เพราะน้ำคือชีวิต...ไทยน้ำทิพย์ร่วมอนุรักษ์น้ำอย่างยั่งยืน

ข่าวทั่วไป Wednesday July 8, 2009 15:19 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ก.ค.--แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์ “แม่น้ำวังตื้นเขิน ชาวบ้านที่นี่เดือดร้อน” เสียงสะท้อนเล็กๆ เมื่อ 3 ปีก่อน ของชาวบ้านกว่า 6 หมู่บ้านริมแม่น้ำวัง จ.ลำปาง ทำให้ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด นำโดย วีระ อัครพุทธิพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการองค์กรสัมพันธ์ฯ บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มชั้นนำของโลก ริเริ่ม “โครงการอนุรักษ์แม่น้ำวัง” ขึ้น ตั้งแต่ปี 2550 และในปีนี้ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ได้สานต่อกิจกรรมเพื่อสังคมในโครงการอนุรักษ์แม่น้ำวังต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี สถานีพัฒนาที่ดินลำปาง และเทศบาลตำบลเกาะคา จัด “พิธีสืบชะตา — ยอคุณแม่น้ำวัง และปลูกหญ้าแฝก” ขึ้น ณ ริมแม่น้ำวัง ต.ศาลา อ.เกาะคา จ.ลำปาง เพื่อแก้ไขปัญหาการตื้นเขินของลำน้ำวัง โดยการร่วมพลังของเหล่าอาสาสมัครจากไทยน้ำทิพย์ ส่วนการปกครองท้องถิ่น และชาวบ้าน กว่า 1,500 ชีวิต ปลูกหญ้าแฝกร่วมกันริมตลิ่งสองฝั่งแม่น้ำวัง รวมระยะทางยาวประมาณ 5.5 กิโลเมตร ในพื้นที่กว่า 6 หมู่บ้าน รวมทั้งปลูกต้นไม้ ปล่อยปลาและกุ้ง จำนวน 650,000 ตัว เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์กลับสู่แม่น้ำวังอย่างแท้จริง วีระ อัครพุทธิพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด กล่าวว่า “ไทยน้ำทิพย์ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับน้ำโดยตรง น้ำจึงเป็นทรัพยากรที่เราใช้ในการผลิตสินค้า เราจึงเข้าใจถึงปัญหาและเล็งเห็นความสำคัญของน้ำ ดังที่ได้มีพระราชดำรัสว่า “น้ำคือชีวิต” บริษัทฯ จึงมีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ ที่จะสนองพระราชดำริ เพื่อตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย จึงกำหนดให้การจัดการเรื่อง “น้ำ” เป็นวาระสำคัญของบริษัทฯ” “สำหรับโครงการอนุรักษ์แม่น้ำวัง ปีแรก เราปลูกหญ้าแฝก รวมระยะทางยาว 3 กิโลเมตร ไม่ครอบคลุม เนื่องจากปลูกน้อย จึงไม่เห็นผลเท่าที่ควร ปีที่ 2 มีความชำนาญมากขึ้น และรู้จุดบกพร่องของครั้งแรก เราจึงได้ปลูกขยายรวมระยะทางยาว 5 กิโลเมตร จำนวนกว่า 300,000 กล้า และปีนี้ เราปลูกซ่อมแซมส่วนเดิม ได้แก่ บ้านแสนตอ บ้านหนองจอก และบ้านไร่อ้อย และปลูกเพิ่มเติมในพื้นที่ที่ได้รับการขุดลอกใหม่ได้แก่ บ้านผึ้ง บ้านใหม่สบปุง และบ้านศาลา รวมทั้งสิ้น 6 หมู่บ้าน รวมระยะทาง 5.5 กิโลเมตร จำนวน 350,000 กล้า พร้อมมีการปล่อยปลาและกุ้ง จำนวน 650,000 ตัว เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์กลับสู่แม่น้ำวัง นอกจากนั้น หญ้าแฝก ยังเป็นพืชจากพระราชดำริ ด้วยหญ้าแฝกเป็นพืชที่มหัศจรรย์ มีรากหยั่งลงดินประมาณ 3 เมตร เกาะกันแน่น ช่วยอุ้มน้ำได้ดี โตมาสามารถตัดใบไปทำประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ทำหลังคาแฝก หรือสานเป็นหมวกหรือรองเท้า เป็นต้น นับเป็นการสร้างรายได้ให้ชุมชนอีกทางหนึ่ง” บริษัท ไทยน้ำทิพย์ ได้ทำกิจกรรมเรื่องน้ำมานานหลายสิบปี โดยมีการอนุรักษ์แหล่งน้ำ 3 ประเภทด้วยกัน คือ ตั้งแต่ต้นน้ำ อาทิ ปลูกต้นไม้ สร้างฝายชะลอน้ำ เช่นที่บ้านป่าสักงาม อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ฯลฯ กลางน้ำ เป็นการดูแลทำความสะอาดแหล่งน้ำก่อนถึงชุมชน อาทิ โครงการอนุรักษ์แม่น้ำวังที่ได้ทำกิจกรรมครั้งนี้ โครงการอนุรักษ์ชายฝั่งสากล เช่นที่ ชายหาดอ่าวนาง จ.กระบี่, ชายหาดพัทยา จอมเทียน จ.ชลบุรี และปลายน้ำ การดูแลจัดการน้ำเมื่อถึงชุมชน อาทิ การขุดลอกคลอง การทำแก้มลิง เช่นที่ จ.นครสวรรค์ จ.บุรีรัมย์ การสร้างระบบประปาหมู่บ้านและถังเก็บน้ำ เช่นที่ จ.ขอนแก่น เป็นต้น “เรามุ่งหวังที่จะพัฒนาแหล่งน้ำให้สะอาด ตั้งเป้าไว้ว่าภายใน 2 ปีจะต้องมีคน 2. 5 ล้านคน ได้รับประโยชน์จากแหล่งน้ำที่สะอาด” วีระ อัครพุทธิพร กล่าว “เรามีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืนตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง และในแต่ละครั้งที่มีกิจกรรมเพื่อสังคม พนักงานของเราจะขออาสาสมัครร่วมด้วยเสมอ สิ่งที่เราปลูกฝังคนของเราตลอดเวลา คือ ต้องมีจิตอาสาก่อนเป็นอันดับแรก ต้องรู้จักคืนประโยชน์กลับสู่สังคม เมื่อคนในองค์กรมีจิตอาสา ทำให้สามารถทำกิจกรรมเพื่อสังคมได้อย่างยั่งยืน เราจะไม่ทำโครงการที่ฉาบฉวย แต่จะเลือกโครงการที่ยั่งยืนและเกิดประโยชน์ต่อสังคมจริง โปรโมชั่นไม่ใช่ตัวบ่งบอกความเป็นแบรนด์ระดับโลก หากแต่การพัฒนาการผลิตอย่างไร ให้ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมต่างหาก เพราะเราเชื่อว่าเราจะอยู่ได้ สังคมต้องอยู่ได้ก่อน” ได้ฟังอย่างนี้แล้ว...เชื่อได้ว่าไทยน้ำทิพย์จะเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ไม่ทิ้งเรื่องน้ำอย่างแน่นอน…แล้วคุณล่ะ วันนี้รักษ์น้ำแล้วหรือยัง หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ บริษัท แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์ จำกัด โทร.0-2434-8300, 0-2434-8547 คุณสุจินดา, คุณแสงนภา, คุณปิติยา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ