ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยปี 2553 วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจไตรมาสสี่

ข่าวทั่วไป Friday October 30, 2009 11:54 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 ต.ค.--มหาวิทยาลัยรังสิต ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยปี 2553 วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจไตรมาสสี่ ข้อเสนอแนะทางนโยบาย ทิศทางภาคอุตสาหกรรม ค่าเงิน อัตราดอกเบี้ยและตลาดหุ้น คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูปมองเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวชัดเจนแต่ยังมีปัญหาการว่างงานและความเสี่ยงของฐานะทางการคลังในประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ ตลาดการเงินมีความผันผวนสูงจากสภาพคล่องส่วนเกิน อนุสรณ์ ธรรมใจ ชี้เศรษฐกิจไทยปีหน้ากระเตื้องขึ้นจากภาคส่งออก การท่องเที่ยว การลงทุนภาคเอกชน ขณะที่จะเจอแรงกดดันเงินเฟ้อ น้ำมันและดอกเบี้ยแพง เงินบาทผันผวนหนัก ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยต่อไป นโยบายเศรษฐกิจของรัฐส่วนใหญ่เน้นสวัสดิการประชานิยม จึงทำให้ปัญหาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจบรรเทาลงบ้าง ส่วนขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวยังไม่มีความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม จีดีพีปี 53 ขยายตัวประมาณ 2-3% เศรษฐกิจช่วงครึ่งแรกปี 53 ขยายตัวเป็นบวกอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะจีดีพีไตรมาสแรกอาจขยายตัวสูงถึง 4-4.5% โดยที่ครึ่งปีหลังจะชะลอตัวจากแรงกดดันดอกเบี้ยสูงและข้อจำกัดของมาตรการการคลัง ประเทศคู่ค้าชะลอตัว โดยที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลังอาจลดลงมาอยู่ที่ระดับ 2.0-2.5% ทิศทางอัตราดอกเบี้ยมีโอกาสปรับสูงขึ้นได้ถึง 0.5-1.00% หนี้สาธารณะต่อจีดีพีมีสิทธิแตะระดับ 60% ยังไม่เกิดวิกฤติฐานะทางการคลัง หากเศรษฐกิจไม่โตตามเป้าอีก 3-4 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์มีโอกาสทดสอบระดับ 850 ช่วงครึ่งปีแรกจากกระแสเม็ดเงินไหลเข้าเอเชียแต่ไทยจะสูญเสียโอกาสในความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจการลงทุนของเอเชียรอบใหม่จากปัญหาการเมืองภายใน 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ที่มหาวิทยาลัยรังสิต อาคารสาทรธานี ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต ได้แถลงถึงการคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยปี 2553 ว่า มองเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวชัดเจนแต่ยังมีปัญหาการว่างงานและความเสี่ยงของฐานะทางการคลังในประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ ตลาดการเงินโลกมีความผันผวนสูงจากสภาพคล่องส่วนเกิน เศรษฐกิจโลกในปีหน้า (ปี 53) น่าจะขยายตัวประมาณ 3.0- 3.2 % มีการกระเตื้องขึ้นของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ยืนยันการฟื้นตัวในรูป V Shape อย่างชัดเจน ส่วนอัตราการเติบโตของจีดีพีโลกในปี 2552 คาดว่าจะอยู่ที่ (-1.1)- (-1.2) จากที่ประมาณการไว้ที่ต้นปีประมาณ -1.6 ดร. อนุสรณ์ กล่าวอีกว่า ในปี พ.ศ. 2553 นั้น ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยล้วนมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นบวกโดยที่เขตเศรษฐกิจยูโรโซนและญี่ปุ่นมีอัตราการฟื้นตัวต่ำที่สุด ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวในรูป V Shape โดยมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากระดับติดลบ -2.7% ในปี 52 มาอยู่ที่ระดับ 1.5% ในปี 53 การฟื้นตัวอย่างชัดเจนยังปรากฏอย่างชัดเจนในกลุ่มอาเซียน และ กลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออก ขณะที่จีนและอินเดียมีอัตราการเติบโตไม่เพิ่มขึ้นมากนักในปี 53 เมื่อเทียบกับปี 52 และมีแนวโน้มจะมีมาตรการการเงินและการคลังเข้มงวดเพิ่มขึ้นเพื่อบรรเทาภาวะฟองสบู่ โดยที่กลุ่มอาเซียน (ห้าประเทศสมาชิกเดิม) จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยในปี 53 อยู่ที่ 4% จากปี 52 ที่ขยายตัวเฉลี่ยไม่ถึง 1% คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2553 จะมีอัตราการขยายตัวที่ระดับ 2-3% เศรษฐกิจไทยปีหน้ากระเตื้องขึ้นจากภาคส่งออก การท่องเที่ยว การลงทุนภาคเอกชน ขณะที่จะเจอแรงกดดันเงินเฟ้อ น้ำมันและดอกเบี้ยแพง เงินบาทผันผวนหนัก ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยต่อไป นโยบายเศรษฐกิจของรัฐส่วนใหญ่เน้นสวัสดิการประชานิยม จึงทำให้ปัญหาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจบรรเทาลงบ้าง ส่วนขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวยังไม่มีความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม เนื่องจากการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรมนุษย์ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก ดร. อนุสรณ์ เปิดเผยอีกว่า อัตราการเติบโตทางด้านการลงทุนภาคเอกชนจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2553 โดยสามารถขยายตัวได้ที่ระดับ 2.7% เทียบกับปี 2552 ที่ติดลบประมาณ 16% ส่วนการบริโภคนั้นจะค่อยๆกระเตื้องขึ้นจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเริ่มกลับคืนสู่ภาวะปรกติ ส่วนระดับการเป็นหนี้ของภาคครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับรายได้ โดยคาดว่า อัตราการขยายตัวของการบริโภคจะอยู่ที่ระดับ 3.7% ภาคการค้าและภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวอย่างชัดเจนจากปีที่แล้ว โดยอัตราการขยายตัวของปริมาณการส่งออกจะอยู่ที่ 4.7% (ส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มขึ้น 9.1%) จากที่ปีที่แล้วที่ติดลบเกือบ 20% อัตราการเติบโตของปริมาณการนำเข้าอยู่ที่ 10.5% (การนำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มขึ้น 16.9%) ดุลการค้ายังคงเกินดุลต่อเนื่องจากปีที่แล้วที่ระดับ เศรษฐกิจช่วงครึ่งแรกปี 53 ขยายตัวเป็นบวกอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะจีดีพีไตรมาสแรกอาจขยายตัวสูงถึง 4.0-4.5% โดยที่ครึ่งปีหลังจะชะลอตัวจากแรงกดดันดอกเบี้ยสูงและข้อจำกัดของมาตรการการคลัง ประเทศคู่ค้าชะลอตัว ทำให้อัตราการขยายทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังชะลอลงมาอยู่ที่ระดับ 2-2.5% ทิศทางอัตราดอกเบี้ยมีโอกาสปรับสูงขึ้นได้ถึง 0.5-1.0% หนี้สาธารณะต่อจีดีพีมีสิทธิแตะระดับ 60% ยังไม่เกิดวิกฤติฐานะทางการคลัง หากเศรษฐกิจไม่โตตามเป้าอีก 3-4 ปี ข้างหน้า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์มีโอกาสทดสอบระดับ 850 ช่วงครึ่งปีแรกจากกระแสเม็ดเงินไหลเข้าเอเชียแต่ไทยจะสูญเสียโอกาสในความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจการลงทุนของเอเชียรอบใหม่จากปัญหาการเมืองภายในประเทศ ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป ได้วิเคราะห์ถึง แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยว่ามีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้อย่างน้อย 0.5-1.0% ในปี 2553 สภาพคล่องในระบบจะถูกดูดซับด้วยการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชน แรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ลดลงทำให้สภาพคล่องในระบบลดลงและดันอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นด้วย ส่วนทิศทางราคาน้ำมันมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นและมีโอกาสแตะระดับ 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงไตรมาสสองปี 2553 โดยเป็นผลมาจากการเก็งกำไรเป็นปัจจัยหลัก การทรงตัวของน้ำมันในระดับ 100-120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลจะไม่อยู่นาน เนื่องจากไม่มีปัจจัยทางด้านอุปสงค์อุปทานรองรับ ค่าเฉลี่ยของราคาน้ำมันจึงอยู่ที่ 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและภาคการผลิตที่เริ่มกระเตื้องขึ้นชะลอตัวลง ส่วนค่าเงินบาทในช่วงไตรมาสแรกปีหน้ามีโอกาสแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคเอเชีย และ การเกินดุลการค้า มีโอกาสแข็งค่าถึงระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์ แต่การเคลื่อนไหวของเงินบาทจะมีความผันผวนมากที่สุดเมื่อเทียบกับเงินสกุลท้องถิ่นในกลุ่มอาเซียนค่าเงินบาทในปี พ.ศ. 2553 น่าจะสวิงด้วยเหตุปัจจัยต่างๆทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองภายใน โดยมีช่วงการเคลื่อนไหวอยู่ที่ 31-36 บาทต่อดอลลาร์ สำหรับ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในช่วงครึ่งปีแรกสามารถขึ้นไปถึงระดับ 850 จุดได้ โดย Sector ที่น่าลงทุน ได้แก่ กลุ่มธุรกิจอาหารส่งออก กลุ่มธุรกิจชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ กลุ่มพลังงาน (ได้รับผลดีจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและกำไรจากสต๊อคน้ำมัน) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง (ได้รับประโยชน์จาก Mega Projects ของรัฐบาล) กลุ่มสถาบันการเงิน (ได้รับประโยชน์จาก พรก เงินกู้) นักลงทุน ต้องประเมินผลกระทบการดำเนินตามกรอบประชาคมอาเซียน 2015 ว่า การลดภาษีนำเข้าจะส่งผลบวกผลลบต่อธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆในตลาดหลักทรัพย์อย่างไร คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป ได้มีข้อเสนอแนะนโยบายต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ว่า ควรจะเป็นมาตรการที่เน้นแก้ไขพื้นฐานทางเศรษฐกิจทั้งระยะกลางและระยะยาวมากกว่าระยะสั้น เนื่องจาก ผลกระทบระยะสั้นจากวิกฤติการณ์เศรษฐกิจโลกเริ่มคลี่คลายไปบ้างแล้ว ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนายการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป กล่าวทิ้งท้ายว่า สิ่งที่จะมีผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจมากกว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจ คือ ความไม่มีเสถียรภาพของระบบการเมือง ความรุนแรงทางการเมืองและทัศนคติที่ไม่สมานฉันท์และไม่ปรองดองกันของกลุ่มชนชั้นนำในชาติ สิ่งนี้สามารถแก้ไขได้โดยพลักดันให้เกิดประชาธิปไตยที่แท้จริงให้เกิดขึ้นทั้งประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและการเมือง ต้องมีการปฏิรูประบบกระบวนการยุติธรรมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่างๆที่จะนำมาสู่ความขัดแย้งและสภาพอนาธิปไตยอีกรอบหนึ่ง การปฏิรูปประเทศอย่างรอบด้านจะเป็นทางรอดของประเทศ ผ.ศ. ดร. ธรรมนูญ พงษ์สากูร อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต กล่าวถึง ทิศทางแนวโน้มอุตสาหกรรม อาจารย์วรรณกิตติ์ วรรณศิลป์ นักวิจัยและอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต ได้วิเคราะห์ถึง อัตราแลกเปลี่ยนและภาคการค้าของไทย จากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ และธุรกิจเพื่อการปฏิรูป คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ