ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด เดือนพฤษภาคม 2552 และในช่วง 8 เดือนแรกปีงบประมาณ 2552 (ตุลาคม 2551 — พฤษภาคม 2552)

ข่าวทั่วไป Tuesday June 30, 2009 15:58 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 มิ.ย.--สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังได้แถลงฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือนพฤษภาคม 2552 รัฐบาลยังคงมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจในขณะที่ภาคเอกชนยังอ่อนแอผ่านการขาดดุลเงินงบประมาณ 46,593 ล้านบาท ส่งผลให้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณจำนวนรวม 498,019 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 17,148 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวมทั้งสิ้น 480,871 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.3 ของ GDP สะท้อนถึงความสำเร็จของการใช้จ่ายของภาครัฐในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและลดการชะลอตัวของภาคเศรษฐกิจในสาขาต่างๆ ทั้งนี้ รัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลเงินสดด้วยการออกพันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลัง รวมทั้งใช้เงินคงคลังบางส่วน ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2552 เท่ากับ 101,719 ล้านบาท ซึ่งเป็นระดับที่สูงและมั่นคงต่อฐานะการคลังของรัฐบาล โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ฐานะการคลังเดือนพฤษภาคม 2552 1.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 114,413 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 54,542 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 32.3) โดยมีสาเหตุสำคัญจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมต่ำกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากวันครบกำหนดการยื่นชำระภาษีจากกำไรสุทธิของนิติบุคคล และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมตรงกับวันหยุดราชการ (31 พ.ค. 2552) จึงได้มีการยืดระยะเวลาการยื่นชำระภาษีออกไปเป็นวันที่ 1 มิ.ย. 2552 ทำให้มีรายได้ส่วนหนึ่งเหลื่อมไปอยู่ในเดือนมิถุนายน นอกจากนั้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง 1.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 161,006 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 34,240 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 27.0 ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 114,772 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว รายจ่ายลงทุน 39,973 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 244.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว และมีการเบิกจ่ายรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อนอีกจำนวน 6,261 ล้านบาท (ตารางที่ 1) การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ เงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 21,659 ล้านบาท รายจ่ายให้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจำนวน 4,175 ล้านบาท และเงินอุดหนุนให้แก่กระทรวงศึกษาธิการจำนวน 4,049 ล้านบาท ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเดือนพฤษภาคม 2552 หน่วย: ล้านบาท เดือนพฤษภาคม เปรียบเทียบ 2552 2551 จำนวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 154,745 119,961 34,784 29.0 1.1 รายจ่ายประจำ 114,772 108,354 6,418 5.9 1.2 รายจ่ายลงทุน 39,973 11,607 28,366 244.4 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 6,261 6,805 -544 -8.0 3. รายจ่ายรวม (1+2) 161,006 126,766 34,240 27.0 ที่มา: กรมบัญชีกลาง 1.3 จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้นส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนพฤษภาคม 2552 ขาดดุล 46,593 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 891 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดจำนวน 47,484 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลมีการกู้เงินเพื่อการชดเชยการขาดดุลโดยออกพันธบัตร และตั๋วเงินคลังจำนวน 51,312 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) เกินดุลจำนวน 3,828 ล้านบาท (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสดเดือนพฤษภาคม 2552 หน่วย: ล้านบาท พฤษภาคม เปรียบเทียบ 2552 2551 จำนวน ร้อยละ 1. รายได้ 114,413 168,955 -54,542 -32.3 2. รายจ่าย 161,006 126,766 34,240 27.0 3. ดุลเงินงบประมาณ - 46,593 42,189 -88,782 -210.4 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ -891 - 48,862 47,971 -98.2 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) -47,484 -6,673 -40,811 611.6 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 51,312 11,500 39,812 346.2 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) 3,828 4,827 -999 -20.7 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 2. ฐานะการคลังในช่วง 8 เดือนแรกปีงบประมาณ 2552 (ตุลาคม 2551 — พฤษภาคม 2552) 2.1 รายได้นำส่งคลัง รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 776,450 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 147,330 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 15.9 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมจัดเก็บภาษีในสังกัดกระทรวงการคลัง (กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร) ลดลงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรขาเข้า และภาษีภาษีสรรพสามิตน้ำมัน นอกจากนั้นการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจก็ลดลงเช่นกัน 2.2 รายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 1,274,469 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 197,585 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 18.3 ประกอบด้วยรายจ่ายปีปัจจุบัน 1,177,301 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 18.1 คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 60.3 ของวงเงินงบประมาณ (1,951,700 ล้านบาท) และรายจ่ายปีก่อน 97,168 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 21.6 (ตารางที่ 3) รายจ่ายปีปัจจุบันจำนวน 1,177,301 ล้านบาท แบ่งออกเป็นรายจ่ายประจำ 989,227 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 22.3 และรายจ่ายลงทุน 188,074 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว (ลดลงร้อยละ 0.1) ตารางที่ 3 การเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 หน่วย: ล้านบาท 8 เดือนแรก เปรียบเทียบ 2552 2551 จำนวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 1,177,301 996,969 180,332 18.1 1.1 รายจ่ายประจำ 989,227 808,755 180,472 22.3 1.2 รายจ่ายลงทุน 188,074 188,214 -140 -0.1 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 97,168 79,915 17,253 21.6 3. รายจ่ายรวม (1+2) 1,274,469 1,076,884 197,585 18.3 ที่มา: กรมบัญชีกลาง 2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ขาดดุล 480,871 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 498,019 ล้านบาท ส่วนดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุลจำนวน 17,148 ล้านบาท (สาเหตุหลักมาจากการได้รับชดใช้เงินคงคลังจำนวน 27,540 ล้านบาท) ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงิน รวมทั้งเพื่อเป็นการประหยัดภาระดอกเบี้ย จึงได้ชดเชยการขาดดุลดังกล่าวด้วยการออกพันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลังรวม 353,530 ล้านบาท และใช้เงินคงคลัง 127,341 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2552 มีจำนวน 101,719 ล้านบาท (ตารางที่ 4) ตารางที่ 4 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 8 เดือนแรกปีงบประมาณ 2552 (ตุลาคม 2551 — พฤษภาคม 2552) หน่วย: ล้านบาท 8 เดือนแรก เปรียบเทียบ 2552 2551 จำนวน ร้อยละ 1. รายได้ 776,450 923,780 -147,330 -15.9 2. รายจ่าย 1,274,469 1,076,884 197,585 18.3 3. ดุลเงินงบประมาณ - 498,019 -153,104 -344,915 225.3 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 17,148 -50,095 67,243 -134.2 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) -480,871 -203,199 -277,672 136.7 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 353,530 132,891 220,639 166.0 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) -127,341 -70,308 -57,033 81.1 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0-2273-9020 ต่อ 3558 และ 3555

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ