รัฐอิลลินอยส์เข้มงวดความปลอดภัยสินค้าของเล่นและของใช้สำหรับเด็ก

ข่าวทั่วไป Thursday November 12, 2009 15:32 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 พ.ย.--คต. นายวิจักร วิเศษน้อย รักษาการอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า ภายหลังเกิดปัญหาด้านความปลอดภัยของสินค้าเป็นจำนวนมากที่นำเข้าจากจีนในสหรัฐฯ ทำให้คณะกรรมาธิการด้านความปลอดภัยสินค้าอุปโภค (Consumer Product Safety Commission: CPSC) ดำเนินการแก้ไขกฎหมายควบคุมดูแลความปลอดภัยสินค้าอุปโภค โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของใช้ของเด็กหรือสินค้าที่ออกแบบและตั้งใจให้เด็กอายุ 12 ปี หรือต่ำกว่าใช้ โดยลดระดับสารตะกั่วตกค้างจาก 600 parts per million (ppm.) เป็นไม่เกิน 300 ppm. และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2552 เป็นต้นมา ซึ่งปัจจุบันได้มีรัฐบาลระดับมลรัฐหลายแห่งในสหรัฐฯ แก้ไขกฎหมายของรัฐตน รวมทั้งรัฐอิลลินอยส์ด้วย กฎหมายความปลอดภัยสินค้าฉบับแก้ไขของรัฐอิลลินอยส์มีความเข้มงวดยิ่งกว่ากฎหมายฉบับแก้ไขของสหรัฐอเมริกา (Consumer Product Safety Improvement Act: CPSIA) ในเรื่องของปริมาณขั้นต่ำของสารตะกั่วตกค้างซึ่งกำหนดให้ไม่เกิน 40 ppm. ขณะที่ระดับสารตะกั่วตกค้างของหน่วยงาน CPSC กำหนดที่ 300 ppm. ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวครอบคลุมสินค้าของเล่นและของใช้ที่ออกแบบและตั้งใจให้เด็กใช้ รวมถึงสินค้าเครื่องประดับสำหรับเด็กอายุ 12 ปีหรือต่ำกว่า โดยกฎหมายดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ กฎหมายของหน่วยงานCPSC ฉบับแก้ไข กฎหมายของรัฐอิลลินอยส์ฉบับแก้ไข 1.ไม่เกิน 300ppm. หรือร้อยละ 0.03 ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2552 และลดลงเป็นไม่เกิน 100 ppm. หรือ 1. ไม่เกิน 40ppm. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ร้อยละ 0.01 ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2554 เป็นต้นไป 2. กำหนดให้ผู้ผลิตผนึกฉลาก Tracking Label ลงบนสินค้าเพื่อเป็นข้อมูลในการเรียกเก็บ (Recall) สินค้า 2. สินค้ามีระดับสารตะกั่วเกินกว่า 40ppm. สามารถวางจำหน่ายในรัฐอิลลินอยส์ได้ แต่ต้องติดฉลาก คำเตือน (Warning Label) ดังนี้ “ Warning : Contains Lead. May be harmful if eaten or chewed May generate dust containing lead. ” กฎหมายของหน่วยงานCPSC ฉบับแก้ไข กฎหมายของรัฐอิลลินอยส์ฉบับแก้ไข 3. ผู้ผลิต/ ผู้นำเข้าต้องออกเอกสารรับรอง (Certify) ว่า ได้ปฏิบัติตามระเบียบถูกต้องและสินค้าได้รับการทดสอบจากห้องปฏิบัติการทดสอบของเอกชนที่ได้รับการรับรองจาก CPSC ซึ่งสามารถดูรายชื่อห้องทดสอบได้จากเว็บไซต์ (http:///www.cpsc.gov/cgi-bin/labapplist.aspx) 3. เป็นไปตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา 4. ผู้ละเมิดกฎหมายจะถูกปรับ 5,000-100,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 1.85-15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อผู้ที่ทำผิดบ่อยครั้งหรือจำคุกไม่เกิน 5 ปี 4. ผู้กระทำผิดจะถูกปรับเป็นเงิน 50-200 เหรียญสหรัฐฯ ต่อความผิดต่อครั้ง แต่ไม่มีโทษจำคุก และมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้อง(Lawsuit) เรียกค่าเสียหาย โดยอัยการของรัฐอิลลินอยส์ นายวิจักร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2551 ไทยส่งออกของเล่นไปสหรัฐฯ มูลค่า 2,324 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 37 สำหรับปี 2552 (มค.-กย.) ส่งออก 1,250 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยจึงควรปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้มีสารตะกั่วตกค้างเกินระดับที่อนุญาต รวมทั้งต้องติดฉลาก Tracking และ Warning ด้วย ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ