“คิดถึงอาจารย์เปีย” : คอนเสิร์ตรวมดาว 29 ศิลปินเปียโน

ข่าวบันเทิง Thursday June 25, 2009 11:19 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 มิ.ย.--ซิลเลเบิล คณะศิษย์และมิตรสหายของศิลปินแห่งชาติ อาจารย์ปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ จะร่วมกันรำลึกถึง “อาจารย์เปีย” ผู้เป็นที่เคารพรักในคอนเสิร์ต “คิดถึงอาจารย์เปีย” ในวันที่ 28 มิถุนายน 2552 ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (หอประชุมเล็ก) ตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป คอนเสิร์ต “คิดถึงอาจารย์เปีย” ซึ่งจัดขึ้นในโอกาสครบรอบวันเกิด 75 ปีของ “อาจารย์เปีย” (วันที่ 13 มิถุนายน) นี้ จะเป็นการรวมตัวของยอดฝีมือเปียโนในไทยทั้งรุ่นใหญ่ กลาง และเล็กรวมถึง 29 ชีวิต เพื่อร่วมบรรเลงบทเพลงรำลึกถึง “อาจารย์เปีย” โดยนำรายได้สมทบทุนสร้างห้องสมุดดนตรีปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ ทั้งนี้โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และ August-Forster Piano แห่งประเทศเยอรมนี โปรแกรมการแสดงจะเริ่มด้วยการบรรเลงผลงานประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานของ “อาจารย์เปีย” รวมทั้งผลงานของท่านผู้หญิง ม.ล.พวงร้อย สนิทวงศ์ อภัยวงศ์ ผู้เป็นทั้งคุณอาและคุณครู จากนั้นจะนำเสนอผลงานของนักแต่งเพลงร่วมสมัยระดับรางวัล ได้แก่ สินนภา สารสาส และอาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร ตลอดจนผลงานของคีตกวีชื่อก้องโลก อาทิ โชแปง รัคมานินอฟ เบโธเฟ่น ไชคอฟสกี้ ราเวล คาชาทูเรียน และเกิร์ชวิน ฯลฯ โดยมี วีดิทัศน์ที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษอีกด้วย ศิลปินที่ร่วมบรรเลงทั้งระดับสุดยอดครูเปียโน ศิลปินรุ่นกลางและรุ่นเยาว์ จะร่วมกันนำเสนอบทเพลงผ่านการบรรเลงเดี่ยว เปียโนดูเอ็ท เปียโนสี่มือและแปดมือ และการร้องเพลงประกอบเปียโนบนเวทีเดียวกัน ซึ่งเป็นรายการที่หาชมได้ยากยิ่ง โดยมีอภิชาติ อินทรวิศิษฐ์ รับหน้าที่พิธีกร สำหรับบัตรเข้าชมคอนเสิร์ตทางผู้จัดงานขอให้บริจาคในจำนวน 300 บาทเพื่อสมทบการดำเนินงานของห้องสมุดดนตรีปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ สำรองที่นั่งได้ที่โทร 086-608-0068 ผู้สนใจสามารถคลิกไปอ่านประวัติของอาจารย์เปียได้จากเว็บไซต์ www.psf.or.th อาจารย์เปีย หรือนาวาตรีปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักดนตรีสากล) ปี พ.ศ. 2541 เกิดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2477 ที่กรุงเทพฯ เริ่มเรียนเปียโนตั้งแต่อายุ 9 ขวบ กับหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ ครูบุญชม เชี่ยวชาญ และหลุย ลามาร์ช นักเปียโนชาวฝรั่งเศส เมื่ออายุ 13 ปีได้เข้าแข่งขันเดี่ยวเปียโนและได้รับรางวัลที่ 3 จาก Bangkok Music Society ที่มีพระเจนดุริยางค์ เป็นประธานในการตัดสิน หลังจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อที่สก๊อตแลนด์ เพื่อเรียนเปียโนเพิ่มเติมเมื่ออายุ 17 ปี ได้เข้าแข่งขัน The Scottish International Piano Competition ได้รับรางวัลที่ 2 จากนั้น ได้เดินทางไป ศึกษาต่อกับ Joseph Cooper และ Claudio Arrau นักเปียโนมีชื่อระดับโลก ที่นครลอนดอน และสำเร็จปริญญา ARCM ของ่ Royal College of Music, London เมื่อปี พ.ศ. 2499 ขณะที่พำนักอยู่ในประเทศอังกฤษ เคยออกแสดงคอนเสิร์ตหลายครั้ง ทั้งเดี่ยวและกับวงดุริยางค์ต่างๆ เช่น Scottish National Orchestra, Liverpool Philharmonic Orchestra ภายใต้การอำนวยเพลงของ Walter Susskind และ Sir Molcolm Sargent และเคยแสดงร่วมวงกับ London Piano Trio หลายครั้ง นอกจากนั้น ยังเคยแสดงเดี่ยวเปียโนที่ ประเทศฝรั่งเศส เดนมาร์ค สหรัฐอเมริกา และประเทศใน กลุ่มยุโรปตะวันออก เมื่ออายุ 17 ปี ได้เข้าแข่งขัน The Scottish International Piano Competition ได้รับรางวัลที่ 2 จากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อกับ Joseph Cooper และ Claudio Arrau ศิลปินเปียโนมีชื่อ ของโลก ที่นครลอนดอน และสำเร็จปริญญา ARCM ของ Royal College of Music, London เมื่อปี พ.ศ. 2499 ขณะที่พำนักอยู่ในประเทศอังกฤษ เคยออกแสดงคอนเสิร์ตหลายครั้ง ทั้งบรรเลงเดี่ยวและกับวงดุริยางค์ต่าง ๆ เช่น Scottish National Orchestra, Liverpool Philharmonic Orchestra และอื่น ๆ ภายใต้การอำนวยเพลงของ Walter Susskind และ Sir Malcolm Sargent เคยแสดงร่วมวงกับ London Piano Trio หลายครั้ง นอกจากนั้นยังเคยแสดงเดี่ยวเปียโนที่ประเทศฝรั่งเศส เดนมาร์ก สหรัฐอเมริกา และประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออก เมื่ออายุ 17 ปี ได้เข้าแข่งขัน The Scottish International Piano Competition ได้รับรางวัลที่ 2 จากนั้น ได้เดินทางไป ศึกษาต่อกับ Joseph Cooper และ Claudio Arrau นักเปียโนมีชื่อระดับโลก ที่นครลอนดอน และสำเร็จปริญญา ARCM ของ่ Royal College of Music, London เมื่อปี พ.ศ. 2499 ขณะที่พำนักอยู่ในประเทศอังกฤษ เคยออกแสดงคอนเสิร์ตหลายครั้ง ทั้งเดี่ยวและกับวงดุริยางค์ต่างๆ เช่น Scottish National Orchestra, Liverpool Philharmonic Orchestra ภายใต้การอำนวยเพลงของ Walter Susskind และ Sir Molcolm Sargent และเคยแสดงร่วมวงกับ London Piano Trio หลายครั้ง นอกจากนั้น ยังเคยแสดงเดี่ยวเปียโนที่ ประเทศฝรั่งเศส เดนมาร์ค สหรัฐอเมริกา และประเทศใน กลุ่มยุโรปตะวันออก หลังเดินทางกลับจากต่างประเทศได้เข้ารับราชการในกองดุริยางค์ทหารเรือนาน 13 ปี ขณะเดียวกันก็ได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีผลงานที่ได้สร้างสรรค์ด้านการเรียบเรียงเสียงประสานเป็นจำนวนมาก อาทิ เพลงลมหวน สยามนุสติ ขอให้เหมือนเดิม เป็นต้น สำหรับการสร้างสรรค์ทำนองก็มีเป็นจำนวนมากเช่นกัน อาทิ ฝากรัก เพลงใจรำพึง รักแท้ ใจหาย เป็นต้น “อาจารย์เปีย” เป็นครูเปียโนคนสำคัญที่ได้เพาะบ่มศิลปินเปียโนที่มีชื่อเสียงของไทยมากมาย แม้ในบั้นปลายของชีวิตก็ยังคงอุทิศเวลาเพื่อสอนศิษย์รุ่นเยาว์จนกระทั่งเสียชีวิตอย่างสงบในวันที่ 22 ธันวาคม 2549 สิริรวมอายุได้ 73 ปี เผยแพร่โดย บริษัท ซิลเลเบิล จำกัด ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อเผยแพร่ข่าว กรุณาติดต่อ คุณสมคิด เจริญศักดิ์ โทร. 0 2254 6895-7, โทรสาร 0 2255 4468

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ