นอินเตอร์เน็ทเพื่อรับส่งอีเมล์, 80% เพื่ออ่านข่าวสารออนไลน์, 73% เพื่อหาข้อมูลออนไลน์ประกอบการเรียน หรือ การทำงาน, 70% เล่นเพื่อความเพลิดเพลิน, 60% เพื่อคุยกับเพื่อน (chat) และอีก 43% เพื่อซื้อของออนไลน์ ผลการสำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมการช้อปออนไลน์นี้ จัดทำขึ้นเป็นครั้งที่ 2 สุ่มจากจำนวนประชากรทั้งหมด 5,037 คน ใน 10 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อัฟริกาใต้ และ ประเทศไทย ในจำนวนนี้ เป็นคนไทย 501 คน อายุระหว่าง 18-64 ปี และมีบัญชีเงินฝาก มีรายได้ส่วนตัวเฉลี่ยปีละ 22,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือราว 781,000 บาทต่อปี ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเฉลี่ยเดือนละ 629 เหรียญสหรัฐฯ หรือราว 22,329.50 บาทต่อเดือน และเล่นอินเตอร์เน็ทอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง จากผลสำรวจผู้บริโภคทุกประเทศ ยกเว้นเกาหลี สิงคโปร์ และ ฮ่องกง มีแนวโน้มที่จะซื้อของออนไลน์เพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน สำหรับประเทศไทย มีผู้บริโภคที่ตั้งใจจะซื้อของออนไลน์ในอนาคต เพิ่มขึ้น จาก 66% เมื่อปีที่แล้ว เป็น 69% ในรอบผลสำรวจนี้ ผลสำรวจที่น่าสนใจสำหรับของคนไทยต่อการเล่นอินเตอร์เน็ท ได้แก่ - 80% เล่นทุกวัน, 17% เล่น 4-6 ครั้งต่อสัปดาห์, 3% เล่น 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ และ 1% เล่นเพียงสัปดาห์ละครั้ง - 74% เล่นที่บ้าน, 65% เล่นที่ออฟฟิส, 10% เล่นจากมือถือ, 5% เล่นในร้านอาหาร ร้านกาแฟโดยใช้โน๊ตบุ้คส่วนตัว, 4% เล่นในร้านอาหาร ร้านกาแฟ โดยใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ และ2% เล่นที่โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย - 5 อันดับเว็บไซต์ยอดนิยมที่คนไทยเข้าไปเล่นมากที่สุดได้แก่ Google.com (71%), hotmail (66%), facebook (28%), Google.co.th (27%) และ Yahoo Mail (26%) ? เหตุผล 4 อันดับแรกของการเข้าเว็บไซต์ขายสินค้า/บริการ ได้แก่ อันดับแรก หาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า/บริการ หรือผลิตภัณฑ์ (82%) อันดับสอง หาโปรโมชั่นพิเศษ (70%) อันดับสาม จองหรือซื้อสินค้า/บริการ (46%) และอันดับสี่ เช็คข้อมูลบริษัทต่างๆ (20%) ? 55% ของคนไทยดูของออนไลน์แต่ซื้อของออนไลน์เป็นครั้งคราวเท่านั้น 31% ดูของออนไลน์แต่ไม่ซื้อของออนไลน์ 7% ดูของออนไลน์ แล้วค่อยซื้อออนไลน์ และ 7% ไม่ดูของออนไลน์ และไม่ช้อปออนไลน์ ? 3 เดือนที่ผ่านมา คนไทยไม่ได้ซื้อของออนไลน์ เพราะ 64% ชอบไปดูสินค้าจริงที่ร้านมากกว่า 63% ไม่มั่นใจว่าการชำระเงินค่าสินค้า และบริการออนไลน์ปลอดภัย 43% ยังไม่มีสินค้าออนไลน์ที่น่าสนใจ 32% คิดว่าการจองหรือซื้อของออนไลน์ และการจัดส่งยุ่งยาก 21% ไม่คิดว่าคุ้มค่าที่จะซื้อของออนไลน์ ? ปัจจัยหลักที่กระตุ้นให้นักช้อปชาวไทยซื้อของออนไลน์ ได้แก่ สินค้าลดกระหน่ำ และราคาถูกเมื่อเทียบกับสินค้าที่มีวางจำหน่ายในร้านค้า (67%) เป็นสินค้าที่มีจำหน่ายเฉพาะออนไลน์นั้น (53%) เพราะโฆษณา และโปรโมชั่น (50%) ? สินค้า/บริการ ออนไลน์ยอดนิยมที่คนไทยช้อปมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเครื่องบิน (43%) หนังสือ (32%) อุปกรณ์สำหรับครัวเรือน และสินค้าอิเล็กทรอนิคส์ (32%) เสื้อผ้าสตรี และเครื่องประดับ (30%) และห้องพักโรงแรม/รีสอร์ท (29%) ? เมื่อคิดจะช้อปออนไลน์ สิ่งที่คนไทยคำนึงถึงมากที่สุด คือ ความปลอดภัยในการชำระเงินออนไลน์ ตามมาด้วยวิธีชำระเงินไม่ยุ่งยาก, ราคา และความคุ้มค่า และสุดท้าย บริการดี ? เพื่อกระตุ้นให้นักช้อปคนไทยช้อปออนไลน์มากขึ้น อยากให้ปรับปรุงความปลอดภัยในการชำระเงินออนไลน์มากที่สุด และสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคเมื่อทำการรูดบัตรออนไลน์ (82%) ไม่อยากให้มีค่าบริการอื่นๆ แทรกซ้อน (service charges) (72%) เว็บไซต์ใช้ง่าย (59%) อยากให้มีระบบชำระเงินแบบ Real Time (49%) ไอลีน วี รองประธาน และผู้จัดการประจำประเทศไทย มาสเตอร์การ์ด เวิลด์วายด์ กล่าวว่า “ช้อปปิ้งออนไลน์ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น แม้ในสภาวะเศรษฐกิจที่สั่นคลอน เนื่องจากผู้บริโภคนั้นได้รับความสะดวกสบาย และรู้สึกว่าผ่อนคลายมากกว่าเมื่อซื้อของออนไลน์ โดยดูได้จากจำนวนเฉลี่ยของการซื้อของออนไลน์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจาก 1.8 เมื่อธันวาคมปี 2550 มาเป็น 2.0 ในเดือนเดียวกันของปี 2551 ข้อมูลจากผลสำรวจชิ้นนี้ เอื้อประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมช้อปปิ้งออนไลน์ เพื่อให้เจ้าของเว็บไซต์เข้าใจทิศทาง พฤติกรรมการบริโภค และความต้องการของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น และสามารถที่จะนำไปปรับเป็นแนวทางในการกระตุ้นยอดนักช้อปออนไลน์ต่อไป” สำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ ไอลีน วี, มาสเตอร์การ์ด เวิลด์วายด์, eileen_wee@mastercard.com, โทร. 0 2670 4088 อลิซาเบท วงศ์วาสิน, 124 คอมมิวนิเคชั่นส, lisa@124comm.com, โทร. 0 2662 2266 ต่อ 216

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ