เอสจีเอส ให้ข้อมูลลงลึกกฎระเบียบข้อบังคับและมาตรฐาน IECQ / IEC

ข่าวทั่วไป Friday March 24, 2006 13:26 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 มี.ค.--พิตอน คอมมิวนิเคชั่น เอสจีเอส ให้ข้อมูลลงลึกกฎระเบียบข้อบังคับและมาตรฐาน IECQ / IEC ย้ำธุรกิจสินค้าไทยกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยืนได้ด้วยมาตรฐาน พร้อมเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิเคราะห์หาสารต้องห้ามตกค้างในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐาน RoHS บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด โดยคุณยุทธนา เพ็ชรมณี ผู้จัดการฝ่ายรับรองระบบงาน และ คุณประดิษฐ์ ยงศ์พันธ์ชัย ผู้จัดการฝ่ายทดสอบทางห้องปฏิบัติการ และสินค้าอุปโภคบริโภค ได้จัดงานพบสื่อมวลชนขึ้นที่ห้องปฏิบัติการ สำนักงานบริษัท เอสจีเอส ถนนพระรามสามซอย 59 เพื่อชี้แจงข้อมูลที่น่าสนใจเรื่องระเบียบข้อบังคับและมาตรฐาน IECQ / IEC ซึ่งเป็นมาตรฐานสำคัญสำหรับสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั้งส่งออกและนำเข้า พร้อมกันนี้ทางห้องปฏิบัติการของเอสจีเอสได้จัดให้มีการตรวจสอบสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อตรวจหาสารปนเปื้อนและสารเคมีที่มีผลต่อมาตรฐาน IECQ / IEC และเพื่อรักษามาตรฐานสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไทยก่อนส่งออกต่างประเทศ เนื่องจากสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างโดดเด่นและรวดเร็ว ทำให้การลงทุนของผู้ผลิตในแต่ละปีมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจไทย บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้นำเสนอบริการสำหรับมาตรฐาน IECQ / IEC ซึ่งเป็นมาตรฐานสำคัญในการควบคุมสารที่เป็นอันตรายต่อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยกมาตรฐานการรับรองให้สูงขึ้นอันเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับหน่วยงานการผลิต การนำเข้าสินค้าทั้งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและการยอมรับของผู้ซื้อทั้งภายในและต่างประเทศได้อีกทางหนึ่งIECQ / IEC - เพื่อการควบคุมสารพิษต่อผู้บริโภคในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ คุณยุทธนา เพ็ชรมณี ผู้จัดการฝ่ายรับรองระบบงาน บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “มาตรฐาน IECQ / IEC ถือเป็นมาตรฐานสำคัญสำหรับการรับรองด้านการควบคุมสารที่เป็นอันตรายหรือสารพิษที่มีผลต่อผู้บริโภคในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า HSPM — Hazardous Substances Process Management หรือ QC 080000 ซึ่งมาตรฐานนี้กำหนดโดยสถาบัน IEC (International Electro Technical Commission) ในประเทศไทยยังใช้การควบคุมโดยความสมัครใจและยังไม่มีกฎหมายบังคับหรือการประกาศใช้อย่างเป็นทางการขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ผลิต แต่เนื่องจากในปัจจุบันมีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของไทยหลายชนิดที่ต้องการส่งออกไปยังประเทศในแถบยุโรป อเมริกา และจีน ทำให้สินค้าไทยจำเป็นต้องถูกบังคับให้มีการทดสอบและรับรองตามกฎของ RoHS ซึ่งเอสจีเอสได้เล็งเห็นความสำคัญเป็นอย่างยิ่งทั้งมาตรฐาน IECQ / IEC เพราะเราต้องการให้ผู้ผลิตตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคและมาตรฐานการส่งออกที่มีผลต่อการส่งออกสินค้าไทยไปยังต่างประเทศ ” เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นอันดับต้นๆ ทำให้มีกฎหมายและมาตรการต่างๆ เข้ามาเป็นตัวกำหนดเช่นมาตรการ RoHS (Restriction of Certain Hazardous Substances) ซึ่งถือเป็นบทบัญญัติต่อข้อปฏิบัติว่าด้วยการส่งออกสินค้าจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปต่างๆ และอียูเพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปนเปื้อนหรือมีสารเคมีอันตราย ซึ่งบริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด ได้ผ่านการอนุมัติจาก IEC ซึ่งเป็นสถาบันที่น่าเชือถือและเป็นที่รู้จัก สามารถให้การรับรองในส่วนของ HSPM ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ 2548 ซึ่ง HSPM คือการตรวจสอบสารอันตรายซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 6 ชนิด อาทิ ตะกั่ว ปรอท แคดเมี่ยม เฮ็กซาวาแลนโครเมียม PBB (Polybrominate Biphenyls) หรือ PBDE (Polybrominate Diphenyls) ซึ่งสำคัญมากสำหรับการส่งออกสินค้าไปยังประเทศคู่ค้าเพราะจำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบทั้งหมด มิฉะนั้นจะไม่สามารถส่งสินค้าออกได้ยกเว้นผู้ผลิตที่มีการรับรอง RoHS หรือได้รับการรับรองมาตรฐาน IECQ แล้ว เอสจีเอสพร้อมด้วยห้องปฏิบัติการที่สามารถให้การบริการได้ทันที คุณประดิษฐ์ ยงศ์พันธ์ชัย ผู้จัดการฝ่ายทดสอบทางห้องปฏิบัติการ และสินค้าอุปโภคบริโภค กล่าวว่า “ห้องปฏิบัติการของเอสจีเอสได้ให้บริการตรวจสอบสารต้องห้ามในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งตรงกับระเบียบของทางอียู 2002 / 95 / EC ที่จำกัดการใช้สารที่เป็นอันตราย 6 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ศกนี้ โดยมุ่งกลุ่มลูกค้าที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ตลอดจนผู้ผลิตวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการประกอบวัตถุดิบเหล่านั้น ถ้าหากลูกค้าผ่านมาตรฐาน IECQ รายชื่อผู้ที่ผ่านมาตรฐานจะมีชื่อปรากฏในเว็บไซต์ของ IECQ ซึ่งเป็นรายชื่อที่แสดงถึงผู้ผลิตที่ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคอีกด้วย” ความสำคัญและประโยชน์ของมาตรฐาน IECQ และ IEC IECQ คือระบบการบริการรับรองคุณภาพสากลแบบธุรกิจสู่ธุรกิจแก่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมาตรฐานการรับรองคุณภาพสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดย IECQ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2548 ที่ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยคณะกรรมการชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ CECC ของ CENELEC ได้ใช้มาตรฐานระบบ IECQ นี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามบรรทัดฐานหลักในการบริการประเมินคุณภาพระดับนานาชาติเพื่อนโยบายที่สอดคล้องกันจาก IEC (International Electro Technical Commission) อันเป็นองค์กรชั้นนำสากลในการรับรองและจัดพิมพ์แนวทางปฏิบัติสู่มาตรฐานระดับนานาชาติ สำหรับสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โอกาสและประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้มาตรฐานของ IECQ - ผู้ผลิตจะได้รับการยอมรับโดยอัตโนมัตสำหรับสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ (E&E) เพราะถือเป็นมาตรฐานสากลในการรับรองคุณภาพสินค้าทั่วโลก - เพื่อจัดเตรียมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นไปในกลุ่มสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ (E&E) อันเกี่ยวเนื่องกับซัพพลายเชนทั่วโลก - เพื่อจัดเตรียมและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมอากาศยาน - เพื่อเข้าสู่ห้องปฏิบัติการด้านระบบรับรองคุณภาพการจัดการในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ - เพื่อเข้าสู่การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ (E&E) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ คุณ พัชรี และยา คุณ ญาฐณี เจ็งบำเพ็ญทาน บริษัท พิตอน คอมมิวนิเคชั่น จำกัด โทรศัพท์: 0.2612.2211-7 โทรสาร: 0.2612.2319 อีเมล์: [email protected] , [email protected] สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ