ศูนย์วิจัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเปิดตัวนิตยสาร Medica Tourism เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทยสู่ตลาดโลก

ข่าวท่องเที่ยว Friday August 28, 2009 17:06 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 ส.ค.--ศูนย์วิจัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ประธานกรรมการศูนย์วิจัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเปิดตัวนิตยสารรายเดือน Medica Tourism อย่างเป็นทางการเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย “นิตยสาร Medica Tourism จะเน้นในเรื่องของการแพทย์ไทย เรื่องของสถานที่พัก เครื่องอำนวยความสะดวกสบาย โดยการร่วมมือจากตัวแทนจากหลายหน่วยงาน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อการนำเสนอทางเลือกในการท่องเที่ยว แพ็กเกจท่องเที่ยว การลดราคาต่างๆ” กล่าวโดย คุณชาตรี นิรมิตวิจิตร รูปแบบของนิตยสารจะมีทั้งหมด 120 หน้า โดยมีการจำหน่ายออกสู่ 60 ประเทศ สู่สถานเอกอัครราชทูตไทย สถานกงสุลไทยในต่างประเทศ องค์กรส่งเสริมทางการค้า และศูนย์การท่องเที่ยวในหลากหลายประเทศ ศูนย์วิจัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้ก่อตั้งขึ้น เพื่อสนับสนุนการพัฒนางานการบริการทางการแพทย์ของไทยที่มีระดับ โดยเฉพาะการให้บริการในเรื่องของที่พัก โรงแรม การบริการในเรื่องของสุขภาพ การคมนาคม สัญจรไปมา เพื่อความสะดวกสบายของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ศูนย์วิจัยฯได้เป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อข้องมูล ข่าวสาร ของธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทย เพื่อที่จะผลักดันการเติบโตที่รุดหน้า และสรรค์สร้างภาพลักษณ์ประเทศไทย ในการเป็นที่หนึ่งทางการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในตลาดเอเชีย พร้อมรับมือกับคู่แข่งทั้งประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินเดีย และฟิลิปปินส์ ทางศูนย์ฯ มีการดำเนินงานโดยการรวบรวมเอกสารข้อมูล (white paper) ซึ่งจะถ่ายทอดข่าวสารจากสื่อหลากหลายแขนง การคาดคะเนตลาดทั้งจากผู้ประกอบการต่างชาติ และไทย คำปรึกษาทั้งจากภาครัฐ และเอกชน “ทางศูนย์ฯ ต้องการที่จะส่งเสริมความก้าวหน้า และการพัฒนาทางการค้าที่เกิดขึ้นภายในประเทศ” กล่าวโดยคุณชาตรี นิรมิตวิจิตร ผู้ซึ่งคร่ำหวอดในวงการสื่อสิ่งพิมพ์มามากมายทั้งจาก รีดเดอร์ ไดเจสท์ หนังสือพิมพ์ บางกอก โพสต์ และ ซิงเสียนเยอะเป้า “วัตถุประสงค์ของโครงการ ไม่เพียงแต่เพื่อการวิเคราะห์ตลาด หรือส่งเสริมการบริการที่มีระดับในส่วนของบริการสุขภาพ ความปลอดภัย และภาพรวมของการท่องเที่ยว แต่เพื่อการสร้างความมั่นใจและศักยภาพของประเทศไทย ต่อคู่แข่งทางการค้าจากประเทศในภูมิภาค เพื่อให้เราเป็นประเทศที่ลูกค้าเลือกมาใช้บริการทางการแพทย์” จากจุดเริ่มต้นที่ประเทศไทยเป็นผู้นำในเรื่องของศัลยแพทย์ของการผ่าตัดแปลงเพศ ด้วยจำนวนรายได้ที่เพิ่มขึ้นเท่าตัว แสดงให้เห็นชัดว่าการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทยกำลังรุดหน้า และนำรายได้เข้าสู่ประเทศได้อย่างเหลือล้นในช่วงระยะเวลาสองถึงสามปีที่ผ่านมา ภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์ การแข่งขันทางธุรกิจทางการแพทย์จึงเพิ่มสูงขึ้น ทั้งค่ารักษาพยาบาล การบำบัด การให้บริการ ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นแม้แต่น้อย จากการคาดการณ์ว่าเปอร์เซ็นต์การเติบโตจะมีถึง 14% ภายใน 4 ปีข้างหน้านี้ แต่ตลาดของประเทศไทยก็ยังต้องแข่งขันกับประเทศต่างๆ ทั้งสิงคโปร์ อินเดีย และฟิลิปปินส์ จากการศึกษาของ Global Healthcare Association ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยยังคงมีความเชื่อมั่นที่ในการเติบโตในตลาดภายในภูมิภาคนี้ โดยค่ารักษาพยาบาลที่ถูกกว่าประเทศสิงคโปร์ และห้าเท่าน้อยกว่าที่ประเทศสหรัฐอเมริกา วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจทำให้หลายประเทศโดยเฉพาะสิงคโปร์และอินโดนีเซีย ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตามประเทศทางตะวันออกกลางยังคงสามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศได้อย่างมาก ประเทศที่น่าจับตามองคือ มาเลเซีย ซึ่งได้มีวิธีการในการประชาสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบเพื่อกระจายออกสู่ประเทศเวียดนาม กัมพูชา และสาธารณรัฐอาหรับ อิมิเรตส์ เช่น การเสนอวีซ่า 6 เดือน สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการทางการแพทย์ ซึ่งมากกว่านักท่องเที่ยวปกติที่ระยะเวลาเพียง 30 วัน ประเทศอินเดียได้เสนอค่ารักษาพยาบาลที่ถูกที่สุดในประเทศแถบเอเชีย เช่น การรักษาระบบไหลเวียนเลือด การศัลยกรรมกระดูกและข้อ ที่คิดเป็นเงินเพียงแค่1/10 ของค่ารักษาพยาบาลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยที่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ชาวอินเดียมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับการให้บริการ และคุณภาพการรักษาพยาบาล อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวฟิลิปปินส์นั้นก้าวหน้าด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้รับการศึกษาสูงสุดด้วยการใช้ภาษาอังกฤษโดยทั่วกัน หากแต่กลับได้รับผลกระทบในเรื่องของภาพพจน์เรื่องความปลอดภัย ค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้น และปัญหาคอร์รัปชั่นภายในประเทศที่ทำให้เป็นปัญหาต่อการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ไต้หวันและเกาหลีอยู่ในช่วงการเริ่มต้นซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทางรัฐบาลอย่างเต็มที่ “ไต้หวันมีการให้บริการทางการแพทย์ที่คุณภาพได้ระดับ และอยู่ในราคาที่มีการแข่งขันสูง เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนตับ ที่มีราคาครึ่งหนึ่งในประเทศไต้หวัน เท่ากับที่ประเทศสิงคโปร์” กล่าวโดยแหล่งข่าวออนไลน์ รูปภาพ: 1. สัญลักษณ์ HTRIS 2. หน้าปกนิตยสาร Medica Tourism ศูนย์วิจัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (The Health Travel Industry Research Society of Thailand - HTIRS) ที่อยู่: 12-I อาคารไทยสมุทร, 163 ถนนสุรวงศ์, กรุงเทพฯ 10500 ประเทศไทย โทร: 02-236-5399, 02-236-5400 แฟกซ์: 02-236-5398 EMAIL: editor@asianspublication.com, asst-editor@asianspublication.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ