กรุงเทพฯ--22 ก.พ.--Grant Thornton
หกในสิบของผู้นำธุรกิจมีความเครียดมากกว่าปีทีแล้ว
ระดับของความเครียดสูงขึ้นในทั้ง 30 ประเทศที่ทำการสำรวจ
ผลการสำรวจเจ้าของธุรกิจระหว่างประเทศ(IBOS) ในปี 2549 ของเดอะแกรนท์ ธอร์นตัน อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยว่าระดับความเครียดท่ามกลางผู้นำธุรกิจในประเทศต่างๆ ทั่วโลกสูงขึ้นถึงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปีก่อน การวิจัยในหมู่เจ้าของธุรกิจมากกว่า 7,000 รายใน 30 ประเทศทั่วโลกแสดงให้เห็นว่าร้อยละ 57 ของเจ้าของธุรกิจมีความเครียดที่สูงขึ้น เปรียบเทียบกับที่อัตราร้อยละ 39 ในปี 2547 มีเพียงร้อยละ 6 เท่านั้นที่รู้สึกว่าระดับความเครียดของตนลดน้อยลง อันดับต้นของตารางเปรียบเทียบระดับความเครียดของปีที่ 2 นี้เป็นเจ้าของธุรกิจในประเทศไต้หวันซึ่งมีผู้เข้าร่วมการสำรวจ 9 ใน 10 รายรู้สึกว่าเครียดมากขึ้นในปีนี้ ที่ตามหลังประเทศไต้หวันมานั้นเป็นประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว นั่นคือ จีน (ร้อยละ 87) ฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 76) ฮ่องกง (ร้อยละ69) และสิงคโปร์ (ร้อยละ 67) นักธุรกิจไทยติดอันดับที่ 10 ในระดับโลกโดยร้อยละ 62 ของผู้บริหารระบุว่าระดับความเครียดของตนสูงขึ้นกว่าปีก่อน
และโดยไม่เป็นที่สงสัย นักธุรกิจที่มีความเครียดน้อยที่สุดในปีนี้พบได้ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ถึงกระนั้นระดับความเครียดก็ยังเพิ่มสูงขึ้น ผู้นำธุรกิจชาวสวีเดนนั้นมีความเครียดน้อยที่สุดโดยมีเพียงร้อยละ 24 รู้สึกว่าเครียดมากขึ้น ตามมาด้วยนักธุรกิจอิตาลี (ร้อยละ 40) สเปนและฝรั่งเศส (ร้อยละ 42) เนเธอร์แลนด์และสหราชอาณาจักร (ร้อยละ 43) และสหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 45)
ปีเตอร์ วอล์คเกอร์ หุ้นส่วนของแกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทยกล่าวว่า “ ระดับความเครียดของผู้นำธุรกิจทั่วโลกพุ่งขึ้นจากปีก่อน ไม่ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศของผู้นำเหล่านี้จะเป็นช่วงขาขึ้นหรือขาลง แม้แต่ประเทศไทยก็ไม่มีการยกเว้น โดยระดับความเครียดของผู้นำธุรกิจที่เพิ่มขึ้นมาจากการหาช่องทางภายใต้การเติบโตของเศรษฐกิจในปัจจุบัน และประกอบกับความวิตกเกี่ยวกับปัจจัยทางการเมืองและส่งแวดล้อมในอนาคต"
การวิจัยยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างความเครียดและจำนวนวันหยุดพักผ่อนของผู้บริหารทั่วโลก (ไม่รวมวันหยุดนักขัตฤกษ์/วันสำคัญ) ผู้นำธุรกิจส่วนใหญ่ ในเอเชียประสบกับภาวะความเครียดที่สูงขึ้นในปี 2548 ซึ่งอาจส่งผลต่อการหยุดพักผ่อนที่น้อยลง จากใต้สุดของตารางในกลุ่มนี้ คือ ประเทศไทยโดยผู้นำธุรกิจกล่าวว่านอกจากวันหยุดนักขัตฤกษ์พวกเขาใช้เวลาไปกับวันหยุดเป็นจำนวนวันเฉลี่ยเพียง 4 วันเท่านั้น ในขณะที่ประเทศในยุโรปต่างๆ อยู่ที่หัวตารางโดยมีจำนวนวันหยุดสูง ที่สุดที่จำนวนเฉลี่ยเท่ากับ 22 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยที่เท่ากับ 12 วันในเอเชีย ภายใต้สิ่งแวดล้อมของ “การทำงานหนัก” ในสหรัฐ วันหยุดเฉลี่ยที่เกิดขึ้นยังมีค่าต่ำกว่าโดยอยู่ที่เท่ากับ 14 วัน ประเทศที่อยู่บนสุดของตารางในกลุ่มนี้คือประเทศฝรั่งเศส โดยมีวันหยุดเฉลี่ยจำนวน 27 วัน ตามด้วยเนเธอร์แลนด์ (25 วัน) สหราชอาณาจักร และสวีเดน (22 วัน) และ เยอรมนี (21 วัน)
ปีเตอร์ วอล์คเกอร์กล่าวต่อว่า “ ความเกี่ยวเนื่องระหว่างระดับความเครียดกับวันหยุดนั้นน่าสนใจ ผลลัพธ์ทื่ได้หมายความว่าผู้บริหารที่มีวันหยุดมากกว่ารู้สึกเครียดน้อยกว่าหรือไม่? หรือเป็นเพราะว่าพวกเขามีความเครียดน้อยกว่า จึงสามารถหยุดได้มากกว่า ? ไม่ว่าทางใดๆ รูปแบบของวันหยุดในประเทศต่างๆ ทั่วโลกนั้นมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก โดยผู้นำธุรกิจในประเทศไทยนั้นมีจำนวนวันหยุดที่ต่ำกว่าหลายๆ ประเทศอย่างเห็นได้ชัด
ปัจจัยอีกปัจจัยหนึ่งที่เกื้อหนุนให้เกิดความเครียดในบางประเทศรวมถึงความรู้สึกไม่มั่นคงในการงาน ประเทศญี่ปุ่นและไทยควงคู่กันติดอันดับท็อปของกลุ่มสำหรับประเด็นด้านความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงของการงานโดยผู้เข้าร่วมสำรวจร้อยละ 49 กล่าวว่าปัจจัยดังกล่าวเป็นแรงกดดันอย่างสูงหรืออย่างมาก ตามหลังประเทศดังกล่าวคือ อินเดีย (ร้อยละ 48) และตุรกี (ร้อยละ 42) ผลสำรวจของประเทศที่มีผู้บริหารที่มีความรู้สึกกดกันในงานน้อยที่สุดได้แก่ สวีเดน (ร้อยละ 7) เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และ สิงคโปร์ (ร้อยละ 9)
เป็นไปได้ว่าระดับความเครียดที่สูงร่วมกับความวิตกเกี่ยวกับความมั่นคงในการงานเป็นเหตุให้ผู้บริหารไทยลดจำนวนวันหยุดของตนลงในปีก่อน ปีเตอร์กล่าวอย่างติดตลก “อาจเป็นเพราะพวกเขากังวลว่าหากพวกเขาหยุด งานจะหลุดมือไปหลังจากที่พวกเขากลับเข้าทำงานอีกครั้ง” จากนั้นเขาหันกลับมาเตือนว่า “ แม้ว่าการทำงานหนักจะเป็นเรื่องน่านิยม แต่ผู้บริหารไทยจำเป็นต้องรู้จักจัดการกับความเครียดของตนเอง และมีวันหยุดบ้าง ไม่เช่นนั้นพวกเขาอาจมีปัญหาด้านสุขภาพและคุณภาพของงานได้”
จบข้อความ
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ
ผลการสำรวจเจ้าของธุรกิจระหว่างประเทศ(IBOS) ในปี 2549 ของเดอะแกรนท์ ธอร์นตัน อินเตอร์เนชั่นแนลทำขึ้นจากเจ้าของธุรกิจขนาดกลางกว่า 7,000 รายจาก 30 ประเทศในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 IBOS เริ่มขึ้นในปี 2545 และทำการสำรวจธุรกิจในยุโรป (EBS) ซึ่งแกรนท์ ธอร์นตันเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2536 จนถึง 2544 การวิจัยทำขึ้นโดย Experian Business Strategies Limited และ Harris Interactive.
บันทึกถึงบรรณาธิการ
The Grant Thornton International Business Owners Survey (IBOS) ได้ทำการสำรวจบรรดาเจ้าของธุรกิจกว่า 7,000 รายจาก 30 ประเทศ ในระหว่างปี 2548 ที่ผ่านมา IBOS เริ่มต้นขึ้นในปี 2545 ต่อเนื่องจาก European Business Survey (EBS) ซึ่ง Grant Thornton ดำเนินการตั้งแต่ปี 2536 ถึง 2544 โดยมีการทำการวิจัยโดย Experian Business Strategies Limited และ Harris Interactive นอกจากคำถามเกี่ยวกับความเชื่อมั่น/การมองโลกในแง่ดีแล้ว ยังได้มีการสำรวจความคิดเห็นในประเด็นใหญ่ ๆ อีกหลายประเด็นด้วยซึ่งจะมีการวิเคราะห์และถ่ายทอดให้ทราบในอีก 2-3 เดือนข้างหน้านี้
ข้อมูลเกี่ยวกับ Grant Thornton International
Grant Thornton International เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีบริษัทสมาชิกซึ่งมีเครือข่ายทั่วโลกแต่ละประเทศมีเจ้าของและดำเนินการโดยอิสระจากกัน
ข้อมูลเกี่ยวกับ Grant Thornton ประเทศไทย
Grant Thornton ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในบริษัทที่ให้บริการด้านวิชาชีพชั้นนำในประเทศไทย ได้จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2534 ให้บริการให้คำปรึกษาทางด้าน IT และธุรกิจ ระบบการบัญชี การตรวจสอบบัญชีและการตรวจสอบภายใน การวางแผนด้านภาษีภายในประเทศและระหว่างประเทศ การให้คำปรึกษาด้านการเงินของบริษัท การปรับโครงสร้างหนี้และการปรับโครงสร้างองค์กร การจัดหาผู้บริหาร การวางแผนผู้สืบทอดธุรกิจและผลตอบแทน
ท่านสามารถเข้าไปในเว็บไซต์ www.gt-thai.com เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทของเรา
กรุณาติดต่อบุคคลด้านล่างนี้เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
ในกรุงเทพฯ
ปีเตอร์ วอร์คเกอร์ หรือนนทกร กิจธนไพศาล Grant Thornton ประเทศไทย
โทร. 02-654-3330 หรือ perer,[email protected]
หรือในลอนดอน
นัน วิลเลี่ยมส์ หรือ เกรก มัวร์ Grant Thornton International Press Office
โทร. 0870 420 3256 / 07774 518 หรือ [email protected]
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net--จบ--