สหรัฐฯ เปิดทบทวน GSP ประจำปี 2552

ข่าวทั่วไป Friday June 12, 2009 16:06 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 มิ.ย.--คต. นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ได้ออกประกาศใน Federal Register ฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม 2552 เปิดการทบทวนโครงการ GSP ของสหรัฐฯ ประจำปี 2552 (2009 Annual Generalized System of Preference Product and Country Eligibility Practices Review) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้อง (ผู้ส่งออก ผู้นำเข้าสหรัฐฯ และผู้เกี่ยวข้อง) สามารถยื่นคำร้อง(Petition) เพื่อ 1) ขอเปลี่ยนแปลงรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP (Product Petition) ภายในวันที่ 24 มิถุนายน 2552 2) ขอยื่นคำร้องในส่วนที่เกี่ยวกับการขอยกเว้นเพดานส่งออก(CNL Waiver) ภายในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 โดยคำร้องที่ยื่นจะต้องจัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษส่งผ่าน www.regulations.gov ก่อนเวลา 17.00 น. เมื่อพิจารณารายการสินค้าที่ไทยใช้สิทธิ GSP ในปี 2551 สินค้าที่คาดว่าสิ้นปี 2552 จะมีมูลค่านำเข้าสหรัฐฯ เกินเพดาน CNL (Competitive Need Limitations) ที่สหรัฐฯ กำหนด (ปี 2552 เท่ากับ 140 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) หรือมีส่วนแบ่งตลาดนำเข้าสหรัฐฯ เกิน 50% ของมูลค่านำเข้าสหรัฐฯ ทั้งหมด จำนวน 3 รายการ ดังนี้ ลำดับ รหัสสินค้าH.S. รายการสินค้า 1 4011.10.10 ยางเรเดียลสำหรับรถยนต์นั่ง 2 2106.90.99 อาหารปรุงแต่ง 3 4015.19.10 ถุงมือทำจากยาง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ขอเชิญชวนผู้ประกอบการและผู้ส่งออกในสินค้าดังกล่าวข้างต้น ยื่นคำร้องในส่วนที่เกี่ยวกับการยื่นขอยกเว้นเพดาน CNL โดยคำร้องจะต้องมีรายละเอียดข้อมูลตามที่สหรัฐฯ กำหนด ได้แก่ ชื่อของหน่วยงานที่ยื่นคำร้อง พิกัด H.S 8 หลัก รายละเอียดของสินค้า เหตุผลและความจำเป็นในการขอคืนสิทธิ GSP มูลค่าการส่งออกย้อนหลัง 3 ปี ของสินค้านั้น ประโยชน์ที่จะได้รับจากการได้รับสิทธิ GSP และข้อมูลอื่น ๆ ที่สนับสนุน ส่วนการจัดทำคำร้องเพื่อยื่นขอเพิ่มรายการสินค้าใหม่ให้ได้รับสิทธิ GSP (Product Petition) คำร้องจะต้องมีรายละเอียดข้อมูลตามที่สหรัฐฯ กำหนด ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เบอร์โทรสาร และ e-mail ของบุคคลที่ร้องขอพิกัดศุลกากรและรายละเอียดสินค้า คำร้องให้แก่ประเทศใด เหตุผลและประโยชน์รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงหลังจากสหรัฐฯ ยอมรับคำร้องให้สิทธิ GSP ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://edocket.access.gpo.gov/2009/pdf/e9-12406.pdf ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักสิทธิประโยชน์ทางการค้า โทร. 0 2547 4872 โทรสาร 0 2547 4816สายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ โทร. 1385 หรือที่ www.dft.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ