วิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน กรณีความขัดแย้งไทยกับกัมพูชา พร้อม ข้อเสนอแนะทางนโยบาย

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 25, 2009 16:27 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 พ.ย.--มหาวิทยาลัยรังสิต วิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน กรณีความขัดแย้งไทยกับกัมพูชา พร้อม ข้อเสนอแนะทางนโยบาย และ ผลสำรวจกลุ่มปัญญาชนสยามและนักธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูปประเมินผลกระทบเบื้องต้นจากความขัดแย้งไทยกับกัมพูชาทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวต่อไทยยังไม่มากนักในระยะสั้นหากความขัดแย้งจำกัดวงเฉพาะการตอบโต้ทางการฑูต โดยมูลค่าความเสียหายเบื้องต้นทางด้านการค้าอย่างเดียวไม่น่าจะเกิน 10,156.72 ล้านบาท แต่หากความขัดแย้งลุกลามเป็นการปะทะตามแนวชายแดนและมีการปิดพรมแดนผลกระทบทางเศรษฐกิจการค้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 25,391.8 ล้านบาท ขณะที่หากความขัดแย้งพัฒนาสู่สงคราตามการปลุกกระแสลัทธิคลั่งชาติของทั้งสองฝ่ายมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจการค้าเบื้องต้นจะพุ่งขึ้นไปแตะ 45,705.24 ล้านบาท ความเสียหายทางเศรษฐกิจด้านการลงทุนเบื้องต้นอยู่ที่ 7,000-32,521 ล้านบาท ส่วนมูลค่าความเสียหายที่แท้จริง ความสูญเสียทางด้านโอกาสทางเศรษฐกิจและโอกาสต่างๆ การสูญเสียชีวิตแลทรัพย์สินยังไม่สามารถประเมินค่าได้ แต่ความเสียหายจะไม่จำกัดวงเฉพาะสองประเทศเท่านั้นหากจะทำให้ประชาคมอาเซียนและภูมิภาคได้รับผลกระทบไปด้วยและการเดินหน้าสู่ประชาคมอาเซียน 2015 จะเกิดอุปสรรคสำคัญ หากความขัดแย้งถึงขั้นปะทะกัน ความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อกัมพูชาจะมากกว่าไทยมากและจะทำให้กัมพูชาไปพึ่งพาเวียดนามมากขึ้น ทำให้สมดุลแห่งอำนาจในคาบสมุทรอินโดจีนเปลี่ยนไป อนุสรณ์ ธรรมใจ เสนอให้หาทางลดระดับความขัดแย้งโดยด่วน เดินหน้าสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ยึดแนวทางการสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015 เป็นกรอบในการดำเนินนโยบาย ขอให้ยึด “ราษฎรชาตินิยม” มากกว่า “ชาตินิยมขวาจัด หรือ อำมาตย์ชาตินิยม” หากจำเป็นต้องตอบโต้ให้ยึดขั้นตอนทางการฑูต เสนอให้มีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาธุรกิจอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งด้วยมาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำและลดหย่อนภาษี จากผลสำรวจแบบสัมภาษณ์เชิงลึก 52% ของปัญญาชนและนักธุรกิจ ต้องการให้แก้ปัญหาโดยแนวทางทางการทูตและต้องการให้ฟื้นความสัมพันธ์กลับคืนสู่ภาวะปรกติโดยเร็ว มีเพียง 2% มองว่า กัมพูชา เป็นฝ่ายผิด และ ต้องตอบโต้แบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ที่มหาวิทยาลัยรังสิต อาคารสาทรธานี ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ ประเมินผลกระทบเบื้องต้นจากความขัดแย้งไทยกับกัมพูชาทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวต่อไทยยังไม่มากนักในระยะสั้นหากความขัดแย้งจำกัดวงเฉพาะการตอบโต้ทางการฑูต โดยมูลค่าความเสียหายเบื้องต้นไม่น่าจะเกิน 10,156.72 ล้านบาท แต่หากความขัดแย้งลุกลามเป็นการปะทะตามแนวชายแดนและมีการปิดพรมแดนผลกระทบทางเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นเป็น 25,391.8 ล้านบาท ขณะที่หากความขัดแย้งพัฒนาสู่สงคราตามการปลุกกระแสลัทธิคลั่งชาติของทั้งสองฝ่ายมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจในเบื้องต้นเฉพาะด้านการค้าจะพุ่งขึ้นไปแตะ 45,705.24 ล้านบาท ความเสียหายทางด้านการลงทุนเบื้องต้นอยู่ที่ 7,000-32,521 ล้านบาท ความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยรวมเบื้องต้นหากเกิดสงคราม (กรณีสงครามไม่ยืดเยื้อ) ไม่ต่ำกว่าสองแสนล้านบาท ส่วนความเสียหายต่อชีวิตไม่สามารถประเมินค่าทางเศรษฐกิจและต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้น คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต กล่าวอีกว่า กลุ่มทุนไทยอาจพิจารณาย้ายฐานการผลิตออกจากกัมพูชาไปยังประเทศอื่น ผลกระทบที่มีต่อความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มทุนไทยจากการย้ายฐานการผลิตออกจากกัมพูชยังไม่ชัดเจน ผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของไทยโดยรวมยังไม่มีนัยยสำคัญอะไรหากไม่เกิดการปะทะตามแนวชายแดน ส่วนบริษัทท่องเที่ยวที่มีธุรกิจหลักอยู่ในกัมพูชาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับธุรกิจไทยตามแนวชายแดนที่เริ่มประสบปัญหาทางการค้าไม่ราบรื่นเหมือนเดิม ส่วนมูลค่าความเสียหายที่แท้จริงหากเกิดการปะทะตามแนวชายแดน ความสูญเสียทางด้านโอกาสทางเศรษฐกิจและโอกาสต่างๆ การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินยังไม่สามารถประเมินค่าได้ แต่ความเสียหายจะไม่จำกัดวงเฉพาะสองประเทศเท่านั้นหากจะทำให้ประชาคมอาเซียนและภูมิภาคได้รับผลกระทบไปด้วย และการเดินหน้าสู่ประชาคมอาเซียน 2015 จะเกิดอุปสรรคสำคัญเช่นเดียวกับกรณีปัญหาประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในพม่า หากความขัดแย้งถึงขั้นปะทะกัน ความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อกัมพูชาจะมากกว่าไทยมากและจะทำให้กัมพูชาไปพึ่งพาเวียดนามมากขึ้น ทำให้สมดุลแห่งอำนาจในคาบสมุทรอินโดจีนเปลี่ยนไป ดร. อนุสรณ์ ได้เสนอทางออกของปัญหาความขัดแย้งว่า ให้หาทางลดระดับความขัดแย้งโดยด่วน เดินหน้าสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ยึดแนวทางการสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015 เป็นกรอบในการดำเนินนโยบาย ขอให้ยึด “ราษฎรชาตินิยม” มากกว่า “ชาตินิยมขวาจัด หรือ อำมาตย์ชาตินิยม” หากจำเป็นต้องตอบโต้ให้ยึดขั้นตอนทางการฑูต เสนอให้มีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาธุรกิจอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งด้วยมาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำและลดหย่อนภาษี (ดูรายละเอียด เอกสารประกอบการบรรยายเพิ่มเติม) ดร. อนุสรณ์ กล่าวอีกว่า การสำรวจความคิดเห็นแบบสัมภาษณ์เจาะลึก ปัญญาชน และ นักธุรกิจ จำนวน หนึ่ง เกี่ยวกับการแก้ ปัญหากรณีความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาอย่างไรไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประเทศชาติ ประชาชน และ เศรษฐกิจของไทยและภูมิภาค มีข้อสรุปดังต่อไปนี้ 52% ต้องการให้แก้ปัญหาโดยแนวทางทางการฑูตและต้องการให้ฟื้นความสัมพันธ์กลับคืนสู่ภาวะปรกติโดยเร็ว 20% ต้องการให้ยึดถือแนวทางหุ้นส่วนเศรษฐกิจและมุ่งสู่การเป็นประชาคมอาเซียน 2015 12% ต้องการให้รัฐบาลดำเนินนโยบายต่างประเทศด้วยความรอบคอบ และ ไม่นำเอาปัญหาอดีตนายกฯทักษิณ เป็น ปัจจัยสำคัญในการกำหนดนโยบายต่อประเทศเพื่อนบ้าน 8% ต้องการให้อดีตนายกฯทักษิณลาออกจากการเป็นที่ปรึกษาเพื่อช่วยทำให้สถานการณ์ดีขึ้น 6% มองว่าชนชั้นนำในกัมพูชาและไทย สร้างเรื่องความขัดแย้งเพื่อเป็นเกมในช่วงชิงอำนาจบนความเดือดร้อนของประชาชนทั้งสองประเทศ 2% มองว่า กัมพูชา เป็นฝ่ายผิด และ ต้องตอบโต้แบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน อาจารย์วรรณกิตติ์ วรรณศิลป์ นักวิจัย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป คณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต กล่าวเสริมถึง การสำรวจความเห็นของกลุ่มปัญญาชนและนักธุรกิจ (ดูเอกสารประกอบการบรรยาย)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ