ผลสำรวจทัศนคติและความคิดเห็นของผู้บริหาร นักธุรกิจอุตสาหกรรม นักศึกษาและประชาชนโดยทั่วไปต่อการพัฒนารัฐวิสาหกิจ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจและนโยบายรัฐวิสาหกิจ

ข่าวทั่วไป Thursday July 16, 2009 14:33 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ก.ค.--มหาวิทยาลัยรังสิต ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ได้แถลงถึง ผลสำรวจทัศนคติและความคิดเห็นของผู้บริหาร นักธุรกิจอุตสาหกรรม นักศึกษาและประชาชนโดยทั่วไปต่อการพัฒนารัฐวิสาหกิจ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจและนโยบายรัฐวิสาหกิจ ว่า การสำรวจความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวทำขึ้นระหว่างวันที่ 9 ก.ค. — 15 ก.ค. 52 หลังการชุมนุมหยุดงานประท้วงของสหภาพการรถไฟแห่งประเทศไทยต่อการปรับโครงสร้าง รฟท หลังการเรียกร้องค่าครองชีพของพนักงานรัฐวิสาหกิจ โดยทำการสุ่มตัวอย่างประชากรจำนวน 1,402 คน เป็นชาย 686 คน (48.93%) เป็นหญิง 716 (51.07%) จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามพบว่า บุคคลที่มีระดับรายได้สูง มีสถานภาพการทำงานที่ดี และ มีการศึกษาสูง มีแนวโน้มสนับสนุนให้มีการปรับโครงสร้างรัฐวิสาหกิจ แปรรูปและปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ขณะที่ยังมีบุคคลจำนวนไม่น้อยยังคงมองว่า การแปรรูป คือ การขายสมบัติของชาติ โดยไม่ได้เข้าใจความหมายที่แท้จริง นอกจากนี้ ยังมีการเข้าใจสับสนและให้คำนิยาม การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ คนจำนวนไม่น้อยยังไม่มั่นใจว่า กระบวนการพัฒนารัฐวิสาหกิจจะดำเนินการด้วยความโปร่งใสและยึดหลักธรรมภิบาล ขณะที่ประชากรจำนวนไม่น้อยเช่นเดียวกันมั่นใจอย่างมีเงื่อนไขว่า สามารถพัฒนารัฐวิสาหกิจให้ดีขึ้นได้ แปรรูปโดยผลประโยชน์ตกกับคนส่วนใหญ่ ประเทศชาติ รัฐวิสาหกิจนั้นๆรวมทั้งพนักงาน แต่เป็นการมีความมั่นใจอย่างมีเงื่อนไข คือ มีรัฐบาลที่ดีโปร่งใส มีรัฐมนตรีคลังและรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงที่ยึดถือผลประโยชน์ของส่วนรวมและมีวิสัยทัศน์ พนักงานและสหภาพแรงงานมีเหตุมีผล มีคุณภาพและเข้มแข็ง รวมทั้ง คุณภาพของคณะกรรมการ (บอร์ด) และผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจนั้นๆด้วย เป็นต้น ดร. อนุสรณ์ ได้แถลงผลว่า จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 1,402 คน เพศชาย 686 คน คิดเป็น 48.63% เพศหญิง 716 คน คิดเป็น 51.07% สรุปผลสำรวจสถานการณ์รัฐวิสาหกิจ 1. ท่านเข้าใจความหมายของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างไร - ขายรัฐวิสาหกิจ 10.06% - ให้สัมปทานแก่เอกชนเข้าร่วมพัฒนา 15.55% - ตั้งเป็นบริษัทลูกขึ้นมาใหม่ 1.64% - นำเข้าจดทะเบียนในตลาดฯ 13.41% 2. ท่านคิดว่าแนวทางการพัฒนารัฐวิสาหกิจควรจะทำอย่างไร - แปรรูป 16.69% - ปฏิรูปโดยไม่ต้องแปรรูป 14.55% - แปรรูปและปฏิรูป 37.16% - ปรับปรุงประสิทธิภาพ 31.60% 3. ท่านคิดว่าสาเหตุใดที่ทำให้รัฐวิสาหกิจไทยขาดทุน - สิทธิประโยชน์ให้แก่พนักงานและกรรมการมากเกินไป 10.84% - การบริหารงานไร้ประสิทธิภาพ 27.10% - ทุจริตคอร์รัปชั่น 37.16๔ - นักการเมืองแทรกแซง 24.89% 4. ท่านคิดว่ารัฐวิสาหกิจใดบ้างที่ขาดทุนมาก 3 อันดับแรก - ขสมก 44.79% - การบินไทย 36.16% - องค์การโทรศัพท์ 9.27% 5. แนวทางในการพัฒนารัฐวิสาหกิจที่ขาดทุน ควรทำอย่างไร - ขายรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 9.49% - ให้สัมปทานแก่เอกชนเข้าร่วมพัฒนา 45.51% - ตั้งเป็นบริษัทลูกขึ้นมาใหม่ 23.82% - ขายรัฐวิสาหกิจบางส่วน 17.62% 6. ท่านคิดว่ารัฐวิสาหกิจใดบริการดีที่สุดและมีความโปร่งใสมากที่สุด (ระบุ 3 อันดับแรก) กฟผ = 34.88% ปตท = 26.68% อื่นๆ = 32.67% 7. ท่านคิดว่ารัฐวิสาหกิจใดต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพมากที่สุด (ระบุ 3 อันดับแรก) รฟท = 48.79% ขสมก = 24.11% อื่นๆ = 25.46% 8. ท่านคิดว่ารัฐวิสาหกิจที่มีการแปรรูปแล้วให้บริการดีหรือไม่ พอใช้ = 33.59% ดีขึ้น = 21.18% เล็กน้อย = 11.63% ไม่แน่ใจ = 15.12% 9. ท่านคิดว่ารัฐวิสาหกิจใดมีภาพลักษณ์ว่าทุจริตมากที่สุด (ระบุ 3 อันดับแรก) องค์การคลังสินค้า = 27.10% การท่าอากาศยาน = 21.40% รฟท = 19.90% 10. ท่านคิดว่าเราควรมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่มีกำไรหรือไม่ ควร = 61.13% ไม่ควร = 38.87% 11. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนทั่วไปหรือไม่ ไม่มี = 13.77% มีผลกระทบ = 68.76% 12. ท่านคิดว่าก่อนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ส่งผลกระทบต่อพนักงานในรัฐวิสาหกิจหรือไม่ ไม่มี = 18.54% มีผลกระทบ = 81.46% 13. ท่านคิดว่าก่อนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ควรมีการทำประชามติหรือไม่ ควร = 58.92% ไม่ควร = 33.95% 14. ท่านคิดว่ารัฐวิสาหกิจที่มีลักษณะเป็นธุรกิจผูกขาดควรมีการแปรรูปหรือไม่ ไม่ควร = 39.51% ควร = 32.24% ไม่แน่ใจ = 28.25% ดร. อนุสรณ์ กล่าวอีกว่า การปฏิรูปและผ่าตัดนี้ ต้องตั้งมั่นอยู่เป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม ไม่ใช่ช่องทางของการหาประโยชน์ส่วนตนจากการแอบอ้างว่า ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ปัญหาเชิงโครงสร้างไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง หรือ สังคม ต้องอาศัยบทบาทภาครัฐเข้ามาจัดการ ปัญหาเชิงโครงสร้างต้องอาศัยอำนาจการเมืองอาศัยรัฐบาลแน่นอน หากใช้กลไกตลาดปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจะใช้เวลายาวนาน ผู้คนที่เดือดร้อนจะทนไม่ไหว นโยบายสาธารณะที่มุ่งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ รัฐวิสาหกิจ สังคม ระบบราชการเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นในเบื้องต้น ขณะที่การก่อหนี้สาธารณะเพื่อนำมาชดเชยงบประมาณขาดดุลมีความจำเป็นสำหรับสถานการณ์เฉพาะหน้า แต่อาจสร้างปัญหาฐานะการคลังในอีก ๓-๔ ปีข้างหน้าได้ การเก็บภาษีเพิ่ม หรือ ลดการใช้จ่าย ไม่อาจกระทำได้ในภาวะที่เศรษฐกิจหดตัวเช่นนี้ หันมาดูแหล่งรายได้สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง ก็คือ ผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจบางแห่งก็พอช่วยบรรเทาปัญหาลงได้บ้าง รายได้โดยรวมของรัฐวิสาหกิจเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ อยู่ที่ ๓.๐๕ ล้านล้านบาท ด้วยขนาดของมูลค่าทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินทั้งระบบอยู่ที่ ๓.๒๘๘ ล้านล้านบาท มูลค่าทรัพย์สินของกลุ่มสถาบันการเงินรัฐวิสาหกิจอยู่ที่ ๓.๓๓ ล้านล้านบาท ด้วยมูลค่าทรัพย์สินระดับนี้ รายได้เข้ารัฐจึงควรดีกว่านี้มาก หากเราเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน เพิ่มธรรมาภิบาล และ ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจครั้งใหญ่ ซึ่งอาจจะแปรรูปหรือไม่แปรรูปก็ได้ ผลการสำรวจทัศนคติและความคิดเห็นประชาชนครั้งนี้เป็นการตอกย้ำและสะท้อนอย่างชัดเจนว่า คนส่วนใหญ่ต้องการการเปลี่ยนแปลง ต้องการการปฏิรูป รวมทั้งต้องการให้เกิดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่จำเป็นต้องทำเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมและประชาชนผู้ใช้บริการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ คณะเศรษฐศาสตร์ และศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต โทรศัพท์ 02-997-2222 ต่อ 1238, 1239 และ 1251 ติดต่อ คุณนุชนารถ, คุณอุไร, คุณจุฑาทิพ www.rsu.ac.th/eco

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ